-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนตามการบริหารของเทศบาล ตําบลป่าตุ้ม อําเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษDevelopment of People's Life Quality according to Management of Pathum Subdistrict Municipality, Phrao District, Chiangmai Province
- ผู้วิจัยพระกรัณรักษ์ เขมจาโร (ร่มเงิน)
- ที่ปรึกษา 1ดร.พิชิต ปริมาตร
- ที่ปรึกษา 2พระครูสังฆรักษ์เกียรติศักดิ์ กิตติปญโญ, ดร.
- วันสำเร็จการศึกษา30/03/2016
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/2094
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 2,058
- จำนวนผู้เข้าชม 785
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนตามการ บริหารของเทศบาลตําบลป่าตุ้ม อําเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อเปรียบเทียบการพัฒนาคุณภาพ ชีวิตของประชาชนตามการบริหารของเทศบาลตําบลป่าตุ้ม อําเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ โดยจําแนก ตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะการพัฒนาคุณภาพชีวิตของ ประชาชนตามการบริหารของเทศบาลตําบลป่าตุ้ม อําเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ประชาชนใน เขตเทศบาลตําบลป่าตุ้ม จํานวน 372 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน คือการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) ด้วยสถิติทดสอบค่าที (t-test) เพื่อ ทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยสองกลุ่ม และการทดสอบค่าเอฟ(F-test) เพื่อทดสอบความ แตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยสามกลุ่มขึ้นไป และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธี ผลต่างนัยสําคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD.) และการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการ สัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) ผู้ให้ข้อมูลสําคัญที่ใช้ในการสัมภาษณ์จํานวน 7 คน
ผลการวิจัยพบว่า
1. การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนตามการบริหารของเทศบาลตําบลป่าตุ้ม อําเภอ พร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง (X̅ = 2.76) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง ด้านมีบ้านอาศัย ด้านฝักใฝ่การศึกษา ด้านรายได้ก้าวหน้า และด้าน ปลูกฝังค่านิยมไทย และพบว่า อยู่ในระดับน้อย ได้แก่ ด้านมีสุขภาพดี
2. การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนตามการบริหารของเทศบาลตําบลป่าตุ้ม อําเภอ พร้าว จังหวัดเชียงใหม่ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อจําแนกตาม อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน และตําแหน่งหน้าที่ และไม่แตกต่างกันเมื่อจําแนกตามเพศ สถานภาพสมรส
3. ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะในการการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนตาม การบริหารของเทศบาลตําบลป่าตุ้ม อําเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ด้านสุขภาพดี ควรส่งเสริมให้ชุมชน ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาสุขภาพโดยการจัดกิจกรรม เช่น กีฬาสี จัดหาสถานที่ออกกําลังกาย ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบและเห็นความสําคัญของสุขภาพ และจัดสาธารณูปโภคให้บ้านให้ถูก สุขลักษณะ ด้านมีบ้านอาศัย ทุกหลังคาเรือนควรมีการดูแลห้องน้ํา ห้องส้วม ห้องครัว ใช้อย่างถูก สุขลักษณะด้านฝักใฝ่การศึกษา ควรส่งเสริมให้มีห้องสมุดประจําหมู่บ้านเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ในชุมชน ด้านรายได้ก้าวหน้า ควรจัดตั้งกองทุนเพื่อนําเงินจัดสรรให้กับผู้ที่ต้อยโอกาส ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ติด เชื้อ และผู้ประสบภัยต่างๆ และด้านปลูกฝังค่านิยมไทย ควรสืบทอดวัฒนธรรมประเพณีรวมถึงภูมิ ปัญญาท้องถิ่นที่ทางผู้ใหญ่ ผู้เฒ่า ผู้แก่ได้ปฏิบัติทําร่วมกันมา เช่น งานฝีมือ งานสืบสานภูมิปัญญา ท้องถิ่น เช่น ด้านสมุนไพร ด้านอาหาร ด้านภาษา ด้านการละเล่น ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านการเรียนรู้
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The objectives of the research were 1) to study development of people's life quality according to management of Pathum Subdistrict Municipality, Phrao District Chiangmai Province, 2) to compare development of people's life quality according to management of Pathum Subdistrict municipality, Phrao District Chiangmai Province, classified by personal factors, and 3) to study problems, obstacles and suggestions development of people's life quality according to management of Pathum Subdistrict Municipality, Phrao District Chiangmai Province. The research methodology was the mixed method research between the quantitative and qualitative methods. The ways to collect the data were used as in depth interview and survey research. The sampling group of this research was 372 persons from Pathum Subdistrict that selected from Taro Yamane formula and analysed by application program for social science. The statistics used frequency, percentage, mean, standard deviation and test hypothesis by t-test, F-test by one way analysis of variance; ANOVA, andtest the differences of the average pairing with the Least Significant Difference: LSD. and the qualitative method used in-depth interview from 7 key informants and analysed data with context.
The Research findings were as follows:
1. The development of people's life quality according to management of Pathum Subdistrict Municipality, Phrao District Chiangmai Province, found that overall were in the medium level (X̅ = 2.76), when considered each aspect found that were in medium level in habitation, Interested in Education, income and Thai social value traing aspect, and in minimum level in healthy aspect.
2.the development of people's life quality according to management of Subdistrict Municipality, Phrao District Chiangmai Province found that Pathum different at significant 0.05, when separated as a age, education level, coreer, salary and working position, And not much different when separatd into sex and marriage status.
3. The problems, obstacles and suggestions the development of people's life quality according to management of Pathum Subdistrict Municipality, Phrao District Chiangmai Province were as follows : Healthy aspect, to support about the community to cooperate in development of health by having the activities. Such as sports day, find the suitable place for exercise, to publicize the important of health to people and to set the public utility in the community to be hygienic condition. Habitation aspect, Every house and the people in the community should take care the rest room, bathroom, kitchen to be clean. Education aspect, to support the libraly in the community for learning and studying.Income aspect, to set up the scholarship to give to the people who lack of chance, that are defective, elder, infection and the viotims. And Thai social value training, to carry on the tradition and culture including Thai wisdom from the elder such as handicraft, and Thai wisdom such as herb, food, language, amusement, environment and learning.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 7 MiB | 2,058 | 11 ส.ค. 2564 เวลา 05:48 น. | ดาวน์โหลด |