โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การบริหารงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ตามแนวทางสังคหวัตถุธรรมของสำนักงานประกันสังคมจังหวัดสมุทรสาคร
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษResult-based Management according to Sangahavatthu Dhamma of the Social Security Office, Samut Sakhon Province
  • ผู้วิจัยนายชาญวิทย์ พริกบุญจันทร์
  • ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.ธิติวุฒิ หมั่นมี
  • ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง
  • วันสำเร็จการศึกษา24/08/2021
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/2405
  • ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 19
  • จำนวนผู้เข้าชม 33

บทคัดย่อภาษาไทย

สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาการบริหารงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ตามแนวทางสังคหวัตถุธรรมของสำนักงานประกันสังคมจังหวัดสมุทรสาคร 2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของหลัก สังคหวัตถุธรรมกับการบริหารงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ของสำนักงานประกันสังคมจังหวัดสมุทรสาคร  3. เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะต่อการบริหารงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ตามแนวทางสังคห วัตถุธรรมของสำนักงานประกันสังคมจังหวัดสมุทรสาคร ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.986 ซึ่งสำรวจจากกลุ่มประชากร โดยวิธีการเก็บข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจงตามจำนวนที่มีอยู่จริง จำนวน 133 คน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติพรรณาโดยการหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและเชิงสถิติอนุมานโดยหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson Correlation Coefficient) ในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพนั้นใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 12 คน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบทและสังเคราะห์ข้อมูลตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย

ผลการวิจัยพบว่า 

1. ความคิดเห็นของบุคลากรเจ้าหน้าที่ต่อการบริหารงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ตามแนวทางสังคหวัตถุธรรมของสำนักงานประกันสังคมจังหวัดสมุทรสาคร ตามหลักสังคหวัตถุธรรม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (µ=3.86, σ=0.683) เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านทานมีค่าเฉลี่ยสูงสุด   (µ=3.91, σ=0.693) รองลงมาคือ ด้านอัตถจริยา (µ =3.88, σ =0.709) ด้านสมานัตตตามีค่าเฉลี่ย  (µ= 3.87, σ =0.704) และด้านปิยวาจามีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด (µ=3.76, σ =0.810) การบริหารงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ตามแนวทางสังคหวัตถุธรรมของสำนักงานประกันสังคมจังหวัดสมุทรสาครตามการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (µ =3.93, σ =0.600) เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า ด้านการเงินมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (µ =3.97 , σ =0.652) รองลงมาคือ ด้านกระบวนการภายในมีค่าเฉลี่ย  (µ =3.95, σ  =0.642) ด้านการเรียนรู้และพัฒนามีค่าเฉลี่ย  (µ =3.94, σ =0.633) และด้านผู้รับบริการมีค่าเฉลี่ยน้อยสุด (µ =3.86, σ =0.663) ตามลำดับ

  2. ผลวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างหลักสังคหวัตถุธรรมกับการบริหารงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ของสำนักงานประกันสังคมจังหวัดสมุทรสาคร มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูง (ρ =0.862**)  มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 จึงยอมรับสมมติฐาน 

3. ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะของการบริหารงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ตามแนวทางสังคหวัตถุธรรมของสำนักงานประกันสังคมจังหวัดสมุทรสาครพบว่า มีความล่าช้าของกระบวนการทำงานและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ไม่สอดคล้องกับความก้าวหน้าของระบบเทคโนโลยี การพูดจาในการบริการของบุคลากรไม่เหมาะสม การพัฒนาตนเองของบุคลากรและองค์ความรู้องค์กร การบริหารจัดการเสถียรภาพเงินกองทุน และประชาชนหรือผู้รับบริการขาดการรับรู้เข้าใจในคุณค่าของระบบการประกันสังคมที่ครอบคลุม ข้อเสนอแนะหน่วยงานควรประยุกต์และสร้างสรรค์การบริหารงานของสำนักงานประกันสังคมจังหวัดสมุทรสาคร ด้วยนวัตกรรมการบริหารงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ที่มีหลักสังควัตถุธรรมมาผสมผสานอย่างกลมกลืนและปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ อันจะก่อให้เกิดผลลัพธิ์ยิ่งใหญ่และเป็นคุณประโยชน์ต่อการบริหารองค์กรและสาธารณะชนอย่างมีผลสัมฤทธิ์ยั่งยืน

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

The objectives of this research paper were 1) the result–based management according to Sangahavatthu Dhamma of Samutsakhon provincial social  security office. 2) the correlation of the result–based management and Sangahavatthu Dhamma of Buddhism and 3) the problems, and the suggestions from this study. This study was a mixed research of quantitative and qualitative  research. The first, quantitative method was done by using questionnair with reliability at 0.986 of 133 specific population and then analyzed with statistic of frequency, percentage, standard deviation and correlation (Pearson Correlation Coefficient). The Second, qualitative method was done by using in-depth interview with the 12 important persons , and  analyzed with content analysis technigue and then synthesized the whole to comlete the objectives.

The research findings were as follow;

1. The officers’opinion toward the result-based management according to Sangahavatthu Dhamma of Samutsakhon Provincial Social Security, found that the mean for Sangahavatthu Dhamma of the whole was high (µ=3.86, σ=0.683) with the giving or providing benefit to the other was highest (µ=3.91, σ=0.693) but the nice speech was lowest (µ=3.76, σ =0.810) and the mean for the result-based management of the whole was high (µ =3.93, σ =0.600) with the financial section was highest (µ =3.97, σ =0.652) but the service recipient was lowest (µ =3.86, σ =0.663).

2. The correlation of the result–based management and Sangahavatthu Dhamma of Buddhism also revealed that the result based management according to Sangahavatthu Dhamma was correlated with each other at  high level (ρ=0.862) significantly at 0.01. so the assumption of this research was accepted.

3. The problems and the suggestions from this research was able to conclude that there were some problems of the management in this administration for example – processing of work delayed, the imperfect of computer using, the speech of communication of service unsuitable, the management developing and processing of administration, the public do not actualize the organizational services, etc. The organization should apply and create the  administration of Samutsakhon  provincial social security office for the result-based management and Sangahavatthu Dhamma harmoniously and regularly. The outcomes would be great and the benefit for the organization and all public would be effective sustainably.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
6201204117 6201204117 7.11 MiB 19 16 ก.ย. 2564 เวลา 02:49 น. ดาวน์โหลด