-
ชื่อเรื่องภาษาไทยโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการพัฒนาสมรรถนะต้นแบบข้าราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนนทบุรี
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษCausal Relationship Model for Prototype Competency Development of Local Administrative Organizations Officials in Nonthaburi Province
- ผู้วิจัยพระสมนึก ธีรปญฺโญ (กลับน้อม)
- ที่ปรึกษา 1ศ. ดร.บุญทัน ดอกไธสง
- ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง
- วันสำเร็จการศึกษา11/09/2021
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/2334
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 77
- จำนวนผู้เข้าชม 98
บทคัดย่อภาษาไทย
ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1 เพื่อศึกษาสมรรถนะต้นแบบข้าราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนนทบุรี 2 เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะต้นแบบข้าราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนนทบุรี และ 3 เพื่อนำเสนอการพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุสมรรถนะต้นแบบข้าราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนนทบุรี ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การดำเนินการแบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการศึกษาภาคสนามด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 20 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะ จำนวน 11 รูปหรือคน เพื่อยืนยันรูปแบบหลังจากการสังเคราะห์ข้อมูล ระยะที่ 2 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.756 เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนนทบุรี จำนวน 40o คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (SEM) โดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) ให้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาสมรรถนะต้นแบบข้าราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนนทบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( x bar =3.78, S.D.= 0.80) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านประกอบด้วย 1) คนดี (Good People) 2) บริหารดี (Good Management) และ 3) งานดี (Good Job) พบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน
2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะต้นแบบข้าราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนนทบุรี พบว่า การพัฒนาสมรรถนะบุคลากร ประกอบด้วย การฝึกอบรม การศึกษา การพัฒนา ส่งผลต่อ ปัจจัยด้านสมรรถนะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนนทบุรี ประกอบด้วย สมรรถนะหลัก สมรรถนะประจำผู้บริหาร และสมรรถนะประจำสายงาน ส่งผลต่อสมรรถนะต้นแบบข้าราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยรวมร้อยละ 89.70 และ 3) หลักไตรสิกขาเพื่อการพัฒนาบุคคล ประกอบด้วย ศีล การฝึกฝนในด้านของความประพฤติ สมาธิ การฝึกฝนในด้านของจิตใจ และ ปัญญา การพัฒนาในด้านการเรียนรู้ ส่งผลต่อสมรรถนะต้นแบบข้าราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยรวมได้อย่างดียิ่งร้อยละ 84.20
3. นำเสนอการพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุสมรรถนะต้นแบบข้าราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนนทบุรี พบว่า สมรรถนะต้นแบบข้าราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้ง 3 ด้าน ประกอบด้วย คนดี (Good People) บริหารดี (Good Management) และงานดี (Good Job) มีปัจจัยพื้นฐาน 2 อย่าง คือ ปัจจัยสมรรถนะข้าราชการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และปัจจัยการพัฒนาสมรรถนะข้าราชการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นอกจากนั้นยังบูรณาการหลักไตรสิกขาเพื่อการพัฒนาบุคคลเพื่อให้เกิดสมรรถนะต้นแบบข้าราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามหลักการและหลักธรรม ดังนี้ 1) ศีล การฝึกฝนในด้านของความประพฤติหรือพฤติกรรมดี ประกอบด้วย รู้จักกฎ ระเบียบ บริหารเป็นธรรม และมีจิตสำนึก 2) สมาธิ การฝึกฝนในด้านของจิตใจหรือมีจิตใจมั่นคง ประกอบด้วย มาตรฐานสากล วิสัยทัศน์ก้าวไกล มีใจมุ่งมั่น และ 3) ปัญญา การพัฒนาในด้านการเรียนรู้หรือธำรงความรู้ ประกอบด้วย เสริมสร้างความรู้ พัฒนาผู้นำ เพิ่มพูนทักษะ
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
Objectives of this dissertation were: 1. To study prototype competency of Local Administrative Organizations Officials in Nonthaburi Province, 2. To study factors affecting the prototype competency of Local Administrative Organizations Officials in Nonthaburi Province and 3. To propose the causal relationship model for prototype competency development of Local Administrative Organizations Officials in Nonthaburi Province.
Methodology was the mixed methods: The qualitative research, data were collected with structured in-depth-interview script by face to face in-depth-interviewing 20 key informants and analyzed by descriptive interpretation and from 11 participants in focus group discussion to confirm the model after data synthesis. The quantitative research, data were collected with questionnaires that had reliability vale at 0.756 from 400 samples who were personnel of the Local Administrative Organizations in Nonthaburi Province. Data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, S.D. and Structured Equation Model, SEM, by Confirmatory Factor Analysis, CFA
Findings were as follows:
1. Prototype competency of Local Administrative Organization Officials in Nonthaburi Province, by overall, was at high level ( x bar =3.78, S.D.= 0.80). Each aspect consisted of 1) Good people, 2) Good management, 3) Good work were found that all aspects were at the high level
2. Factors affecting the prototype competency of Local Administrative Organization Officials in Nonthaburi Province were found that personnel’s competency development consisted of training, education and development affected factors of competency of Local Administrative Organization Officials that consisted of core competency, administrators’ competency, and competency of workflow. All these competencies affected the prototype competency of Local Administrative Organization Officials, by overall, at 98.70 percent and Tisikkha for personnel development consisted of Sila, development of behaviors, Samadhi, training of minds and Panna, training of learning that affected the prototype competency of Local Administrative Organization Officials in Nonthaburi Province, by overall, at 84.20 percent.
3. Causal relationship model for prototype competency development of Local Administrative Organizations Officials in Nonthaburi Province was found that prototype competency of Local Administrative Organization Officials consisted of 3 dimensions: Good people, good management and good work with 2 basic factors, they were competency factor of Local Administrative Organization Officials and development factor of Local Administrative Organizations Officials and integration of Tisikkha to develop personnel to gain the prototype competency of Local Administrative Organizations Officials according to principle and Dhamma principle: 1) Sila, development of good behavior consisting of knowing rules and regulations, fair management with good consciences, 2) Samadhi, mental development to have stable minds, consisting of universal standard, far and wide vision and dedication and 3) Panna, learning development, knowledge upholding consisting of knowledge creation, leadership development and skill accumulation.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
6101204204 | 6101204204 | 14.36 MiB | 77 | 16 เม.ย. 2565 เวลา 22:22 น. | ดาวน์โหลด |