-
ชื่อเรื่องภาษาไทยมโนทัศน์เรื่องความดีในพุทธจริยศาสตร์
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Concept Of Good In Buddhist Ethics
- ผู้วิจัยพศุ จันทร์ศรี
- ที่ปรึกษา 1พระมหาพรชัย สิริวโร, ผศ. ดร.
- ที่ปรึกษา 2พระมหาขวัญชัย กิตฺติเมธี, ดร.
- วันสำเร็จการศึกษา20/05/2021
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาปรัชญา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/1058
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 56
- จำนวนผู้เข้าชม 77
บทคัดย่อภาษาไทย
วิทยานิพนธ์เรื่อง “มโนทัศน์เรื่องความดีในพุทธจริยศาสตร์” มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษามโนทัศน์เรื่องความดีในจริยศาสตร์เพลโตและโซฟิสต์ 2) เพื่อศึกษามโนทัศน์เรื่องความดีในพุทธจริยศาสตร์ 3) เพื่อวิเคราะห์มโนทัศน์เรื่องความดีในพุทธจริยศาสตร์ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร
ในวัตถุประสงค์ข้อที่หนึ่งพบว่า ในมโนทัศน์ของเพลโต “ความดี” เป็นปรวิสัยกล่าวคือ ความดีจะต้องเป็นสิ่งที่ไม่ขึ้นอยู่กับบุคคลหรือสังคม ส่วนความดีในมโนทัศน์ของโซฟิสต์นั้น เป็นอัตวิสัยกล่าวคือ ความดีเป็นสิ่งที่ขึ้นอยู่กับบุคคล ใครเห็นว่าดีก็เป็นความดีของบุคคลนั้น ในวัตถุประสงค์ข้อที่สอง พบว่าในมโนทัศน์ของพุทธจริยศาสตร์ “ความดี” หมายถึงสิ่งที่เป็น “กุศล” กล่าวคือ สิ่งที่เกิดมาจากเจตสิกส่วนที่เป็นกุศล ซึ่งประกอบด้วยความไม่โลภ ความไม่โกรธ และความไม่หลง ความดีประเภทนี้จัดเป็นปรวิสัยแบบอ่อน กล่าวคือ การยอมให้ผู้กระทำมีส่วนในการตัดสินการกระทำนั้นๆ ในทางศีลธรรม
การศึกษาวิเคราะห์พบว่า เมื่อมโนทัศน์เรื่องความดีในพุทธจริยศาสตร์เป็นปรวิสัยแบบอ่อนจึงทำให้มีส่วนหนึ่งเป็นอัตวิสัย ที่ให้ความสำคัญกับความคิดและการกระทำของบุคคลเป็นหลักที่สัมพันธ์กับหลักกุศล ในการพิจารณาตัวอย่างเรื่องศีลห้าในมุมมองของโซฟิสต์พบว่า มโนทัศน์เรื่องความดีสามารถเป็นปรวิสัยแบบอ่อนได้เพราะในหลักการที่ว่า มนุษย์เป็นเครื่องวัดทุกสิ่งนั้น โซฟิสต์ยอมรับเรื่องความดีที่สังคมเห็นพ้อง กล่าวคือ การยอมรับมโนทัศน์เรื่องความดีสัมพัทธ์เชิงปรวิสัย แต่ความดีในมุมมองของโซฟิสต์นั้นไม่เป็นปรวิสัยแบบแข็ง ส่วนความดีในมุมมองของเพลโตเป็น ปรวิสัยแบบแข็งอย่างเดียว เพราะเพลโตไม่ยอมรับให้มีอัตวิสัยและสัมพัทธ์นิยมเป็นส่วนในการตัดสิน ดังนั้นมโนทัศน์เรื่องความดีในมุมมองพุทธจริยศาสตร์ จึงมีความใกล้เคียงกับมโนทัศน์เรื่องความดีของโซฟิสต์ เพราะยอมรับให้สัมพัทธ์นิยมเป็นส่วนในการตัดสิน แต่ก็ไม่ได้เป็นสัมพัทธ์นิยมทั้งหมด และมีความใกล้เคียงกับมโนทัศน์เรื่องความดีของเพลโตในแง่ที่เป็นปรวิสัยแบบอ่อนเท่านั้น
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
This thesis entitled ‘A concept of good in Buddhist ethics’ has three objectives: 1) to study the concept of good in Plato’s and Sophist’s ethics, 2) to study the concept of good in Buddhist ethics, and 3) to critically analyze the concept of good in Buddhist ethics. This is a documentary research.
In the first objective, it was found that on the one hand the Plato’s concept of good is objective; it does not depend on man or society, on the other hand, the Sophist’s concept of good subjective; it basically depends on man, whoever sees good, it is good of that man. In the second objective, it was found that in Buddhist ethics’ concept of good it embraces what is ‘wholesome’, namely whatever is by nature caused by the wholesome property of mind where there is no greed, no hatred, and no delusion, such a good is weak objective; the doer is allowed to be the part of moral judgment.
The analytical study was found that since the concept of good in Buddhist ethics belongs to the weak objectivism then it comes to contains the part of subjectivism where the significance of thought and action of the doer relating to the wholesome is considerably emphasized. In the consideration of five precepts through Sophist’s perspective the concept good becomes weak objective because it accepts the concept of good where it is agreed by a society according to the principle of ‘man is the measure of all things’; it has the place for the concept of good in the relative-objectivism, but such a concept could not become the strong objectivism. As regards the concept of good in Plato’s viewpoint, it becomes strong objectivism because Plato did not endorse subjectivism and relativism to be the part of moral judgment. Therefore, the concept of good in Buddhist ethics has nearness with the concept of good in Sophist’s viewpoint because it allows the subjectivism to be the part of moral judgment but it did not hold the complete subjectivism and it also has the nearness with the concept of good in Plato’s viewpoint in terms of the only weak objectivism.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
5901205041 | 5901205041 | 1.12 MiB | 56 | 27 มิ.ย. 2564 เวลา 04:37 น. | ดาวน์โหลด |