โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    แนวทางการจัดการทรัพย์ในทางพระพุทธศาสนา
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Way of Wealth Management in Buddhism
  • ผู้วิจัยนางสาวภณิดา เหลืองวิลาศ
  • ที่ปรึกษา 1พระราชปริยัติกวี (สมจินต์ สมฺมาปญฺโญ) ศ.ดร., ป.ธ.9
  • ที่ปรึกษา 2ผศ.ดร.แม่ชีกฤษณา รักษาโฉม
  • วันสำเร็จการศึกษา26/05/2561
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:บัณฑิตวิทยาลัย
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/101
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 588
  • จำนวนผู้เข้าชม 733

บทคัดย่อภาษาไทย

 
              การศึกษาวิจัยเรื่อง “แนวทางการจัดการทรัพย์ในทางพระพุทธศาสนา” มีวัตถุประสงค์   3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาทรัพย์ในทางพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่เกี่ยวกับการจัดการทรัพย์ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการทรัพย์ในทางพระพุทธศาสนา วิธีดำเนินการวิจัยในครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) 
             ผลการวิจัยพบว่า ทรัพย์ในทางพระพุทธศาสนานั้น หมายถึง สวิญญาณกทรัพย์ คือ ทรัพย์ที่เป็นสิ่งที่มีชีวิต และอวิญญาณกทรัพย์ คือ ทรัพย์ที่เป็นสิ่งที่ไม่มีชีวิต โดยงานวิจัยนี้มุ่งเน้นทรัพย์ที่เป็นสิ่งที่ไม่มีชีวิต หลักพุทธธรรมที่เกี่ยวกับการจัดการทรัพย์มี 3 ประการ ได้แก่ หลักพุทธธรรมที่เกี่ยวกับการแสวงหาทรัพย์ หลักพุทธธรรมที่เกี่ยวกับการรักษาทรัพย์ และหลักพุทธธรรมที่เกี่ยวกับการใช้ทรัพย์ ทั้งนี้ควรตั้งอยู่บนพื้นฐานของมัชฌิมาปฏิปทา อันเป็นข้อปฏิบัติที่เป็นกลางไม่ย่อหย่อนและไม่ตึงจนเกินไป   
             แนวทางการจัดการทรัพย์ในทางพระพุทธศาสนานั้นมีองค์ประกอบ 3 อย่าง ได้แก่ การแสวงหาทรัพย์ การรักษาทรัพย์และการใช้ทรัพย์ เป็นทางปฏิบัติที่อยู่บนพื้นฐานของประโยชน์ในปัจจุบัน (ทิฏฐธัมมิกัตถะประโยชน์) ซึ่งประกอบด้วยการขยันแสวงหา การรักษาเหมาะสม การคบเพื่อนดี และการเลี้ยงชีวิตพอควร โดยมีเป้าหมาย คือ ความสุขในชีวิต ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุจุดหมายในระดับส่วนบุคคล จุดหมายเพื่อผู้อื่น และจุดหมายร่วมกันเพื่อความดีงามของคนในสังคม    
 

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

               This thesis entitled ‘The way of wealth management in Buddhism’ has three objectives: 1) to study the property in Buddhism, 2) to study Dharma principles related to wealth management in Buddhism, and 3) to study the way of wealth management in Buddhism. This is aqualitative research.
               In this research, there are two kinds of property in Buddhism, animate and inanimate property. This thesis focuses on inanimate property only. The principles of Dharma related to wealth management in Buddhism consist of the principle of Dharma related to seeking the property, the principle of Dharma related to keeping the property and the principle of Dharma related to using the property. It should be based on the principles of middle way which is neither too slack nor forced named “The noble eightfold path”.
               The way of wealth management in Buddhism contains of 3 main factors:  seeking the property, keeping the property and using the property. The principle is doing these factors following with the temporal objective or present benefit (Ditthadhammikattha). This is related to diligence in seeking property, appropriate saving, association with good friends and living economically. The purpose is to gain the happiness in human being in order to individually and publicly achieve the goal of human life.
                            
 

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 5.59 MiB 588 20 พ.ค. 2564 เวลา 21:50 น. ดาวน์โหลด