-
ชื่อเรื่องภาษาไทยศึกษาวิเคราะห์สาเหตุการเสด็จออกผนวชของเจ้าชายสิทธัตถะ
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAn Analytical Study of the Reasons for Renunciation of Prince Siddhattha
- ผู้วิจัยทันตแพทย์หญิงวิไล สุริยาแสงเพ็ชร์
- ที่ปรึกษา 1พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร, ดร., ป.ธ.7
- ที่ปรึกษา 2ดร.อรชร ไกรจักร์
- วันสำเร็จการศึกษา29/05/2561
- ส่วนงานจัดการศึกษา:บัณฑิตวิทยาลัย
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/103
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 5,336
- จำนวนผู้เข้าชม 5,241
บทคัดย่อภาษาไทย
งานวิจัยเรื่อง “ศึกษาวิเคราะห์สาเหตุการเสด็จออกผนวชของเจ้าชายสิทธัตถะ” นี้มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ 1) เพื่อศึกษาเรื่องการบวชในยุคพุทธกาล จากคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาทัศนะว่าด้วย สาเหตุการเสด็จออกผนวชของเจ้าชายสิทธัตถะจากการตีความของนักวิชาการ และเอกสารที่เกี่ยวข้อง 3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์สาเหตุการเสด็จออกผนวชของเจ้าชายสิทธัตถะ งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการค้นคว้าวิจัยเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึก นักวิชาการทางพระพุทธศาสนา 10 รูป / คน
ผลการวิจัย พบว่า ในยุคพุทธกาล ชาวชมพูทวีปมีค่านิยมทางสังคมในการสละเรือนออกบวชเพื่อแสวงหาความจริงสูงสุดหรือปรมาตมัน บรรลุโมกษะ นักปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาแสดงทัศนะเรื่องเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกผนวช มีความแตกต่างกัน 2 สาเหตุหลัก คือ 1) ต้องการแสวงหาหนทางพ้นทุกข์และ 2) เกิดจากแรงผลักดันทางการเมืองของสภาศากยวงศ์ จากการวิเคราะห์พระไตรปิฎก อรรถกถา ทัศนะของปราชญ์ในทางพระพุทธศาสนา ความเป็นมนุษย์ที่มีความตั้งใจจริงที่จะแสวงหาทางพ้นทุกข์และค่านิยมการบวชพบว่าสาเหตุหลักของการเสด็จออกผนวชของเจ้าชายสิทธัตถะที่น่าจะเป็นไปได้ คือ การบำเพ็ญบารมีเพื่อเป็นพระพุทธเจ้าในอดีตชาติ ต้องการแสวงหาหนทางพ้นทุกข์หลังจากเห็นเทวทูตทั้ง 4 การมองเห็นความไม่จีรังยั่งยืนในกามสุข และค่านิยมการบวชเพื่อแสวงหาโมกษะในยุคพุทธกาล
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
This thesis entitled ‘An Analytical Study of the Reasons for Renunciation of Prince Siddhattha’ has three objectives: 1) to study the ordination in the Buddha’s time in Theravada Buddhist scriptures, 2) to study the scholars’ interpretative views concerning Prince Siddhattha’s giving up the world and related academic works, and 3) to analyze Prince Siddhattha’s causes of giving up the world. This is a qualitative research done by mixed methods, documentary research and in-depth interview of 10 Buddhist scholars. In this research, the content analysis was used to conclude the research.
In the research, it was found that people in the subcontinent area were inclined to go forth in order to search for the ultimate goal of life, Moksha, in the Buddha’s time. In this matter, many Buddhist scholars hold two opposite views: on the one hand, Prince Siddhattha went forth because of his want in finding out the way leading to the cessation of suffering, on the other hand, he did so due to his political pressure in the Sãkaya parliament. From the analysis of Tipiṭaka, commentaries and Buddhist scholars’s viewpoints, human beings’ real need in search for the end of suffering and value of ordination, it clearly showed that the cultivation of perfections leading to becoming the Buddha in the past life whereby the cessation of suffering could be made was the Prince Siddhattha’s chief possible cause in giving up the world including the four passing sights, the insight of vicissitude in sensual pleasure and value in search of Moksha in the Buddha’s time.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 8.67 MiB | 5,336 | 20 พ.ค. 2564 เวลา 23:10 น. | ดาวน์โหลด |