-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการพัฒนาศักยภาพการบริหารเชิงพุทธของผู้บริหารสถานีตำรวจภูธรในจังหวัดเชียงใหม่
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษBuddhist Administrative Capability Development of the Provincial Police Stations Administrators in Chiang Mai Province
- ผู้วิจัยนางกรรณิกา ธรรมสอน
- ที่ปรึกษา 1รศ. ดร. เติมศักดิ์ ทองอินทร์
- ที่ปรึกษา 2ศ.ดร. บุญทัน ดอกไธสง
- วันสำเร็จการศึกษา31/08/2022
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/48677
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 151
บทคัดย่อภาษาไทย
ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปเกี่ยวกับการบริหารงานของผู้บริหารสถานีตำรวจภูธรในจังหวัดเชียงใหม่ 2. เพื่อศึกษาปัจจัยความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการพัฒนาศักยภาพการบริหารเชิงพุทธของผู้บริหารสถานีตำรวจภูธรในจังหวัดเชียงใหม่ 3. เพื่อนำเสนอรูปแบบการพัฒนาศักยภาพการบริหารเชิงพุทธของผู้บริหารสถานีตำรวจภูธรในจังหวัดเชียงใหม่ ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี ได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณโดยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 410 คน ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลแบบพรรณนา โดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และโมเดลสมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling: SEM) ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ และการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการศึกษาภาคสนามด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะจำนวน 9 รูปหรือคน เพื่อยืนยันรูปแบบหลังจากการสังเคราะห์ข้อมูล
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพทั่วไปเกี่ยวกับการบริหารงานของผู้บริหารสถานีตำรวจภูธรในจังหวัดเชียงใหม่ พบว่า ศักยภาพการบริหารงานของผู้บริหารสถานีตำรวจภูธรในจังหวัดเชียงใหม่ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x bar=4.21 ) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยพบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด 5 ด้านได้แก่ การให้บริการประชาชน (x bar=4.24) การดูแลทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (x bar=4.24) เท่ากัน รองลงมาคือ การดูแลส่งเสริมผู้ใต้บังคับบัญชา (x bar=4.22) ถวายความปลอดภัยองค์พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ (x bar=4.21) การปฏิบัติการเชิงรุกในการแก้ไขปัญหายาเสพติด (x bar=4.21) และอยู่ในระดับมาก 1 ด้านได้แก่ การให้ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน (x bar=4.15) ตามลำดับ
2. ปัจจัยความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการพัฒนาศักยภาพการบริหารเชิงพุทธของผู้บริหารสถานีตำรวจภูธรในจังหวัดเชียงใหม่ พบว่า 1) การบริหารจัดการองค์กรมีอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อม และอิทธิพลรวมต่อการพัฒนาศักยภาพการบริหารเชิงพุทธของผู้บริหารสถานีตำรวจภูธรในจังหวัดเชียงใหม่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ประกอบด้วยโครงสร้างองค์กร กลยุทธ์ บุคลากร รูปแบบ ระบบ ค่านิยมร่วม และทักษะ 2) หลักเวสารัชชกรณธรรมมีอิทธิพลทางตรง และอิทธิพลรวมต่อการพัฒนาศักยภาพการบริหารเชิงพุทธของผู้บริหารสถานีตำรวจภูธรในจังหวัดเชียงใหม่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ประกอบด้วย ศรัทธา ด้านศรัทธาในอาชีพ ศีล ด้านพฤติกรรม พาหุสัจจะ ด้านการศึกษา วิริยารัมภะ ด้านความเพียร และปัญญา ด้านองค์ความรู้
3. รูปแบบการพัฒนาศักยภาพการบริหารเชิงพุทธของผู้บริหารสถานีตำรวจภูธรในจังหวัดเชียงใหม่ คือ การบริหารของผู้บริหารสถานีตำรวจภูธร มีทั้งหมด 6 ด้านได้แก่ 1) ถวายความปลอดภัยองค์พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ 2) การให้ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 3) การปฏิบัติการเชิงรุกในการแก้ไขปัญหายาเสพติด 4) การให้บริการประชาชน 5) การดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 6) การดูแลส่งเสริมผู้ใต้บังคับบัญชา โดยนำหลักการบริหารเชิงพุทธคือ “หลักเวสารัชชกรณธรรม” มาส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพการบริหาร ได้ดังต่อไปนี้ 1) ศรัทธา โดยสร้างการยอมรับจากสังคม ธำรงไว้ซึ่งเกียรติของผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ 2) ศีล โดยรักษากาย วาจา ใจให้เรียบร้อยเป็นปกติ ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต 3) พาหุสัจจะ โดยฝึกอบรม พัฒนาตนเองอยู่เสมอ ฝึกฝนเพิ่มทักษะในการทำงาน 4) วิริยารัมภะ โดยประพฤติแต่ความดี มีความกล้าหาญเด็ดเดี่ยว มุ่งมั่นที่จะให้ประสบผลสำเร็จในชีวิต และ 5) ปัญญา โดยมีศิลปะในการปฏิบัติหน้าที่ที่ดีกับประชาชน ตระหนักถึงบาป บุญ คุณโทษ เป็นที่พึ่งของประชาชนอย่างแท้จริง
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
Objectives of this research were: 1. To study the general conditions of administration of the Provincial Police Stations Administrators in Chiangmai Province, 2.To study causal relationship factors affecting the Buddhist administrative capability development of the Provincial Police Stations Administrators in Chiangmai Province, and 3. To propose a model for Buddhist administrative capability development of the Provincial Police Stations Administrators in Chiangmai Province, conducted by the mixed research methods.The quantitative research, data were collected from 410 samplesand were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation and Structural Equation Modeling, SEM using statistical program package. The qualitative research, data were collected by in-depth interviewing 18 key informants and from 9 participants in focus group discussion to confirm the synthesized model of body of knowledge.
Findings were as follow:
1. The general conditions of administration of the Provincial Police Stations Administrators in Chiangmai Province were found that the administrative capability of the Provincial Police Stations Administrators in Chiangmai Province by overall at the highest level (x bar =4.21). Each aspect was also at the highest level in order of the average. 5 aspects were at the highest levels: rendering services to people ( x bar=4.24), natural resources and environment protection ( x bar =4.24), secondly, subordinates’ attention ( x bar =4.22), security protection for the King and His relatives ( x bar =4.21)
proactive drug preventive operation ( x bar =4.21) and one aspect was at the high level that was safety in life and properties ( x bar =4.15) respectively.
2. Causal relationship factors affecting the Buddhist administration capability development of the Provincial Police Stations Administrators in Chiangmai Province was found that 1) Organizational administration had direct, indirect and total influence on the Buddhist administrative capability development of the Provincial Police Stations Administrators in Chiangmai Province that had statistically significant value at 0.01 consisted of organizational structure, strategy, personnel, style, system, shared value and skills, 2) Vesarajjakarana-dhamma, Intrepidity, had direct and total influence on the Buddhist administrative capability development of the Provincial Police Stations Administrators in Chiangmai Province with statistically significant level at 0.01 consisted of Saddha, confidence with career, Sila, behavior, Bahusacca, great learning, Viriyarambha, exertion, and Panna, wisdom.
3. A model of Buddhist administrative capability development of the Provincial Police Stations Administrators in Chiangmai Province was found that the administration in 6 aspects, they were 1) safety and security protection for the King and His relatives, 2) safety in life and properties protection, 3) proactive drug prevention operation, 4) rendering service to people, 5) natural resources and environment protection, and 6) subordinates care and promotion by applying Buddhist administration, that was Vesarajjakarana-dhamma to promote the administrative capability development of the Administrators, They were 1) Saddha, confidence with career, social acceptance, maintaining the police integrity, 2) Sila, behavior, keeping body, speech and mind in normal condition, and practicing duty with honesty, 3) Bahusacca, great learning with regular learning and training, always self-training for working skill development, 4) Viriyarambha, exertion, practicing only good behave, being brave and dedicated to be successful in life, and 5) Panna, wisdom. Knowledge of police science, being artful to carry out duty with people, realizing sins, merits, benefit, and harm, being real refuge for people.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|