-
ชื่อเรื่องภาษาไทยประสิทธิภาพการให้บริการประชาชนขององค์การบริหารส่วนตำบลบ่อสวก อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษEfficiency of Public Service of Bosuak Sub-district Administrative Organization Mueang Nan District, Nan Province
- ผู้วิจัยนางสาววลัยพร เตชนันท์
- ที่ปรึกษา 1พระครูปลัดวัชรพงษ์ วซิรปญโญ, ผศ. ดร.
- ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.ธิติวุฒิ หมั่นมี
- วันสำเร็จการศึกษา31/03/2023
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/49963
- ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 44
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ ๑. เพื่อศึกษาระดับประสิทธิภาพการให้บริการประชาชนขององค์การบริหารส่วนตำบลบ่อสวก อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ๒. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักอิทธิบาท ๔ กับประสิทธิภาพการให้บริการประชาชนขององค์การบริหารส่วนตำบลบ่อสวก อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ๓. เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับประสิทธิภาพการให้บริการประชาชนขององค์การบริหารส่วนตำบลบ่อสวก อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน โดยการวิจัยเป็นแบบผสานวิธี ประกอบด้วย การวิจัยเชิงปริมาณ มีกลุ่มตัวอย่าง ๓๗๒ คน โดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้วิเคราะห์โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน ๑๑ คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์และวิเคราะห์เนื้อหา เชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
๑. ประสิทธิภาพการให้บริการประชาชนขององค์การบริหารส่วนตำบลบ่อสวก อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (1010011011.5606x"> = ๔.๐๒) หลักอิทธิบาท ๔ ในการให้บริการประชาชนขององค์การบริหารส่วนตำบลบ่อสวก อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (1010011011.5606x">
= ๔.๐๘) และประสิทธิภาพการให้บริการประชาชน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (1010011011.5606x">
= ๓.๙๖)
๒. ความสัมพันธ์ระหว่างหลักอิทธิบาท ๔ กับประสิทธิภาพการให้บริการประชาชนขององค์การบริหารส่วนตำบลบ่อสวก อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน โดยภาพรวม มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับค่อนข้างสูง จากการทดสอบสมมติฐาน พบว่า หลักอิทธิบาท ๔ กับประสิทธิภาพการให้บริการประชาชน มีความสัมพันธ์ในเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๑ จึงยอมรับสมมติฐาน
๓. ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับประสิทธิภาพการให้บริการประชาชนขององค์การบริหารส่วนตำบลบ่อสวก อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ปัญหา อุปสรรค พบว่า บุคลากรยังไม่ค่อยเข้าใจในเรื่องหลักอิทธิบาท ๔ จึงทำให้การทำงานมีความบกพร่อง ไม่มีความพอใจ ความเพียรพยายาม การเอาใจใส่ และไตร่ตรองทบทวน ในงานที่ทำงานและไม่ค่อยสอดคล้องกับเวลาจึงทำให้บุคลากรเกิดความท้อต่องานที่ทำ ความอดทนในการปฏิบัติงานมีจำกัดไม่สามารถปฏิบัติได้ยาวนาน เกิดความเบื่อหน่ายง่าย ซึ่งเป็นสาเหตุให้ขาดความพยายามและท้อแท้ การทำงานยังไม่ค่อยทันต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ไม่ค่อยสอดคล้องกับความเป็นจริง มีขั้นตอนการให้บริการแก่ประชาชนมากเกินไป การให้บรการด้านข้อมูลข่าวสารยังไม่ทั่วถึงและไม่ทันต่อเหตุการณ์แผนผังขั้นตอนการให้บริการและป้ายบอกช่องทางขอรับบริการไม่ชัดเจนเทคโนโลยีสมัยใหม่มีไม่เพียงพอ และประชาชนต้องการจัดฝึกอบรมพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้แก่บุคลากร และประชาชนอย่างต่อเนื่อง
ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับประสิทธิภาพการให้บริการประชาชนขององค์การบริหารส่วนตำบลบ่อสวก อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน พบว่า ควรให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานโดยการประยุกต์ใช้หลักธรรมกับบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน บริหารจัดการงานให้สอดคล้องกับความรู้ความสามารถของแต่ละคน กำหนดช่วงเวลาในการทำงานอย่างเหมาะสม มีการผ่อนคลายการทำงานเป็นระยะ ปรับลดขั้นตอนในการให้บริการแก่ประชาชน ให้ข้อมูลข่าวสารอย่างทั่วถึงและให้ทันต่อเหตุการณ์ มีแผนผังมีแผนผังขั้นตอนการให้บริการ การติดต่อและป้ายบอกช่องทางที่มีความชัดเจน ง่ายต่อการขอรับบริการ และมีการจัดฝึกอบรมพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้แก่บุคลากร และประชาชนอย่างต่อเนื่อง
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
Objectives of this research were: 1. To study the level of public service efficiency of Bosuak Subdistrict Administrative Organization Mueang Nan District, Nan Province. 2. To study the relationship between the Iddhipada 4 principles and the efficiency of public service of BoSuak Subdistrict Administrative Organization, Mueang Nan District, Nan Province 3. To study the problems, obstacles and recommendations on the efficiency of public service of Bosuak Subdistrict Administrative Organization. Mueang Nan District, Nan Province. The research was a combined method consisting of quantitative research. There was a sample of 372 people using a questionnaire. The statistics used to analyze the data were frequency, percentage, mean, standard deviation. and used for analysis using Pearson correlation coefficient and qualitative research by in-depth interviews with 11 key informants or persons using the interview form and descriptive content analysis.
Findings were as follows:
1. Efficiency of public service of Bosuak Subdistrict Administrative Organization Mueang Nan District, Nan Province, as a whole, was at the high level. Iddhipada 4 principles in serving the people of the Bosuak Subdistrict Administrative Organization Mueang Nan District, Nan Province, as a whole, was in a high level. and efficiency of public service, as a whole, was in a high level.
2. The relationship between Iddhipada 4 principles and efficiency of public service of Bosuak Subdistrict Administrative Organization Muang Nan District, Nan Province, overall, had a relatively high level of positive correlation. From the hypothesis testing, it was found that the 4 principles of power and efficiency of public service There was a statistically significant positive correlation at the 0.01 level, thus accepting the hypothesis.
3. Problems, Obstacles and Suggestions on the Efficiency of Public Service of Bosuak Subdistrict Administrative Organization Muang Nan District, Nan Province, problems and obstacles found that personnel still do not understand the Iddhipada 4 principles, causing the work to be impaired. not satisfied diligence, attention, and reflection In a job that does not work and is not consistent with the time, causing the personnel to discourage the work they do. Operational endurance is limited, it cannot be practiced for a long time. get bored easily which causes a lack of effort and discouragement The work is still not up to the situation that arises. inconsistent with reality There are too many procedures to provide services to the public. Information services are not comprehensive and up-to-date, the service flow diagram and service channel signs are unclear, modern technology is insufficient. And people want to organize training for the development of information technology for personnel. and the public continuously.
Recommendations on the efficiency of public service of Bosuak Subdistrict Administrative Organization Muang Nan District, Nan Province found that knowledge and understanding about work should be given by applying Dharma principles to personnel working. Manage work in accordance with the knowledge and abilities of each person. Set the right time to work. There is periodic relaxation. Reduce the process of providing services to the public. Provide information thoroughly and keep up to date with events There is a schematic diagram of the service process. Clear contact and channel signage Easy to request service and training on the development of information technology for personnel and the public continuously.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|