-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลเมืองลำตาเสา อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษPeople Participation in Solid Waste Managegent in Lam Ta Sao Sub-District Municipality, Wangnoi District Phranakhon Si Ayutthaya Province
- ผู้วิจัยนายสุทธิพร จินดา
- ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.สุรพล สุยะพรหม
- ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.อนุวัต กระสังข์
- วันสำเร็จการศึกษา14/09/2021
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/2420
- ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 23
- จำนวนผู้เข้าชม 24
บทคัดย่อภาษาไทย
สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลเมืองลำตาเสา อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักอิทธิบาทธรรมกับประชาชนต่อการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของเทศเมืองลำตาเสา อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 3. เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะต่อการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลเมืองลำตาเสา อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.968 สำรวจจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนในเขตพื้นที่เทศบาลตาเสา จำนวน 392 คน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติพรรณนาโดยการหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเชิงสถิติอนุมานโดยหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson Correlation) ในการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 12 คน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบทและสังเคราะห์ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย
ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลเมืองลำตาเสา อำเภอวังน้อย จังหวัด โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน จะพบว่า ด้านฉันทะ (มีใจรักในการมีส่วนร่วม) มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (μ = 3.66, σ = 0.73) รองลงมาคือ ด้านวิริยะ(มีความพากเพียร) (μ= 3.65, σ = 0.77) ด้านจิตตะ(เอาจิตฝักใฝ่ตรวจสอบ) (μ= 3.59, σ = 0.81) และด้านวิมังสา(ปัญญาปรับปรุงแก้ไข) มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด (μ= 3.58, σ = 0.87) ตามลำดับ และความคิดเห็นตามหลักของโคเฮนและอัพฮอฟฟ์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (μ = 3.71, σ = 0.55) เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่าด้าน ด้านการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (μ = 3.75, σ = 0.68) และด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด (μ = 3.63, σ = 0.62)
2. ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างหลักอิทธิบาทธรรมกับประชาชนต่อการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของเทศเมืองลำตาเสา อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบว่ามีความสัมพันธ์เชิงบวกระดับปานกลาง (R = 0.692) มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 จึงยอมรับสมมติฐาน
3.ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลเมืองลำตาเสาอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบว่า 1) การตัดสินใจหรือคำสั่งจากหน่วยงานเทศบาลไม่มีความยืดหยุ่น ทำให้การจัดการหรือการปฏิบัติงานร่วมกันเป็นไปได้อย่างลำบาก 2) ประชาชนมีโอกาสน้อยในการปฏิบัติงานร่วมกันโดยให้แสดงออกทางความคิดที่เกิดขึ้นในการทำงาน 3) การมีส่วนร่วมในการทำประโยชน์ต่อสังคม และชุมชนยังขัดกับผลประโยชน์ส่วนตัว 4) การต่อยอดทางความคิด บางครั้งต้องมีประชาชนในการเข้ามามีส่วนร่วม ทั้งการเสนอและประเมินผลเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติให้กับประชาชนในชุมชน
จากปัญหาและอุปสรรคดังกล่าวสามารถสรุปเป็นข้อเสนอแนะในการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลเมืองลำตาเสา อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้ดังนี้ 1) คำสั่งจากหน่วยงานควรดูบริบทพื้นที่การจัดการว่าสามารถยืดหยุ่นได้ ตามสภาพแวดล้อมของโครงการเพื่อการปฏิบัติงานให้ราบรื่น 2) การปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่เทศบาลกับประชาชนควรมีการประชุมร่วมกันก่อนทุกครั้งก่อนดำเนินงาน 3) องค์กรที่มีส่วนสำคัญในการจัดการขยะของชุมชนต้องมีการชี้แจงถึงผลตอบแทนของการได้มาซึ่งผลประโยชน์ ทั้งทางด้านวัตถุ หรือด้านจิตใจ 4) ให้มีการตรวจสอบประเมินผลงาน เป็นการสร้างความมั่นใจของประชาชนต่อระบบการบริหารจัดการที่ดี
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
Objectives of this thesis were: 1. To study the level of People Participation in Solid Waste Management in Lam Ta Sao Sub-District Municipality, 2. To study the Four Paths of Accomplishment relations of People Participation in Solid Waste Management in Lam Ta Sao Sub-District Municipality, and 3. To study the problems, obstacles, and suggestions for the People Participation in Solid Waste Management in Lam Ta Sao Sub-District Municipality. Methodology was the mixed methods: The qualitative research collected data from 12 key informants and analyzed data by content analysis. The quantitative research collected data from 392 samples by stratified sampling method using questionnaires with the reliability value at 0.968 and analyzed data by percentage, mean and standard deviation and statistical inference by determining the Pearson Correlation Coefficient. Data from open-ended questions were analyzed by content analysis technique.
Findings were as follows:
1. The overall the level of People Participation in Solid Waste Management in Lam Ta Sao Sub-District Municipality as a whole was at a high level. When classified by aspects was found that the aspiration (with a passion for planning) was at high level (μ = 3.66, σ = 0.73), followed by effort (perseverance) (μ= 3.65, σ = 0.77), thoughtfulness (inquiring mind) (μ = 3.59, σ = 0.81) and investigation (improvement intelligence) was at high level. (μ = 3.58, σ = 0.87), respectively, and the opinions based on the principles of Cohen and Uphoff. Overall, was at high level (μ = 3.71, σ = 0.55). The highest mean (μ = 3.75, σ = 0.68) and participation in decision-making was at least level (μ = 3.63, σ = 0.62). with the reliability value at 0.968
2. The results of the analysis of the Four Paths of Accomplishment relations of People Participation in Solid Waste Management in Lam Ta Sao Sub-District Municipality. It was found that there was positive correlation (R = 0.692), with the statistically significant level at 0.01
3. the problems, obstacles, and suggestions for the People Participation in Solid Waste Management in Lam Ta Sao Sub-District Municipality were as follows: 1) Decisions or command from municipality are not flexible working system. This makes the workers had difficult to work. 2) people have fewer opportunities to work together by expressing ideas that arise in work; 3) participation in social contributions. and the community is still contrary to personal interests Sometimes people need to get involved. Both proposed and evaluated as a practical guideline for people in the community. In conclusion, the problems and obstacles can be summarized as recommendations People Participation in Solid Waste Management in Lam Ta Sao Sub-District Municipality, as follows: 1) Decisions or command from municipality can flexibility working system that makes the workers are happy to work. 2) when start working should have meeting with together before working 3) participation in social contributions. and 4) the community is still contrary to personal interests, because, sometimes people need to get involved, and 4) evaluated as a practical guideline for people in the community.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
6201204122 | 6201204122 | 3.61 MiB | 23 | 16 ก.ย. 2564 เวลา 04:17 น. | ดาวน์โหลด |