โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติงานตามหลักพลธรรมของบุคลากรเทศบาลตำบลวังหว้า อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Competency Development for Work Performance According to Bala of Personnel at Wang Wa Subdistrict Municipality, Si Prachan District, Suphanburi Province
  • ผู้วิจัยนายปริญญา วราสินธุ์
  • ที่ปรึกษา 1พระครูโสภณวีรานุวัตร, ผศ. ดร.
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร. วิชชุกร นาคธน
  • วันสำเร็จการศึกษา06/08/2023
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/49797
  • ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 100

บทคัดย่อภาษาไทย

                งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อศึกษาระดับสมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลตำบลวังหว้า อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลตำบลวังหว้า อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี 3. เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติงานตามหลักพละธรรมของบุคลากรเทศบาลตำบลวังหว้า อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจจากแบบสอบถาม กับกลุ่มตัวอย่างใช้หลักการสุ่มแบบแบ่งชั้น จำนวน 367 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการแจกแบบสอบถามกับการสัมภาษณ์กับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสําคัญที่ได้กําหนดไว้ทั้งหมดจํานวน 9 รูปหรือคน      

                 ผลการวิจัยพบว่า

                 1. ระดับการพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติงานตามหลักพละธรรมของบุคลากรเทศบาลตำบลวังหว้า อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก คิดเป็นค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.07  

                 2. ปัจจัยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มีองค์ประกอบคือ ด้านการฝึกอบรม ด้านการศึกษา ด้านการพัฒนา มีอิทธิพลร่วมกันต่อการพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลตำบลวังหว้า อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 และสามารถอธิบายความผันแปรโดยองค์ประกอบทั้งหมดของปัจจัยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ร่วมกันอธิบายความผันแปร ได้ร้อยละ 61.20  จึงยอมรับสมมติฐาน 1 ปัจจัยหลักพละธรรม มีองค์ประกอบคือ ด้านปัญญาพละ (กำลังความรู้) ด้านวิริยะพละ (กำลังความเพียร) ด้านวัชชพละ (กำลังความสุจริต) ด้านสังคหพละ (กำลังการสงเคราะห์) มีอิทธิพลร่วมกันต่อการพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลตำบลวังหว้า อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 และสามารถร่วมกันอธิบายความผันแปรได้ร้อยละ 83.80 จึงยอมรับสมมติฐาน 2 ปัจจัยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และปัจจัยหลักพละธรรม มีอิทธิพลร่วมกันต่อการพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลตำบลวังหว้า อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 และ สามารถร่วมกันอธิบายความแปรผันของการพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลตำบลวังหว้า อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี ได้ถึงร้อยละ 90.40

              3. แนวทางการพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลตำบลวังหว้า อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี ได้แก่ ควรมีการจัดสรรเวลาในการพัฒนาบุคลากรให้เหมาะสม ควรกำหนดให้ทุกฝ่ายเข้ารับการพัฒนาอย่างทั่วถึง ควรมีการจัดสรรทุนสำหรับการศึกษาของบุคลากร ควรพัฒนาบุคลากรโดยเริ่มจากการปรับพื้นฐานความรู้ให้เท่าเทียมกัน ควรพัฒนาบุคลากรด้านคุณธรรมจริยธรรมโดยประสานงานกับหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้อง ควรมีการประยุกต์กิจกรรมการพัฒนาบุคลากรตามหลักไตรสิกขาโดยให้บุคลากรทุกศาสนาเข้าร่วมกิจกรรมได้ ควรสร้างแรงจูงใจให้บุคลากรสนใจและใส่ใจในการพัฒนาความรู้ความสามารถและคุณธรรมจริยธรรม

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

               The research article consisted of the following objectives were: 1) to investigate the level of competency for work performance according to Bala of personnel at Wang Wa Subdistrict Municipality, Si Prachan District, Suphanburi Province; 2) to explore factors affecting the competency development for work performance according to Bala of personnel at Wang Wa Subdistrict Municipality, Si Prachan District, Suphanburi Province; and 3) to propose the guidelines of competency development for work performance according to Bala of personnel at Wang Wa Subdistrict Municipality, Si Prachan District, Suphanburi Province. The study used a mixed-methods approach, where the quantitative method involved survey research and used questionnaires to collect data from a sample group of 367 people who were selected using stratified sampling. The qualitative method used in-depth interviews with 9 key informants to collect data.

               From the study, the following results are found:

               1) The overall level of  human resource development based on Bala of personnel at Wang Wa Subdistrict Municipality, Si Prachan District, Suphanburi Province is overall at a high level, with a mean of  = 4.07.

              2) Factors for developing human resources include the following components: training, education, and development have an impact on the competency development for work performance of personnel at Wang Wa Subdistrict Municipality, Si Prachan District, Suphanburi Province with a statistical significance of 0.01. The first hypothesis is valid because the variance of all human resource development factors is 61.20%. Bala consists of the following components: Paññā-bala (power of wisdom), Viriya-bala (power of energy or diligence), Anavajja-bala (power of faultlessness, blamelessness or cleanliness), Sagaha-bala (power of sympathy or solidarity); all of which have an impact on the competency development for work performance of personnel at Wang Wa Subdistrict Municipality, Si Prachan District, Suphanburi Province with a statistical significance of 0.01. The first hypothesis is valid because the variance is 83.80%. Both human resource development factors and Bala factors have an impact on the competency development for work performance of personnel at Wang Wa Subdistrict Municipality, Si Prachan District, Suphanburi Province with a statistical significance of 0.01. The variance of competency development for work performance of personnel at Wang Wa Subdistrict Municipality, Si Prachan District, Suphanburi Province is 90.40%.

               3) The guidelines for the Development of Performance Competencies of Wang Wa Subdistrict Municipality Personnel Si Prachan District Suphan Buri Province, namely, there should be an appropriate time allocation for personnel development. Should require all parties to participate in the development thoroughly. Funds should be allocated for the education of personnel. Personnel development should begin by equalizing the knowledge base. Moral and ethical personnel should be developed in coordination with relevant external agencies. There should be an application of personnel development activities according to the Tisikkhā (the Threefold Learning), allowing personnel of all religions to participate in the activities. Personnel should be motivated to pay attention and pay attention to the development of knowledge, competence and morality.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ