โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    ประสิทธิผลการบริหารงานตามหลักสังคหวัตถุธรรมของบุคลากรสำนักงานเทศบาลตำบลพระพุทธบาทเชียงคาน อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAdministration Effectiveness According To Sangkhahawatthudhamma Of PhraPhutthabatChiangkhan Subdistrict Municipality In Chiangklang Distic, Nan Province
  • ผู้วิจัยนางสาวนัชนิษ ขันทะสีมา
  • ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.วรปรัชญ์ คำพงษ์
  • ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง
  • วันสำเร็จการศึกษา16/07/2023
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/49989
  • ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 59

บทคัดย่อภาษาไทย

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลการบริหารงานของบุคลากรสำนักงานเทศบาลตำบลพระพุทธบาทเชียงคาน อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน 2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักสังคหวัตถุธรรมกับประสิทธิผลการบริหารงานของบุคลากรสำนักงานเทศบาลตำบลพระพุทธบาทเชียงคาน อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน และ 3. เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ                การพัฒนาประสิทธิผลการบริหารงานตามหลักสังคหวัตถุธรรมของบุคลากรสำนักงานเทศบาลตำบล             พระพุทธบาทเชียงคาน อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี กล่าวคือการใช้ระเบียบวิจัยเชิงปริมาณ และระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ผู้วิจัยได้กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง และวิธีการสุ่ม กลุ่มตัวอย่างจำนวน 378 คน และเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์และทำการทดสอบสมมติฐานวิเคราะห์ในส่วนของการพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการสัมภาษณ์ข้อมูลเชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูปหรือคน              ใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท นำเสนอเป็นความเรียงประกอบตารางแจกแจงความถี่            ของผู้ให้ข้อมูลสำคัญเพื่อสนับสนุนข้อมูลเชิงปริมาณ

 

ผลการวิจัยพบว่า

          1. ระดับประสิทธิผลการบริหารงานของบุคลากรสำนักงานเทศบาลตำบลพระพุทธบาท          เชียงคาน อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่านพบว่าประชาชนผู้ตอบแบบสอบถามมีระดับความคิดเห็น          โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.22) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน

          2. หลักสังคหวัตถุธรรมกับประสิทธิผลการบริหารงานของบุคลากรสำนักงานเทศบาลตำบล พระพุทธบาทเชียงคาน อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่านโดยภาพรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับค่อนข้างสูง (R=.704**) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านการเรียนรู้และพัฒนา                มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับค่อนข้างสูงส่วนด้านการเงินด้านผู้รับบริการด้านกระบวนการภายใน          มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับปานกลาง

          3. ปัญหา และอุปสรรค ข้อเสนอแนะการพัฒนาประสิทธิผลการบริหารงานตามหลักสังคหวัตถุธรรมของบุคลากรสำนักงานเทศบาลตำบลพระพุทธบาทเชียงคาน อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่านสรุปได้คือ 1. มีความล่าช้าในการให้บริการประชาชน 2. พนักงานเจ้าหน้าที่ขาดความเข้าใจในการปฏิบัติงาน         3. พนักงานเจ้าหน้าที่มีไม่เพียงพอต่อการให้บริการประชาชน 4. บุคลากรบางส่วนยังเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนมากกว่าประโยชน์ส่วนรวมและบางส่วนยังเห็นแก่พวกพ้องของตนเอง 5. การทำงานในบางเรื่อง ไม่ค่อยเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมทำให้การทำงานไม่มีประสิทธิภาพและไม่ครอบคลุมในการปฏิบัติงาน โดยมีข้อเสนอแนะคือ 1. ควรมีการบริหารจัดการระบบการให้บริการให้สะดวกและรวดเร็วขึ้น 2. ควรมีการจัดโครงการพัฒนาสมรรถนะ หรือเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานสำหรับเจ้าหน้าที่         อย่างสม่ำเสมอ 3. ควรสร้างจิตสำนึกในการเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน 4. ควรเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการทำงานมากขึ้น

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

The purpose of this study is to: 1. Study the effective management of personnel in the municipal office of Phra Phutthabat Chiang Khan Street in Qingbalang District. South Province 2. Study the relationship between Buddhist principles and the efficiency of personnel management in Phra Phutthabat Chiang Khan City office. Qingbalang District and 3. Research Obstacles in Southern Province Phra Phutthabat  ChiangKhan Subdistrict Municipal Office, Qingbalang District Southern Province. This is                      a comprehensive study, which uses quantitative research regulations and qualitative research regulations, population and samples. The researchers determined the size and randomization method of 378 samples. And collect data using questionnaires, conduct data analysis using existing social science research programs, and conduct hypothesis testing for analysis. When considering the relationship between variables, use Pearson's relative coefficients. And conduct in-depth interviews with 9 important informants or personnel. Using contextual analysis techniques, present it as a frequency distribution table of important information providers to support quantitative data.

 

The findings were that:

            1. Phraphutthabatchiangkhan Subdistrict Municipal Office, Qingbalang District  The southern province found that the overall level of opinion among respondents is very high ( = 4.22) And when considered separately, it was found to be very high in all aspects.

2. Principles and management efficiency of municipal office staff of Phraphut             thabatchiangkhan Street, Qingbalang District, Southern Province In general, there is a fairly high positive relationship (R=.704**), and learning and development are considered.                    High positive relationships in finance, customers and internal processes.

3. Issues and obstacles: Based on the principles of Phraphutthabatchiangkhan Municipal Office personnel, provide suggestions for the development of management efficiency The conclusion of the Qingbalang District in the southern province is:                     1. There have been delays in public services; 2. Officials lack understanding of operations. 3. There are not enough staff to serve the public. 4. Some people still work for their own benefit rather than for the public interest, while others also work for their peers. In some cases, work rarely allows public participation, resulting in low work efficiency and incomplete operations. The recommendation is 1. The service system should be managed to be more convenient and faster. 2. There should be a capacity development project.        Or increase the efficiency of work performance for officials on a regular basis. 3. Should create an consciousness of altruism for the common good rather than personal interest.                  4. Should allow people to participate in the work more.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ