-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตามหลักภาวนา ๔ ขององค์การบริหารส่วนตำบลวังลึก อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Development of the Quality of Life in Elderly People Based on Bhavana by Wang Luek Subdistrict Administrative Organization, Sam Chuk District, Suphan Buri Province
- ผู้วิจัยนางสาววลัยกรณ์ จันทร์ทอง
- ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร. นพดล ดีไทยสงค์
- ที่ปรึกษา 2พระครูโสภณวีรานุวัตร, ผศ. ดร.
- วันสำเร็จการศึกษา06/08/2023
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/49799
- ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 133
บทคัดย่อภาษาไทย
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อศึกษาระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลวังลึก อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี 2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตามหลักภาวนา 4 กับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลวังลึก อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี 3. เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตามหลักภาวนา 4 ขององค์การบริหารส่วนตำบลวังลึก อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี การศึกษาครั้งนี้ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัย โดยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 348 คน และระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 9 คน ผู้วิจัยทำการวิเคราะห์ในส่วนของการพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุกับ การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า
1. การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลวังลึก อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก และเมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านสังคม รองลงมาคือ ด้านสติปัญญา ด้านจิตใจ และด้านร่างกาย
2. ความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตามหลักภาวนา 4 ขององค์การบริหารส่วนตำบลวังลึก อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี โดยรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกในทิศทางเดียวกันอยู่ในระดับสูงมาก 0.962 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และเมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่าด้านจิตภาวนา, ด้านปัญญาภาวนา, และด้านสีลภาวนา, ด้านกายภาวนา มีความสัมพันธ์ทางบวกในทิศทางเดียวกันในระดับสูง
3. แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุตามหลักภาวนา 4 ขององค์การบริหารส่วนตำบลวังลึก อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี พบว่า ด้านกายภาวนา คือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุต้องร่วมมือกันในการจัดโครงการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชนอย่างต่อเนื่อง ด้านสีลภาวนา คือ ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้สูงอายุและคนในชุมชนได้ร่วมกันทำกิจกรรมทางศาสนา ตามประเพณี วัฒนธรรม และวันสำคัญต่างๆ ทำให้เกิดความรัก ความสามัคคีของคนในชุมชน สามารถประพฤติอยู่ในศีลธรรมอันดี และปฏิบัติตนตามกฎระเบียบของสังคม ด้านจิตภาวนา คือ เทศบาลควรกำหนดแผนงาน และนโยบายต่างๆ ในดูแลผู้สูงอายุอย่างครบถ้วน รวมไปถึงการจัดกิจกรรมต่างๆ ให้ผู้สูงอายุได้เข้าร่วม เพื่อเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุกับคนทุกวัย ความเคารพรัก และความสามัคคี ซึ่งจะทำให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตที่ดี ด้านปัญญาภาวนา คือ จัดสวัสดิการสังคมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้แก่ผู้สูงอายุ เช่น การบริการตรวจสุขภาพ การจ่ายเบี้ยยังชีพ การจัดกิจกรรมนันทนาการ การจัดกิจกรรมทางศาสนา และสวัสดิการสังคมในด้านต่างๆ เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The study consisted of the following objectives: 1) to investigate the development of the quality of life in elderly people by Wang Luek Subdistrict Administrative Organization, Sam Chuk District, Suphan Buri Province; 2) to explore the correlation between the development of elderly’s quality of life based on Bhāvanā and the development of the quality of life in elderly people by Wang Luek Subdistrict Administrative Organization, Sam Chuk District, Suphan Buri Province; and 3) to present the guidelines for the development of the quality of life in elderly people based on Bhāvanā by Wang Luek Subdistrict Administrative Organization, Sam Chuk District, Suphan Buri Province. The study used mixed-methods research, with quantitative data acquired from 348 people and qualitative data collected from 9 key informants.
From the study, the following results are found
1) The development of the quality of life in elderly people by Wang Luek Subdistrict Administrative Organization, Sam Chuk District, Suphan Buri Province is overall at a high level is society followed by wisdom and lastly, physical body.
2) The development of elderly’s quality of life based on Bhāvanā and the development of the quality of life in elderly people by Wang Luek Subdistrict Administrative Organization, Sam Chuk District, Suphan Buri Province is positively correlated in the same direction at a high level of 0.962, with a statistical significance of 0.01. When each aspect is examined, it is revealed that citta-bhāvanā, paññā-bhāvanā, sīla-bhāvanā, and kāya-bhāvanā are positively correlated in the same direction at a high level.
3) The guidelines for the development of the quality of life in elderly people based on Bhāvanā by Wang Luek Subdistrict Administrative Organization, Sam Chuk District, Suphan Buri Province are as follows: (1) kāya-bhāvanā in which organizations concerned with the quality of life of the elderly must constantly collaborate in creating projects to promote community health; (2) sīla-bhāvanā in which the elderly and people in the community should be encouraged to participate in religious activities based on traditions and culture while still adhering to social regulations; (3) citta-bhāvanā in which the municipality should establish various plans and policies to comprehensively care for the elderly, including organizing activities in which the elderly can participate. (4) paññā-bhāvanā in which the social welfare should be given for the elderly in order to improve their quality of life, such as health check services, providing subsistence allowance, arranging recreational and religious activities, and other kinds of social welfare so that the elderly can live happily.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|