-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการพัฒนาคุณภาพการให้บริการประชาชนตามหลักสังควัตถุธรรม ของเทศบาลตำบลเลาขวัญ อำเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Quality Development of Public Services According to Sangahavatthu of Lao Khwan Municipality Lao Khwan District Kanchanaburi Province
- ผู้วิจัยนางสาวภิญญดา พราหมณโชติ
- ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร. วิชชุกร นาคธน
- ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร. นพดล ดีไทยสงค์
- วันสำเร็จการศึกษา06/08/2023
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/49798
- ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 140
บทคัดย่อภาษาไทย
การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ในการวิจัยคือ 1.เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของประชาชนต่อการพัฒนาคุณภาพการให้บริการตามหลักสังคหวัตถุธรรมของเทศบาลตำบลเลาขวัญ อำเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี 2.เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อการพัฒนาคุณภาพการให้บริการประชาชนตามหลักสังคหวัตถุธรรมของเทศบาลตำบลเลาขวัญ อำเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3. เพื่อเสนอแนวทางประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุธรรม ในการพัฒนาคุณภาพ การให้บริการประชาชนของเทศบาลตำบลเลาขวัญ อำเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี
ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนอายุตั้งแต่ 18 ปี ขึ้นไป ในเขตเทศบาลตำบลเลาขวัญ จำนวน 2,635 คน โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างด้วยการใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ ในการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 348 คน และเก็บข้อมูลโดย ใช้แบบสอบถาม และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ หาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทำการทดสอบค่าที และ ค่าแอฟ ด้วยการวิเคราะห์ ความแปรปรวนทางเดียว ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้บริหารท้องถิ่น หัวหน้าส่วนราชการผู้ที่เกี่ยวข้องและประชาชนผู้มารับบริการ จำนวน 9 รูปหรือคน โดยการเลือกแบบเจาะจง
ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการพัฒนาคุณภาพการให้บริการประชาชนตามหลักสังควัตถุธรรม ของเทศบาลตำบลเลาขวัญ อำเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก คิดเป็นค่าเฉลี่ยคือ (= 4.15, S.D.= 0.64) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือด้านสมานัตตตา มีค่าเฉลี่ยที่ (= 4.17,S.D.= 0.63) รองลงมาคือ ด้านอัตถจริยา มีค่าเฉลี่ยที่ (= 4.16,S.D.= 0.64) ด้านด้านปิยวาจา มีค่าเฉลี่ยที่ (= 4.15, S.D.= 0.66) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ ด้านทาน มีค่าเฉลี่ยที่ (= 4.12, S.D.= 0.65)
2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อการพัฒนาคุณภาพการให้บริการประชาชนตามหลักสังคหวัตถุธรรมของเทศบาลตำบลเลาขวัญ อำเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลพบว่า ประชาชนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ต่างกัน มีความพึงพอใจต่อการให้บริการตามหลักสังคหวัตถุธรรม ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย
3. แนวทางในการพัฒนาคุณภาพในการให้บริการตามหลักสังคหวัตถุธรรมของเทศบาลตำบลเลาขวัญ อำเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี โดยใช้หลักสังคหวัตถุธรรม คือการให้ แบ่งปัน คือ เอื้อเนื้อเผื่อแผ่ เสียสละ 2. ปิยวาจา พูดอย่างรักกัน คือ กล่าวคำสุภาพ ไพเราะ น่าฟัง ชี้แจง แนะนำสิ่งที่เป็นประโยชน์ สมานสามัคคี เกิดไมตรี ทำให้รักใคร่นับถือและช่วยเหลือเกื้อกูลกัน 3. อัตถจริยา คือ ช่วยเหลือด้วยแรงกายและขวนขวายช่วยเหลือกิจการต่างๆ บำเพ็ญสาธารณะประโยชน์ รวมทั้งช่วยแก้ไขปัญหา 4. สมานัตตา คือ ทำตัวให้เข้ากับเขาได้วางตนเสมอต้นเสมอปลาย ให้ความสมอภาค ปฏิบัติสม่ำเสมอกันต่อคนทั้งหลาย ไม่เอาเปรียบและเสมอในสุขทุกข์ คือ ร่วมทุกข์ร่วมสุข ร่วมรับรู้ ร่วมแก้ไขปัญหา เพื่อให้เกิดประโยชน์สุขร่วมกัน
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The study entitled “The Quality Development of Public Services According to Sangahavatthu of Lao Khwan Municipality, Lao Khwan District, Kanchanaburi Province” consisted of the following objectives: 1) to investigate the level of people’s opinion towards the quality development of public services according to Sangahavatthu of Lao Khwan Municipality, Lao Khwan District, Kanchanaburi Province; 2) to compare the people’s opinion towards the quality development of public services according to Sangahavatthu of Lao Khwan Municipality, Lao Khwan District, Kanchanaburi Province classified by personal factors; and 3) to present the guidelines for applying Sangahavatthu in the quality development of public services by Lao Khwan Municipality, Lao Khwan District, Kanchanaburi Province. A population used for the quantitative method consisted of 2,635 people who were above 18 years old living in Lao Khwan Municipality. The Taro Yamane formula was used to acquire a group sample of 348 people. The data were collected by questionnaire and analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, f-test, and One Way ANOVA. The key informants consisted of local administrators, heads of relevant government agencies, and people who received services, for a total 9 people, who were chosen by purposive sampling.
From the study, the following results are found:
1) The overall people’s opinion towards the quality development of public services according to Sangahavatthu of Lao Khwan Municipality, Lao Khwan District, Kanchanaburi Province is at a high level with a mean ( ) of 4.15 and standard deviation of 0.64. When each aspect is examined, it is discovered that Sangahavatthu (even and equal treatment) has the highest level of mean ( )= 4.17, S.D. = 0.63), followed by Atthacariya (useful conduct) ( )= 4.16, S.D. = 0.64), then Piyavaca (kindly speech), and Dana (giving) with the lowest level of mean ( )=4.12, S.D. = 0.65).
2) From comparing people’s opinion towards the quality development of public services according to Saagahavatthu of Lao Khwan Municipality, Lao Khwan District, Kanchanaburi Province classified by personal factors, it is discovered that people of different genders, ages, educational levels, occupations, and salaries have no difference in satisfaction levels with public services according to Saagahavatthu therefore, denying the null hypothesis.
3) The guidelines for applying Saagahavatthu in the quality development of public services by Lao Khwan Municipality, Lao Khwan District, Kanchanaburi Province are as follows: (1) Dana refers to giving, sacrificing, helping, and sharing the four requisites or assets, as well as knowledge, understanding, arts and sciences; (2) Piyavaca refers to kindly speech via the use of pleasant words, recommending beneficial things and communicating with the intention of promoting understanding, unity, respect, and help for one another; (3) Atthacariya refers to useful conduct, whether physical or helping in other activities to benefit the public, including problem solving and moral promotion; and (4) Samanattata refers to participation and behaving oneself properly in all circumstances, not taking advantages of others especially in time of difficulty, sharing suffering and happy moments, solving problems for mutual benefits.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|