-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการพัฒนาประสิทธิผลการส่งเสริมจริยธรรมของสภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษEffectiveness Development of Ethics Promotion of the Lawyers Council under the Royal Patronage
- ผู้วิจัยนายกอปรลาภ อภัยภักดิ์
- ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.สุรพล สุยะพรหม
- ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง
- วันสำเร็จการศึกษา11/09/2021
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/2332
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 21
- จำนวนผู้เข้าชม 66
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาประสิทธิผลการส่งเสริมจริยธรรมของสภาทนายความ ในพระบรมราชูปถัมภ์ 2. ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการส่งเสริมจริยธรรมของสภาทนายความ ในพระบรมราชูปถัมภ์ 3. นำเสนอการพัฒนาประสิทธิผลการส่งเสริมจริยธรรมของสภาทนายความ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณดำเนินการโดยศึกษากลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน โดยวิธีการสุ่มแบบง่าย จากประชากรจำนวน 90,421 คน ซึ่งเป็นทนายความในสังกัดสภาทนายความ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูลคือแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.913 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน การวิจัยเชิงคุณภาพดำเนินการ โดยสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. การส่งเสริมจริยธรรม โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( x bar= 4.12, S.D. = 0.71) หลักฆราวาสธรรม โดยภาพรวม มีเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (
x bar = 4.04, S.D. = 0.73) และการพัฒนาประสิทธิผลการส่งเสริมจริยธรรมของสภาทนายความ ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยภาพรวม มีเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (
x bar = 4.10, S.D. = 0.69)
2. ปัจจัยการส่งเสริมจริยธรรม ประกอบด้วย ด้านความรู้เชิงจริยธรรม ด้านทัศนคติเชิงจริยธรรม ด้านเหตุผลเชิงจริยธรรม และด้านพฤติกรรมเชิงจริยธรรม มีอิทธิพลร่วมกันต่อการพัฒนาประสิทธิผลการส่งเสริมจริยธรรมของสภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 และร่วมกันอธิบายความผันแปรได้ร้อยละ 39.50 จึงยอมรับสมมติฐานที่ 1 ปัจจัยฆราวาสธรรม 4 ประกอบด้วย ด้านสัจจะ ความจริง ด้านทมะ การฝึกตน ด้านขันติ ความอดทน และด้านจาคะ การเสียสละ อิทธิพลร่วมกันต่อการพัฒนาประสิทธิผลการส่งเสริมจริยธรรมของสภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 และร่วมกันอธิบายความผันแปรได้ร้อยละ 31.70 จึงยอมรับสมติฐานที่ 2 ปัจจัยการส่งเสริมจริยธรรม และปัจจัยฆราวาสธรรม 4 มีอิทธิพลร่วมกันต่อการพัฒนาประสิทธิผลการส่งเสริมจริยธรรมของสภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 และร่วมกันอธิบายความแปรผันได้ถึงร้อยละ 37.50 จึงยอมรับสมมติฐานที่ 3
3. การพัฒนาประสิทธิผลการส่งเสริมจริยธรรมของสภาทนายความ ในพระบรมราชูปถัมภ์ มีองค์ประกอบที่สำคัญคือ ประการที่ 1 การพัฒนาองค์กรให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในองค์กร โดยองค์กรมีความเท่าเทียมกัน มีสมานฉันท์ ดำเนินไปสู่เป้าหมายอย่างเป็นเอกภาพ ได้รับประโยชน์อย่างเท่าเทียมกัน และมีความเป็นกัลยาณมิตรต่อกัน ประการที่ 2 การปรับตัวขององค์กรให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม โดยเป็นองค์กรแห่งจริยธรรม มีกระบวนการทำงานแบบพลวัฒน์ มีเครือข่ายจริยธรรมภายนอก มีการปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน และมีการปรับกระบวนการทำงานที่ตามสภาพแวดล้อม ประการที่ 3 การปรับตัวขององค์กรให้สอดคล้องกับสังคม โดยเป็นองค์กรแห่งจริยธรรมเพื่อสังคม ที่เกิดการปรับตัวให้สอดคล้องกับสังคมและวัฒนธรรม เป็นที่ยอมรับของสังคม สังคมให้ความไว้วางใจ และเป็นผู้นำด้านจริยธรรมของสังคม และประการที่ 4 ผลผลิตขององค์ คือเป็นองค์กรที่มีการส่งเสริมจริยธรรมเพื่อให้ทุกส่วนได้รับประโยชน์อย่างเป็นธรรม องค์กรมีทนายความที่มีคุณภาพ องค์กรประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย การร้องเรียนเรื่องผิดจริยธรรมลดลง และองค์กรมีคุณภาพในระดับสากล
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
Objectives of this research were: 1. To study the effectiveness of ethics promotion of the Lawyers Council under the Royal Patronage, 2. To study factors affecting the effectiveness of ethics promotion of the Lawyers Council under the Royal Patronage and 3. To propose effectiveness development of ethics promotion of the Lawyers Council under the Royal Patronage.
Methodology was the mixed methods: The quantitative research, data were collected from 400 by simple random sampling from the populations of 90,421 people who were the lawyer-members of Lawyers Council under the Royal Patronage. The tool used for data collection was 5 rating scales questionnaires with the reliability value at 0.913. The statistics used were Frequency, Percentage, Mean, Standard Deviation, SD. and Multiple Regression Stepwise. The qualitative research, data were collected by in-depth interviewing with 18 key informants and 9 participants in focus group discussion. The data were analyzed by content descriptive interpretation.
Findings were as follows:
1. The ethics promotion by overall was at high level ( x bar= 4.12, S.D. = 0.71), the four Gharāvāsa-dhamma by overall was at high level (
x bar = 4.04, S.D. = 0.73) and the effectiveness development of ethics promotion of the Lawyers Council under the Royal Patronage by overall was at high level (
x bar = 4.10, S.D. = 0.69).
2. The factors of ethics promotion consisted of ethical knowledge, ethical attitude, ethical reasoning and ethical behavior that affected the effectiveness development of ethics promotion of the Lawyers Council under the Royal Patronage at the statistically significant level of 0.01 and could together explain the variations up to 39.50% accepted first hypothesis. The factors of 4 Gharāvāsa-dhamma included Sacca, Dama, Khanti and Cāga affected the effectiveness development of ethics promotion of the Lawyers Council under the Royal Patronage at thestatistically significant level of 0.01 and could together explain the variations up to 31.70% accepted second hypothesis. The factors of ethics promotion and 4 Gharāvāsa-dhamma affected to the effectiveness development of ethics promotion of the Lawyers Council under the Royal Patronage at the statistically significant level of 0.01 and could together explain the variations up to 31.70% accepted third hypothesis
3. The effectiveness development of ethics promotion of the lawyers Council under the Royal Patronage consisted of: 1) unity in the organization development aspect was that there was equality, reconciliation in the organization that united to achieve the goals of the organization, stakeholders to receive benefits equally and the personnel are friendly with one another, 2) adaptation of the organization to the environment aspect was that there was a dynamic work process, an external ethical network, adaptation to the current situation and adapting work processes according to the environment, 3) adaptation of the organization to the society aspect was that there was adapting of organization in line with society, the organization was accepted by society and the organization was the ethical leader of society and 4) productivity of the organization aspect was that, all participants involved received fair benefits equally, the organization has qualified lawyers, the organization succeeded according to the set goals, fewer ethical complaints and the organization was qualified at the international level.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
6201204126 | 6201204126 | 12.1 MiB | 21 | 14 ก.ย. 2564 เวลา 10:15 น. | ดาวน์โหลด |