-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการบริหารการพัฒนาตามแนวทางของหลักพละ 4 ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Development Administration According to the Four Powers (Bala) of the Local Government Organization in Don Chedi District, Suphanburi Province
- ผู้วิจัยพระครูใบฎีกาเขมปัตถ์ สุทฺธิธมฺโม (พิชญกิตติกุล)
- ที่ปรึกษา 1ผศ.ดร.ธิติวุฒิ หมั่นมี
- ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.วิชชุกร นาคธน
- วันสำเร็จการศึกษา27/05/2022
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/48039
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 1,011
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารการพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักพละ 4 กับการบริหารการพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการบริหารการพัฒนาตามแนวทางของหลักพละ 4 ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี
การวิจัยเป็นแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลซึ่งผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลด้วยตนเองกับกลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี ในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพใช้เครื่องมือคือแบบสัมภาษณ์เชิงลึกโดยสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 9 รูปหรือคน
ผลการวิจัยพบว่า
สภาพการบริหารการพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี พบว่า ประชาชนมีระดับความคิดเห็นสภาพการบริหารการพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี ตามแนวทางของหลักพละ 4 โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก 4.07 เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ระดับความคิดเห็นสภาพการบริหารการพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี ตามแนวทางของหลักพละ 4 ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ 1. ปัญญาพละ (ความรู้ ความฉลาด) มีค่าเฉลี่ย 4.09 ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ 3. วิริยพละ (ความเพียร ความขยัน) มีค่าเฉลี่ย 4.06 ทุกด้านอยู่ในระดับมาก ตามลำดับ
ความสัมพันธ์ระหว่างหลักพละ 4 กับการบริหารการพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี พบว่า หลักพละ 4 มีความสัมพันธ์กับกับการบริหารการพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี โดยรวม มีความสัมพันธ์กัน มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การปฏิบัติตามหลักพละ 4 มีความสัมพันธ์กับการบริหารการพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี มีความสัมพันธ์กันทุกด้าน (ปัญญาพละ วิริยพละ อนวัชชพละ สังคหพละ) มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
แนวทางการบริหารการพัฒนาตามแนวทางของหลักพละ 4 ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี พบว่า การบริหารการพัฒนา ด้านนโยบาย ต้องมีการส่งเสริมและสนับสนุนการทำงานที่ชัดเจนเพื่อความเป็นอันหนี่งอันเดียวกัน โดยหน่วยงานยึดมั่นตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีในการทำงาน มีนโยบายตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนในพื้นที่ และต้องมีการนำนโยบายมาสู่ภาคปฏิบัติโดยยึดประชาชนเป็นหลัก มีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในเรื่องของนโยบายอย่างแท้จริง
การบริหารการพัฒนา ด้านแผนงาน พบว่า ควรนำเทคนิคการฝึกอบรมที่ทำให้เกิดกระบวนการคิดเป็นลำดับเป็น มีความคิดแบบองค์รวมอย่างเป็นระบบโดยอาศัยวิธีการที่สอดคล้องกับงานที่ทำเพื่อให้ได้คำตอบถูกต้องกับการยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรม ต้องมีการวิเคราะห์สภาพปัญหาที่แท้จริงก่อนการจัดทำแผน
การบริหารการพัฒนา ด้านโครงการ พบว่า ฝึกฝนให้บุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความสามารถการปรับตัวให้รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง ทั้งในด้านความต้องการของประชาชน กฎระเบียบข้อกฏหมาย รวมทั้งเทคโนโลยีที่จะมาสนับสนุนให้เกิดการทำงานในรูปแบบใหม่ที่จะสามารถทำให้งานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่อทำโครงการกิจเรียบร้อยควรมีการติดตาม ประเมินผล ปรับปรุงแผนงาน เพื่อนำมาวางแผนในการพัฒนาการโดยต้องวินิจฉัย ไตร่ตรอง ตรวจสอบ
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The study entitled “The Development Administration According to the Four Powers (Bala) of the Local Government Organization in Don Chedi District, Suphanburi Province” consisted of the following objectives: 1) to investigate the conditions of the development administration of local government organization in Don Chedi District, Suphanburi Province; 2) to explore the correlation between the Four Powers (Bala) and the development administration of local government organization in Don Chedi District, Suphanburi Province; and 3) to propose the guidelines for the development administration according to the Four Powers (Bala) of local government organization in Don Chedi District, Suphanburi Province.
The study employed a mixed-methods research approach, with quantitative data acquired through the use of a questionnaire with a sample group consisting of people living in the area of local government organization in Don Chedi District, Suphanburi Province. The qualitative data were acquired by using in-depth interview with 9 key informants.
From the study, the following results are found:
The conditions of the development administration of local government organization in Don Chedi District, Suphanburi Province found that people have overall opinions according to the Four Powers (Bala) at a high level (x̄ = 4.07). When each aspect is considered, it is found that the opinions on the development administration of local government organization in Don Chedi District, Suphanburi Province according to the Four Powers (Bala) are as follows: On the Power of Wisdom (Paññā-bala) has the highest level of mean (x̄ = 4.09). On the Power of Energy (Viriya-bala) has the lowest level of mean (x̄ = 4.06).
The correlation between the Four Powers (Bala) and the development administration of local government organization in Don Chedi District, Suphanburi Province revealed that they are overall correlated with a statistical significance at 0.01 level. When each aspect is considered, it is found that the practice based on the Four Powers (Bala) is correlated with the development administration of local government organization in Don Chedi District, Suphanburi Province in all aspects, namely the Power of Wisdom (Paññā-bala), the Power of Energy (Viriya-bala), the Power of Faultlessness (Anavajja-bala), the Power of Sympathy (Saṅgaha-bala), with a statistical significance of 0.01.
The guidelines of the development administration of local government organization in Don Chedi District, Suphanburi Province found that in terms of policy, there should be support for clear work in order to achieve unity, where the agency conforms to the principles of good governance in working, with policy to respond to the requirements of people in the area, and the policy must be implemented based on the people. In addition, there is encouragement for employees who have policy understanding and capability.
On planning, in which there should be an application of training techniques in order to develop sequential, rational, holistic, and systematic thinking processes that are compatible with the work so that the correct answers can be achieved, as well as the adherence to righteousness and morality. The problems must be analyzed prior to the formulation of plan.
On project, in which the employees of local government organization should be trained to be capable and adaptable to change, whether in terms of people's needs, legislation and regulation, or technology that can support new styles of work, resulting in enhanced efficiency of work at the local government organization. Once the project is complete, there should be a follow up to evaluate and revise the work plan so that it can be used to examine and develop further.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|