-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการบูรณาการหลักปาปณิกธรรมเพื่ออส่งเสริมคุณลักษณะผู้นาที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสานักงานประกันสังคมจังหวัดสมุทรสาคร
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Papanikadhamma Integration to Promote Desirable Leadership Characteristics Administrators of the Social Security Office, Samutsakhon Province
- ผู้วิจัยนางสุจิต กิ่งเกล้า
- ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.ธิติวุฒิ หมั่นมี
- ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง
- วันสำเร็จการศึกษา24/08/2021
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/2404
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 19
- จำนวนผู้เข้าชม 23
บทคัดย่อภาษาไทย
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์คือ 1. ศึกษาคุณลักษณะผู้นำที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสำนักงานประกันสังคมจังหวัดสมุทรสาคร 2. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักปาปณิกธรรมกับคุณลักษณะผู้นำที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสำนักงานประกันสังคมจังหวัดสมุทรสาคร 3. ศึกษาแนวทางการบูรณาการหลักปาปณิกธรรมเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะผู้นำที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสำนักงานประกันสังคมจังหวัดสมุทรสาคร ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.995 ซึ่งสำรวจจากกลุ่มประชากรด้วยวิธีการเก็บข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจงตามจำนวนที่มีอยู่จริง จำนวน 131 คน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติพรรณนาโดยการหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเชิงสถิติอนุมานโดยหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson Correlation) ในการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 14 คน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบทและสังเคราะห์ข้อมูลตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย
ผลการวิจัยพบว่า
1. ความคิดเห็นของบุคลากรเจ้าหน้าที่ต่อระดับคุณลักษณะผู้นำที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสำนักงานประกันสังคมจังหวัดสมุทรสาคร ตามหลักปาปณิกธรรม 3 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (µ = 3.76, σ = 0.91) เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่าด้านจักขุมา (วิสัยทัศน์ เป็นผู้มีปัญญามองการณ์ไกล) มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (µ = 3.78, σ = 0.93) รองลงมาคือ ด้านนิสสยสัมปันโน (ขอความร่วมมือจากผู้อื่นได้ด้วยดี มนุษยสัมพันธ์ดี น่าเชื่อถือ ชำนาญด้านมนุษยสัมพันธ์) (µ = 3.77, σ = 0.92) และด้านวิธูโร (จัดการธุระได้ดี มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน มีความชำนาญด้านเทคนิค) มีค่าเฉลี่ยน้อยสุด (µ = 3.74, σ = 0.98) ตามลำดับ และความคิดเห็นตามหลักธรรมาภิบาล โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (µ = 3.75, σ = 0.86) เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่าด้านความเสมอภาค/ความเที่ยงธรรม มีค่าเฉลี่ยสูงสุด(µ = 3.81, σ = 0.88) และด้านการมีส่วนร่วม มีค่าเฉลี่ยน้อยสุด (µ = 3.63, σ = 0.94)
2. ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างหลักปาปณิกธรรมกับคุณลักษณะผู้นำที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสำนักงานประกันสังคมจังหวัดสมุทรสาคร พบว่ามีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูง (ρ =.925**) มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 จึงยอมรับสมมุติฐาน
3. แนวทางการบูรณาการหลักปาปณิกธรรมเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะผู้นำที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสำนักงานประกันสังคมจังหวัดสมุทรสาคร พบว่าผู้บริหารควรนำหลักคุณธรรมปาปณิกธรรมทั้งสามหลักมาปรับใช้ให้สอดคล้องกับแนวคิดของหลักธรรมมาภิบาลเพื่อให้การบริหารมีความสำเร็จที่สมบูรณ์ยั่งยืนทั้งด้านผลสัมฤทธิ์ของงาน ประสิทธิภาพและความสัมพันธ์อันดีภายในองค์กร ดังนี้ 1) หลักจักขุมา มีแนวคิดสติปัญญาที่ดีมีนิติธรรมและความเที่ยงธรรม ก่อให้ส่งเสริมการมีส่วนร่วม สร้างการตอบสนองจากทุกภาคส่วนเพื่อให้บรรลุประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามวิสัยทัศน์เชิงยุทธศาตร์ 2) หลักวิธูโร การถึงพร้อมด้วยการจัดการงานได้ดีอย่างมีความเชี่ยวชาญผู้บริหารต้องปฏิบัติภารกิจการงานเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนและ สังคมส่วนรวมด้วยความโปร่งใส เป็นกระบวนการที่ตรวจสอบได้ ยึดมั่นตามหลักนิติธรรม และมุ่งเน้นฉันทามติอย่างเที่ยงธรรมเพื่อผลลัพธ์ที่ดีต่อทุกฝ่าย และ 3) หลักนิสสยสัมปันโน การมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ผู้บริหารควรสามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ให้ได้รับความยกย่องนับถือเป็นที่ไว้วางใจและน่าคบหานำมาซึ่งการพึ่งพาอาศัยกับผู้อื่นได้เพื่อให้ได้รับความช่วยเหลือ ควรต้องตอบสนองสร้างความเชื่อมั่นให้กับทุกภาคส่วนและมีการประสานงานที่หลากหลายทั้งภายในภายนอกองค์กร
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
Objectives of this research were : 1. To study the ideal characteristics of the Social Security Office Administrator in Samutsakorn Province, 2. To study the relationship between Papanikadhamma and ideal characteristics of the Social Security Office Administrator in Samutsakorn Province and 3. To study the mean of Papanikadhamma integration to promote the ideal characteristics of the Social Security Office Administrator in Samutsakorn Province. Methodology was the mixed methods: The quantitative research was done by using questionnair with reliability at 0.995 of 131 specific population and then analyzed with statistic of frequency, percentage, standard deviation and correlation (Pearson Correlation Coefficient). The qualitative method was done by using in-depth interview with the 14 key informants, and analyzed with content analysis technique and then synthesized the whole to complete the objectives.
Findings were as follows:
1.Papanikadhamma of the Social Security Office Administrator in Samutsakorn Province, by overall was at high level (µ = 3.76, σ = 0.91) by Jukkhuma with good vision and intelligence was the highest (µ = 3.78, σ = 0.93), the Nissyasampanno of humanrelation and having good credit of working with others was the second (µ = 3.77, σ = 0.92) and the Vituro of skills in working and doing of all busineses was the lowest (µ = 3.74, σ = 0.89) and the universal Dhammapipala, by overall was at high level (µ = 3.78, σ = 0.93) by the equality status/fairness was the highest (µ = 3.81, σ = 0.88) and the participation was the lowest (µ = 3.63, σ = 0.94)
2.The correlation of the Papanikadhamma with the universal Dhammapipala principle also revealed that the Papanikadhamma had positive correlated with the universal Dhammapipala at high level (ρ =.925**) significantly at 0.01. so the assumption of this research was accepted.
3.The guideline or the way of integration of Papanikadhamma with Dhammapibala (Good governance) for the promotion the quality of desired leadership of the administrators in Samutsakorn Province. The research found that the administrator or the leaders of the organization for the highest quality of the administration of every organization, so the administration should develop and work out successfully, harmoniously and sustainably all time : 1) the principle of Jukkhuma with good vision and intelligence. 2) the Vituro of the skills in working and doing of all busineses sincerely and earnestly of goodgovernance too. 3) the Nissyasampanno of humanrelation and having good credit of working with others .
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
6201204116 | 6201204116 | 5.55 MiB | 19 | 19 ก.ย. 2564 เวลา 03:06 น. | ดาวน์โหลด |