โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    ประสิทธิผลการบริหารจัดการสวัสดิการสิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐานแก่ผู้ต้องขัง ในเรือนจำจังหวัดน่าน
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษEffectiveness of Basic Necessity Management for Inmates at Nan Provincial Prison
  • ผู้วิจัยนายไกรศักดิ์ ไชยเลิศ
  • ที่ปรึกษา 1พระครูปลัดวัชรพงษ์ วชิรปญฺโญ, ผศ. ดร.
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.ธิติวุฒิ หมั่นมี
  • วันสำเร็จการศึกษา16/07/2023
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/49986
  • ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 30

บทคัดย่อภาษาไทย

สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ในการวิจัยคือ  1) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลการบริหารจัดการสวัสดิการสิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐานแก่ผู้ต้องขังในเรือนจำจังหวัดน่าน  2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักสังควัตถุธรรมกับประสิทธิผลการบริหารจัดการสวัสดิการสิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐานแก่ผู้ต้องขังในเรือนจำจังหวัดน่าน  3) เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาประสิทธิผลการบริหารจัดการสวัสดิการสิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐานแก่ผู้ต้องขังในเรือนจำจังหวัดน่าน วิธีการดำเนินการวิจัยเป็นแบบผสานวิธีกล่าวคือ การใช้ระเบียบวิจัยเชิงปริมาณและระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือผู้ต้องขังในเรือนจำจังหวัดน่านจำนวนทั้งสิ้น 1,415 คน ผู้วิจัยได้กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างและวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างจากสูตรของทาโร่ ยามาเน่  ได้ขนาดของกลุ่มตัวอย่างจำนวน 312 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ เพื่อหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทำการทดสอบสมมติฐานวิเคราะห์ในส่วนของการพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรว่ามีมากน้อยเพียงใด โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันเป็นค่าที่วัดความสัมพันธ์เพื่อทดสอบสมมติฐานในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 9 คน โดยใช้คำถามปลายเปิดที่แสดงปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ ผู้วิจัยทำการจัดกลุ่มตามประเด็นที่กำหนดไว้ในแบบสอบถามปลายเปิด จากนั้นจะทำการวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ ผู้วิจัยทำการจัดกลุ่มข้อมูลและเรียบเรียงความถี่เพื่อสนับสนุนข้อมูลเชิงปริมาณ

ผลการวิจัยพบว่า

          1. ระดับประสิทธิผลการบริหารจัดการสวัสดิการสิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐานแก่ผู้ต้องขังในเรือนจำจังหวัดน่าน พบว่าผู้ต้องขังตอบแบบสอบถามมีระดับความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า ด้านสนับสนุนปัจจัยพื้นฐานอยู่ในระดับมาก ด้านการบริการรักษาพยาบาลอยู่ในระดับมาก ด้านการศึกษาและพัฒนาจิตใจอยู่ในระดับปานกลาง ด้านการส่งเสริมสุขอนามัยผู้ต้องขังอยู่ในระดับมากและด้านกีฬาและนันทนาการอยู่ในระดับมาก

            2. หลักสังคหวัตถุธรรมกับประสิทธิผลการบริหารจัดการสวัสดิการสิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐานแก่ผู้ต้องขังในเรือนจำจังหวัดน่าน โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับค่อนข้างสูงและเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการสนับสนุนปัจจัยพื้นฐาน มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับค่อนข้างสูง ด้านการบริการรักษาพยาบาลมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับค่อนข้างสูง ด้านการศึกษาและพัฒนาจิตใจ มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับระดับค่อนข้างน้อย ด้านการส่งเสริมสุขอนามัยผู้ต้องขังมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับระดับน้อยมาก ส่วนด้านกีฬาและนันทนาการมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับปานกลาง   

            3. แนวทางการพัฒนาประสิทธิผลการบริหารจัดการสวัสดิการสิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐานแก่ผู้ต้องขังในเรือนจำจังหวัดน่านสรุปได้คือ 1. ด้านปัจจัยพื้นฐานยังมีปัญหาเรื่องห้องสุขาที่เรือนจำจัดให้ยังมีไม่เพียงพอควรสร้างห้องสุขาเพิ่มให้เพียงพอกับจำนวนผู้ต้องขัง 2.การอบรมหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นในเรือนจำยังมีน้อยควรเพิ่มการอบรมให้หลากหลายขึ้น 3. เครื่องใช้อนามัยส่วนตัวยังไม่เพียงพอควรให้มีการจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอ ควรจัดให้มีกิจกรรมนันทนาการมากขึ้นและด้านหลักพุทธธรรมสังคหวัตถุธรรมถือเป็นหลักธรรมที่เรือนจำควรนำมาประยุกต์ใช้กับการจัดสวัสดิการแก่ผู้ต้องขังเรือนจำจังหวัดน่าน

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

Objectives of this research paper were: 1) To study the level of effectiveness of basic necessity management for inmates’ in Nan Provincial Prison, 2) To study the relationship between the Sangkhawatuthamma principle and the effectiveness of basic necessity management for inmates at Nan Provincial prison and 3) To present guidelines for developing the effectiveness of basic necessity management for inmates at Nan Provincial Prison.

The research methodology was the methods. The quantitative research, data were collected from 312 samples, derived from 1,415 inmates in Nan Provincial Prison using Taro Yamane’s formula, analyzed data with social research statistical package with frequency, percentage, means, standard deviation, SD. and hypothesis testing with Pearson’s Correlation Coefficient. The qualitative research, data were collected from 9 key informants by in-depth-interview with open ended questions about problems, obstacle, recommendations, then arranged the data in groups for analysis to use the data to support the quantitative data.       

Findings were as follows: 

1. The level of effectiveness of basic necessities management for inmates in Nan Provincial Prison. was found that the inmates who answered the questionnaire had an overall opinion at high level. When classified by each aspect, it was found that necessity support was at high level. Medical welfare was at high level. Education and mental development were at a moderate level. Inmates’ health and hygiene support were at high level.  Education, sports and recreation were at high level

2. Sangkhahavatthu-dhamma principle and the effectiveness of basic necessity management for inmates in Nan Provincial Prison were generally positively correlated at a relatively high level. Each aspect had also positive relation, namely, basic necessity support had r positive relationship at relatively high level.  Medical welfare services were at positive relationship at a relatively high level. Education and mental development were at positive correlation at relatively high level. Education and mental development had positive correlation at low level. Inmates health and hygiene promotion had positive relations at very low level. Sport and recreation had positive relations at the middle level.

3. Guidelines for developing the effectiveness of basic necessities welfare management for inmates in Nan Provincial Prison could be summarized as follows: 1). In terms of basic factors, there was still a problem of insufficient toilets provided by the prison. There should be more toilets construction in relation to the number of prisoners, 2. Training for short-term vocational courses in prisons was infrequent. Training should be diversified. 3. Personal hygiene equipment were not sufficient. Sufficient budget should be allocated. More recreational activities should be provided. In terms of the Buddhadharma; Sangkhahavatthu-dhamma, it should be the principle that the prison should apply the necessity welfare of inmates in Nan Provincial Prison.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ