โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    ความคิดเห็นของประชาชนต่อการปฏิบัติงานสาธารณกุศลตามหลัก อิทธิบาทธรรมของเหล่ากาชาดจังหวัดลำพูน
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษPeople’s Opinion Towards Public Charity Performance According to Iddhibãda Principle of Lamphun Red Cross
  • ผู้วิจัยนายโชติกา ใจอักษร
  • ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.สามารถ บุญรัตน์
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.เสน่ห์ ใจสิทธิ
  • วันสำเร็จการศึกษา17/06/2022
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/48442
  • ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 17

บทคัดย่อภาษาไทย

การศึกษาวิจัยเรื่อง “ความคิดเห็นของประชาชนต่อการปฏิบัติงานสาธารณกุศลตามหลักอิทธิบาทธรรมของเหล่ากาชาดจังหวัดลำพูนมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1.เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของประชาชนต่อการปฏิบัติงานสาธารณกุศลของเหล่ากาชาดจังหวัดลำพูน 2.เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อการปฏิบัติงานสาธารณกุศลของเหล่ากาชาดจังหวัดลำพูนโดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3. เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการปฏิบัติงานสาธารณกุศลตามหลักอิทธิบาทธรรมของเหล่ากาชาดจังหวัดลำพูน

การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) โดยการวิจัยเชิงปริมาณมีประชากรหลักโดยเลือกจากพื้นที่ 5 ตำบล เป็นตำบลที่มีประชากรส่วนใหญ่อาศัยอยู่ ได้แก่ประชาชนที่อยู่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดลำพูน จำนวน 58,139 คน โดยสุ่มกลุ่มตัวอย่างตามสูตรของ Taro Yamane ได้จำนวน 395 คน เก็บข้อมูลด้วยการแจกแบบสอบถาม ซึ่งได้ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.915 โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์โดยการทดสอบค่าที (t-test) และค่าเอฟ (F-test) ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-Way Anova) และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 รูปหรือคน โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis Technique)

  ผลการวิจัยพบว่า

1.ระดับความคิดเห็นของประชาชนต่อการปฏิบัติงานสาธารณกุศลของเหล่ากาชาดจังหวัดลำพูน ในภาพรวมพบว่า อยู่ในระดับมาก (x̄ = 3.90, S.D. = 0.778) เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า ความคิดเห็นของประชาชนต่อการปฏิบัติงานสาธารณกุศลของเหล่ากาชาดจังหวัดลำพูน โดยมีระดับความคิดเห็นดังนี้ ด้านการบรรเทาทุกข์ผู้ประสบภัย ด้านการบริการทางการแพทย์และสุขภาพอนามัย ด้านการบริการโลหิต ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต ทุกด้านอยู่ในระดับมากตามลำดับ

2.ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อการปฏิบัติงานสาธารณกุศลของเหล่ากาชาดจังหวัดลำพูนพบว่า โดยภาพรวมจำแนกตามเพศพบว่าไม่แตกต่างกัน จำแนกตามอายุพบว่าไม่แตกต่างกัน จำแนกตามระดับการศึกษาพบว่าไม่แตกต่างกัน จำแนกตามสถานภาพพบว่าไม่แตกต่างกัน จำแนกตามอาชีพพบว่าไม่แตกต่างกัน จำแนกตามรายได้พบว่า ไม่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย

        3.แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานสาธารณกุศลตามหลักอิทธิบาทธรรมของเหล่ากาชาดจังหวัดลำพูนพบว่า การประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานสุขภาวะ การเพิ่มช่องทางการสื่อสารที่สามารถเชื่อมโยงข่าวสารเรื่องราวต่างๆ ที่สามารถส่งต่องานให้หน่วยงานที่รับผิดชอบได้ การพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือภายในจังหวัดที่ไม่ใช่เพียงหน่วยงานภาครัฐแต่รวมไปถึงภาคประชาสังคมที่ได้ขับเคลื่อนงานอยู่แล้วในชุมชนด้วย แนวทางการประยุกต์หลักอิทธิบาทธรรมเพื่อเพิ่มการปฏิบัติงานสาธารณกุศลมีดังนี้ ด้านฉันทะความพอใจคือการสร้างการรับรู้ถึงบทบาทหน้าที่ที่มีความสำคัญต่อสังคม วิริยะไม่ย่อท้อไม่หวั่นกลัวต่ออุปสรรคคือการกำหนดเป้าหมายการทำกิจกรรมสาธารณกุศลอย่างชัดเจน จิตตะความตั้งใจคือสร้างแรงจูงใจในการทำงานเพื่อกระตุ้นความเอาใจใส่ในการปฏิบัติหน้าที่ วิมังสาการไตร่ตรองใคร่ครวญตรวจสอบคือการประเมินและพัฒนาการปฏิบัติงานอยู่ตลอด

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

The study entitled “People's Opinions toward Charity Work According to Iddhipāda by the Red Cross in Lamphun Province” consisted of the following objectives: 1) to investigate people’s opinions toward charity work by the Red Cross in Lamphun Province; 2) to compare people’s opinions toward charity work by the Red Cross in Lamphun Province classified by personal factors; and 3) to propose the guidelines for developing charity work according to Iddhipāda by the Red Cross in Lamphun Province.

A mixed-methods approach was used in the study, which included both quantitative and qualitative methods. The quantitative method was used with 58,139 population residing in Mueang District of Lamphun Province. A sample group of 395 persons who were chosen using the Taro Yamane formula. The data were collected through questionnaire with a reliability of 0.915. The obtained data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, f-test, and One-Way ANOVA. While the qualitative method employed in-depth interviews with 10 key informants, and the obtained data were analyzed by using content analysis.

 

 

From the study, the following results are found:

1) The level of people’s opinions toward charity work by the Red Cross in Lamphun Province is overall at a high level (). When each aspect is considered, it is discovered that the following aspects are all at a high level, in the following order from high to low: alleviating the suffering of the victims; medical and health services; blood donation service; and quality of life development, respectively.

2) From comparing people’s opinions toward charity work by the Red Cross in Lamphun Province classified by personal factors, the results show that there are no differences when classifying by gender, age, educational level, status, occupation, and income; therefore, denying the null hypothesis.

               3) The guidelines for developing charity work according to Iddhipāda (Four Paths of Accomplishment) by the Red Cross in Lamphun Province are found as follows: the collaboration with expert organizations in order to improve the efficiency of performing health practice; the expansion of communication channels that can connect to various news sources and forward them to the responsible organizations; the development of a cooperative network within the province that includes not only government agencies but also civil society sectors that have previously driven community work. The guidelines for applying Iddhipāda to improve charity work are: Chanda (aspiration) which is to raise awareness of important social roles and responsibilities; Viriya (effort) which is to persevere in the face of adversity by setting clear goals for charitable work; Citta (thoughtfulness) which is to increase work motivation in order to pay attention to performance; and Vīmaṃsā (investigation) which is to regularly analyze, assess, and develop work performance.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ