โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การให้บริการตามหลักสังคหวัตถุธรรมของสํานักทะเบียนท้องถิ่น เทศบาลเมืองลําพูน อําเภอเมือง จังหวัดลําพูน
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Service in accordance with Sangahavatthu of Muang Lamphun Municipality, Lamphun Province
  • ผู้วิจัยนางสาวกมลวรรณ แสนคําลือ ปริญญา
  • ที่ปรึกษา 1พระครูภาวนาโสภิต,วิ.,ดร
  • ที่ปรึกษา 2ดร.ศรีธน นั้นตาลิต
  • วันสำเร็จการศึกษา22/03/2015
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/2098
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 394
  • จำนวนผู้เข้าชม 503

บทคัดย่อภาษาไทย

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการให้บริการตามหลักสังคหวัตถุธรรมของสํานักทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลเมืองลําพูน อําเภอเมือง จังหวัดลําพูน 2) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการให้บริการตามหลักสังคหวัตถุธรรมของสํานักทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลเมืองลําพูน อําเภอเมือง จังหวัดลําพูน โดยจําแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการให้บริการตามหลักสังคหวัตถุธรรม ของสํานักทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลเมืองลําพูน อําเภอเมือง จังหวัดลําพูน และ4) เพื่อศึกษาแนวทางการให้บริการตามหลักสังคหวัตถุธรรมของสํานักทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลเมืองลําพูน อําเภอเมือง จังหวัดลําพูน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Methods) โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ประชาชนผู้มาใช้บริการที่สํานักทะเบียนท้องถิ่น เทศบาลเมืองลําพูน โดยผู้วิจัยได้กําหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยการเปิดตารางของเครจซีและมอร์แกน (R.V.Krejcie & Morgan) ได้ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง 225 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็น แบบสอบถาม (Questionnaire) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสําเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์เพื่อหาค่าความ ถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยค่าที (T-test) และค่าเอฟ (F-test) วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-Way ANOVA) ในกรณีตัวแปรต้นตั้งแต่สามกลุ่มขึ้นไป เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจึงทดสอบความแตกต่างรายคู่โดย วิธีการหาผลต่างนัยสําคัญน้อยที่ สุด (Least Significant Difference) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้การสัม ภาษณ์เชิงลึก (In Depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลที่สําคัญ

   ผลการวิจัย พบว่า

   1) ประชาชนผู้มาใช้บริการส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จํานวน 126 คน คิดเป็นร้อยละ 56.0 มีอายุระหว่าง 20 - 35 ปี จํานวน 96 คน คิดเป็นร้อยละ 42.7 มีระดับการศึกษาอยู่ในระดับปวส.-ปริญญาตรี    จํานวน 124 คน คิดเป็นร้อยละ 55.1 มีอาชีพรับจ้าง จํานวน 99 คน คิดเป็นร้อยละ 44.0 มีรายได้ต่อเดือน 5000-10,000 บาท จํานวน 91 บาท คิดเป็นร้อยละ 40.4 และมีประสบการณ์ในการใช้บริการ 2 - 3 ครั้ง จํานวน 91 คน คิดเป็นร้อยละ 40.4 ประชาชนผู้มาใช้บริการ มีระดับความพึงพอใจในค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในแต่ละ ด้านพบว่า ประชาชนผู้มาใช้บริการมีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากทุกด้าน

   2) ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจของประชาชนโดยจําแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ประชาชนที่มีเพศ ระดับการศึกษา และอาชีพต่างกัน มีความพึงพอใจต่อการให้บริการตาม หลักสังคหวัตถุธรรม ไม่แตกต่างกัน ส่วนประชาชนที่มีอายุ รายได้ต่อเดือน และประสบการณ์ในการใช้บริการต่างกัน มีความพึงพอใจต่อการให้บริการตามหลักสังคหวัตถุธรรมแตกต่างกัน

   3) ผลการศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการให้บริการตามหลักสังคหวัตถุธรรมของสํานักทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลเมืองลําพูน พบว่า บางครั้งไม่ได้รับความสะดวกในการติดต่อราชการเท่าที่ควร เช่น สถานที่จอดรถ การให้บริการในวันเวลาราชการเท่านั้น การพูดจาไม่ สุภาพ ให้บริการเฉพาะงานในหน้าที่ ไม่มีความเสมอภาค แนวทางการปรับปรุงการให้บริการคือ การจัดสิ่งอํานวยความสะดวกให้พอเพียง เน้นย้ำให้มีจิตใจรักงานบริการให้ความช่วยเหลือแก้ไขปัญหาต่างๆ ตลอดจนการให้บริการด้วยความเสมอภาค และเท่าเทียมกัน

   4) แนวทางการให้บริการตามหลักสังคหวัตถุธรรมของสํานักทะเบียนท้องถิ่น ได้แก่ การให้บริการที่สะดวกรวดเร็ว ถูกต้อง และเป็นธรรมกับประชานผู้มาใช้บริการ โดยปรารถนาให้ผู้มาใช้บริการมีความพึงพอใจมากที่สุด ด้วยการพูดจาที่สุภาพ ไพเราะ อ่อนหวาน มีหางเสียง ควบคุมสติ อารมณ์ การช่วยเหลือ แก้ไขปัญหาต่างๆ ด้วยความเต็มใจ โดยไม่เลือกปฏิบัติ ให้ความเสมอภาคและเท่าเทียมกันทุกคน

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

                The objectives of this research were ; 1) to study the level of public’ satisfaction with the Service in accordance with Sangahavatthu of Muang Lamphun Municipality, Lamphun Province, 2) to compare the satisfaction of the public with the Service in Accordance with Sangahavatthu of Muang Lamphun Municipality, Lamphun Province, classified by personal factors, 3) to study the problems, obstacles and suggestions about with the Service in accordance with Sangahavatthu of Muang Lamphun Municipality, Lamphun Province and, 4) to study guidelines of with the Service in accordance with Sangahavatthu of Muang Lamphun Municipality, Lamphun Province. The research used the Mixed Methods which carried out by the Quantitative research. The Sample population for this study was 225 people of Muang Lamphun Municipality’s service users. The researcher determined the size of sample group which refers to Krejcie and Morgan method. The data collection was a Questionnaire, Data analyzed by using Statistical Package for Social Science Research. Statistical analysis were Frequency, Percentage, Average(mean) and Standard Deviation, hypothesis testing with T-test and F-test, using one-way Analysis of Variance(One Way ANOVA). In case of Variables more than three groups, Finding the differences examined, differences in pairs using a Variance Least Significant Difference(LSD). And the Qualitative Research, the researcher using the In-depth Interview with the key informants.

                The results showed that :

                1) Public service users mostly female amount 126 people, represented 56.0 percent, aged between 20 - 35 years, an amount 96 people, represented 42.7 percent, levels of education in the diploma of Vocational - Bachelor Degree, 124 people represented 55.1 percent, were employees 99, people represented 44.0 percent, monthly income of 5,000 - 10,000 baht 91 people, represented 40.4 percent, who had experienced for 2 - 3 times on service users 91 people, represented 40.4 percent. The public service satisfaction in overall level as in high . When considered each aspect, found that the public service users had satisfaction at a high level on all sides.

                2) The comparison results between the satisfactions of the people classified by personal factors with sex, education and different career. The satisfaction with the Service according to Sangahavatthu was no different, aged, monthly income and experience of different services were satisfied the services according to Sangahavatthu, different.

               3) The result of problems, obstacles and suggestions about the Service in accordance with Sangahavatthu of Muang Lamphun Municipality, Lamphun Province found that, no facility, for example, parking services, service on official day hours only, impolite speech, performing only one duty, no equality, The improvement are providing adequate facilities, emphasizes service minded, subsidizing, correcting problems, include providing equality and equal.

               4) The guidelines of the Service in accordance with Sangahavatthu of Muang Lamphun Municipality, Lamphun Province are as follows: Fast, Right and Fair to service users, desire the service users to receive the highest satisfaction, kindly speech, polite speech, tempered control, helping every person without discrimination, and equal.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 11.19 MiB 394 12 ส.ค. 2564 เวลา 03:33 น. ดาวน์โหลด