โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานโดยใช้หลักอิทธิบาทธรรม ของบุคลากรเทศบาลตำบลในอำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Efficiency in Work Performance Based on Iddhipāda of Personnel at the Subdistrict Municipality in Mueang Suphan Buri District, Suphanburi Province
  • ผู้วิจัยนางสาวพัชริญา พงษ์สุทัศน์
  • ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.วิชชุกร นาคธน
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.ธิติวุฒิ หมั่นมี
  • วันสำเร็จการศึกษา27/05/2022
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/48043
  • ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 334

บทคัดย่อภาษาไทย

          การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลตำบล ในอำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี 2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักอิทธิบาทธรรมกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลตำบล ในอำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี 3. เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน
ของบุคลากรเทศบาลตำบล ในอำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี
ควรเป็นอย่างไร

          การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) การแจกแบบสอบถาม (Questionnaire) กลุ่มตัวอย่างที่นำมาใช้ในงานวิจัย คือ ข้าราชการส่วนท้องถิ่น ลูกจ้างประจำ พนักงานจ้างภารกิจ และพนักงานจ้างทั่วไป ที่ปฏิบัติงานภายในเทศบาลตำบล (ทต.สระแก้ว) (ทต.บางกุ้ง) และ (ทต.สวนแตง) ในอำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งมีจำนวน 189 คน ใช้วิธีสุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยการใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane) ซึ่งใช้ระดับ
ความคาดเคลื่อนที่ 0.05 ขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 129 คน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามโดยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0
.969 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล
คือ ค่าความถี่ (
Frequencies) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าเอฟ (F-test) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way  ANOVA) และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่
ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (
Least Significant  Difference:  LSD) และนำเสนอเป็นบทความเรียงประกอบตาราง โดยการแจกแจงความถี่ของผู้ตอบคำถามปลายเปิด และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative.Research) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) จำนวน 9 ท่าน โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท

          ผลการวิจัยดังกล่าว พบว่า

          ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานโดยใช้หลักอิทธิบาทธรรม ของบุคลากรเทศบาลตำบล ในอำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี พบว่า บุคลากรมีการปฏิบัติงานตามหลักอิทธิบาทธรรมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า บุคลากรมีการปฏิบัติงานตามหลักอิทธิบาทธรรมทุกด้านอยู่ในระดับมาก ได้แก่ หลักฉันทะ รองลงมาคือ หลักวิริยะ หลักจิตตะ และหลักวิมังสา ส่วนประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลตำบล ในอำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี พบว่า บุคลากรมีประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในแต่ละด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน ได้แก่ ด้านปริมาณงาน และด้านความรวดเร็ว รองลงมา
ด้านคุณภาพงาน  และด้านความประหยัดคุ้มค่า ตามลำดับ

          ความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติงานตามหลักอิทธิบาทธรรมกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลตำบล ในอำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี โดยรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกในทิศทางเดียวกันอยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และเมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า ทุกด้านมีความสัมพันธ์ทางบวกในทิศทางเดียวกันในระดับสูง ได้แก่ ด้านวิมังสา ด้านวิริยะรองลงมาด้านจิตตะ และด้านฉันทะ ตามลำดับ

          แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลตำบล ในอำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี

          1) หลักฉันทะ : ความพึงพอใจ ต้องพัฒนาที่ตัวบุคลากร โดยพัฒนาตามพื้นฐานทาง จิตใจของแต่ละคนเป็นสำคัญ ซึ่งบุคลากรแต่ละคนมีพื้นฐานทางจิตใจแตกต่างกัน บางคนมีความรัก
ในการปฏิบัติงานแล้ว แต่บางคนก็ไม่ชอบงานที่ทำ ผู้บริหารจึงต้องทำให้บุคลากรมีความสุข
กับการปฏิบัติงาน ก็คือผู้ปฏิบัติงานต้องมีความพอใจและ รักในงานที่ตนปฏิบัติอยู่ ด้วยวิธีการพัฒนาองค์ความรู้และสร้างจิตสำนึกให้กับบุคลากร ให้รู้จักพึงพอใจในการปฏิบัติงานนั้นๆ

          2) หลักวิริยะ : ความเพียรความเพียร คือ กำหนดแนวทางการปฏิบัติให้ชัดเจน เพื่อให้บุคลากรปฏิบัติงานให้เป็นไปตามแผนงานด้วยความ ขยันหมั่นเพียร ปฏิบัติงานด้วยความขยัน ใจสู้
ไม่ย่อท่อต่ออุปสรรคและความยากลำบาก เพียรหาความรู้เพิ่มเติมเพื่อนำมาเพิ่มประสิทธิภาพ
ของการปฏิบัติงาน ส่งผลให้เกิดผลสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้

          3) หลักจิตตะ : ตั้งจิตรับรู้ในสิ่งที่ทำ คือ การเอาใจฝักใฝ่ในการปฏิบัติงาน คือ ผู้บริหารควรมีการวางแผน กำหนดขั้นตอนในการทำงานให้ชัดเจน ร่วมมือกันปรับปรุง ทบทวนงาน และปฏิบัติงานด้วยความมุ่งมั่น ตั้งใจเพื่อให้งานเสร็จตามระยะเวลาและมีประสิทธิภาพตามที่กำหนดไว้

          4) หลักวิมังสา ไตร่ตรอง หรือทดลอง คือ การใช้ปัญญาใคร่ครวญหาเหตุผล
ในการปฏิบัติงาน คือ การบริหารจัดการงานผู้บริหารและบุคลากรควรมีการพัฒนาบุคลากร และมีการมาตรฐานที่ชัดเจน วางแผน ทบทวน วิเคราะห์ปัญหา และกำหนดบทบาทภาระหน้าที่ร่วมกัน ภายใต้
ระเบียบ กฎหมาย และหลักเกณฑ์การปฏิบัติงาน เพื่อลดความผิดพลาดของงาน และเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง  

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

The study consisted of the following objectives: 1) to study the level of efficiency in work performance of personnel at the Subdistrict Municipality in Mueang Suphan Buri District, Suphanburi Province; 2) to investigate the correlation between Iddhipāda and the efficiency in work performance of personnel at the Subdistrict Municipality in Mueang Suphan Buri District, Suphanburi Province; and 3) to study the guidelines for developing the efficiency in work performance of personnel at the Subdistrict Municipality in Mueang Suphan Buri District, Suphanburi Province.

          The study employed mixed-methods research, in which the quantitative approach used survey research. The sample group of 189 persons included local government officials, permanent employees and temporary employees who worked at Sa Kaeo Subdistrict Municipality, Bang Kung Subdistrict Municipality, and Suan Taeng Subdistrict Municipality in Suphanburi Province. The Taro Yamane formula was used for sampling, with a standard error of 0.05 and a sample size of 129 persons. The data collecting tool was a questionnaire with a reliability of 0.969. The statistics for analyzing the data were frequency, percentage, mean, standard deviation (S.D.), f-test, One Way ANOVA, and least significant difference (LSD). A table showing the frequency of those who responded to the open-ended questions was used to present the quantitative data. The qualitative data were collected via in-depth interview with 9 key informants. The obtained data were analyzed by content analysis.

               From the study, the following results have been discovered:

          The efficiency in work performance based on Iddhipāda of personnel at the Subdistrict Municipality in Mueang Suphan Buri District, Suphanburi Province found to be overall at a high level. When each aspect is considered, personnel has work performance in all aspects according to Iddhipāda at a high level namely, Chanda (aspiration), and followed by Viriya (effort), Citta (thoughtfulness), and Vīmaṃsā (investigation). The efficiency in work performance of personnel at the Subdistrict Municipality in Mueang Suphan Buri District, Suphanburi Province found to be overall at a high level. When each aspect is considered, all aspects are found to be at a high level which are amount of work and speed. Following that, quality of work and being economical, respectively.

          The correlation between work performance based on Iddhipāda and the efficiency in work performance of personnel at the Subdistrict Municipality in Mueang Suphan Buri District, Suphanburi Province has found to be positively correlated in the same direction at a high level, with a statistical significance of 0.01. When each aspect is considered, it has been revealed that all aspects are positively correlated in the same direction at a high level which are Vīmaṃsā, Viriya, Citta, and Chanda.

          The guidelines for developing the efficiency in work performance of personnel at the Subdistrict Municipality in Mueang Suphan Buri District, Suphanburi Province are as follows:

1) On Chanda (aspiration), which involves personnel development based on the nature of each individual's thinking.  Each person's mentality is different; some people are enthusiastic about their work, while others despise it. Administrators must ensure that all personnel are pleased and satisfied with their work performance, which may be accomplished through the development of body of knowledge and the raising of personnel awareness.

 (2) On Viriya (effort), which entails the creation of clear guidelines for work performance in order for personnel to act as planned and work with perseverance and patience in the face of difficulties and hardship, as well as making an effort to gain additional knowledge in order to improve work performance efficiency and achieve the set goals.

 (3) On Citta (thoughtfulness), which entails paying attention to work performance, with administrators planning, defining clear work procedures, working together to improve and review work, and performing work with determination and attention so that the job may be completed on time and efficiently as planned.

(4) On Vimaṃsā (investigation), which entails using wisdom to investigate and find reasons to perform work, and in which administrators should develop personnel with clear standards to plan and review work, analyze problems, and define shared roles and duties under regulations, law, and rules in order to reduce errors in work and set the correct guidelines for work performance.

 

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ