โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    โมเดลสมการโครงสร้างประสิทธิผลการจัดการขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอ่างทอง
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษStructural Equation Model for Effectiveness Waste Management of Local Administrative Organizations in Ang Tong Province
  • ผู้วิจัยนางสาวอภิญญา ฉัตรช่อฟ้า
  • ที่ปรึกษา 1กฤช เพิ่มทันจิตต์
  • ที่ปรึกษา 2สุรพล สุยะพรหม
  • วันสำเร็จการศึกษา30/09/2020
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/2548
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 277
  • จำนวนผู้เข้าชม 813

บทคัดย่อภาษาไทย

ดุษฎีนิพนธ์เล่มนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาความสอดคล้องของโมเดลสมการโครงสร้างประสิทธิผลการจัดการขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอ่างทองกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 2. เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการจัดการขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอ่างทอง และ 3. เพื่อนำเสนอโมเดลสมการโครงสร้างประสิทธิผลการจัดการขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอ่างทอง ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี ด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่ออธิบายผลการวิจัยเชิงปริมาณ โดยที่ในการวิจัยเชิงปริมาณ มีกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 600 คน ได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 17 คน และกลุ่มเป้าหมายในการสนทนากลุ่มเฉพาะ จำนวน 9 รูปหรือคน ได้จากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แนวคำถามในการสัมภาษณ์และประเด็นในการสนทนากลุ่มเฉพาะ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติแบบบรรยายและวิเคราะห์สหสัมพันธ์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป รวมทั้งวิเคราะห์เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์และวิเคราะห์ขนาดอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมด้วยโปรแกรม LISREL และในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและการสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย

ผลการวิจัยพบว่า

1. โมเดลสมการโครงสร้างประสิทธิผลการจัดการขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอ่างทองที่พัฒนาขึ้นสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ผลการตรวจสอบความตรงของโมเดลที่พัฒนาขึ้น สรุปได้ว่า ค่าไค-สแควร์ = 124.90, df = 101, p = .053, GFI = .98, AGFI = .96, RMSEA = .020 ประสิทธิผลของการจัดการขยะองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอ่างทอง (EFFECT)  มีค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์เท่ากับ .976 แสดงว่า ตัวแปรภายในโมเดล ได้แก่ ภาวะผู้นำ (LEADER) การบริหารองค์การ (MANAGE) การมีส่วนร่วม (PART) และอิทธิบาท 4 (IDDHIB) สามารถอธิบายความแปรปรวนของประสิทธิผลการจัดการขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอ่างทองได้ร้อยละ 97.60 และผลการวิเคราะห์อิทธิพลทางตรงและทางอ้อมพบว่า อิทธิบาท 4 เป็นตัวแปรส่งผ่าน (Mediator) ในโมเดลสมการโครงสร้างประสิทธิผลการจัดการขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอ่างทอง

2. ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของการจัดการขยะองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอ่างทอง มี 4 ปัจจัยหลัก ประกอบด้วย 1) ปัจจัยด้านภาวะผู้นำ 2) ปัจจัยด้านการบริหารองค์การ 3) ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วม และ 4) ปัจจัยนำไปสู่ความสำเร็จ ซึ่งเป็นปัจจัยที่สอดคล้องกับหลักอิทธิบาท 4 และมีการทำงานด้วยความไม่ประมาท (สติ) นอกจากนี้ โมเดลประสิทธิผลการจัดการขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอ่างทองที่ได้จากการสังเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพเป็นทฤษฎีฐานรากยังพบว่า มีปัจจัยด้านบุคลากรที่มีคุณภาพ เป็นองค์ประกอบร่วมภายในโมเดล โดยจะเป็นบุคลากรที่มีสติปัญญาดี มีความฉลาดและมีไหวพริบ มีความมุ่งมั่นตั้งใจและรับผิดชอบสูง มีความเชี่ยวชาญ มีทักษะ มีสุขภาพอนามัยสมบูรณ์แข็งแรง มีพฤติกรรมที่ดีและมีความกตัญญู

3. โมเดลสมการโครงสร้างประสิทธิผลการจัดการขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอ่างทอง เป็นแผนภาพที่แสดงการเชื่อมโยงระหว่างตัวแปรเหตุและตัวแปรผล พร้อมทั้งตัวแปรส่งผ่านคือปัจจัยนำไปสู่ความสำเร็จที่พัฒนามาจากหลักอิทธิบาท 4 เพื่อส่งเสริมให้เกิดประสิทธิผลการจัดการขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอ่างทอง โดยมีผู้นำที่มีภาวะผู้นำคือ มีความเฉลียวฉลาด สามารถในการจูงใจ ใฝ่คุณธรรมนำพัฒนา และเป็นผู้กล้าตัดสินใจ ที่ใช้การบริหารองค์การอย่างเป็นระบบด้วยการวางแผน การดำเนินการ การตรวจสอบและการพัฒนา พร้อมทั้งมีการเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมกับมีบุคลากรที่มีคุณภาพที่ทำให้เกิดประสิทธิผลการจัดการขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอ่างทอง ดังนั้น ในการบริหารจัดการขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอ่างทองให้มีประสิทธิผลจำเป็นต้องมีปัจจัยที่เอื้อต่อการบริหารงาน ได้แก่ ปัจจัยด้านภาวะผู้นำ (Leadership: L) ปัจจัยด้านการบริหารองค์การ (Management: M) ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วม (Participation: P) และปัจจัยด้านบุคลากรที่มีคุณภาพ (Personnel: P) โดยจำเป็นต้องมีปัจจัยส่งผ่านที่สำคัญคือ ปัจจัยนำไปสู่ความสำเร็จ (Success: S) ที่จะนำไปสู่ประสิทธิผลการจัดการขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอ่างทอง (Effectiveness: E) ได้อย่างยั่งยืน สามารถสรุปเป็นโมเดลองค์ความรู้การวิจัยเรียกว่า โมเดล LM2P-S-E

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

                 Objectives of this dissertation were 1) to study the consistency of structural equation model for effectiveness waste management of local administrative organizations in Ang Tong Province with the empirical data, 2) to analyze causal factors affecting effectiveness waste management of local government organizations in Ang Tong Province, and 3) to propose structural equation model for effectiveness waste management of local administrative organizations in Ang Tong Province. Mixed methods research implied qualitative methods to extend quantitative results was used for the design. In quantitative reserearch, stratified random sampling was used and 600 samples were selected. In qualitative research, 17 key informants and 9 persons of target group were selected by using purposive sampling. Research tools were questionnaires, interview guidelines and questions of focus group discussion. Quantitaive data were analyzed by using descriptive statistics and correlation analysis with computer package program, and the developed model was validated with empirical data including direct and indirect effects by using LISREL. Qualtative data were analyzed by using content analysis and analytic induction.    

               Results of the study were as follows:

               1. The developed model of structural equation model for effectiveness waste management of local administrative organizations in Ang Tong Province fit with expirical data. The analysis results showed that Chi-square = 124.90, df = 101, p = .053, GFI = .98, AGFI = .96, RMSEA = .020. R-sqaure of effectiveness waste management of local administrative organizations in Ang Tong Province was .976, it indicated that the variables in the model consisted of leadership (LEADER), management (MANAGE), participation (PART), and Iddhipada IV accounting for the variations in effectiveness waste management of local administrative organizations was 97.60 percent. Results of direct effects and indirect effects showed that Iddhipada IV was a mediator in structural equation model for effectiveness waste management of local administrative organizations in Ang Tong Province.

               2. There were 4 main foctors in causal factors affecting effectiveness waste management of local administrative organizations in Ang Tong Province which consisted of 1) leadership factors, 2) management factors, 3) participation factors, and 4) success factors that related to Iddhipada IV and precaution working (consciousness). Moreover, a model of effectiveness waste management of local administrative organizations in Ang Tong Province from qualitative synthesis as grounded theory was also found that best qualify personnel factor was one of the components in the model. The qualification of this personnel was intelligent, clever, determination, responsible, professional, skillful, healthy, good behavior and gratitute.

       3. Structural equation model for effectiveness waste management of local administrative organizations in Ang Tong Province was a framework connecting between causal variables including success factor that developed from Iddhipada IV as a mediator in order to encourage the effectiveness waste management of local administrative organizations in Ang Tong Province. The leaders who full of leadership charateristics consisted of intelligent, be able to motivate people, have morality leading development, and brave to make the dicision. They have managed work with systematically using planning, doing, checking and development. Participatiory process with best qualify personnel can initiate effectiveness waste management of local administrative organizations in Ang Tong Province. Therefore, the waste management of local administrative organizations in Ang Tong Province needed management factors that consisted of Leadership, Management, and Participation, Personnel with Success as the mediator towards sustainable effectiveness waste management of local administrative organizations in Ang Tong Province, LM2P-S-E Model was summarized as a body of knowledge from research

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 14.83 MiB 277 30 พ.ย. 2564 เวลา 02:35 น. ดาวน์โหลด