โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อโซเชียลเน็ตเวิร์คตามหลักโยนิโสมนสิการของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Study of Students’ Behaviors in Using the Social Media Networks based on Yonisomanasikara Principles in Chaiyaphum Rajabhat University
  • ผู้วิจัยพระอธิการประครองศิลป์ ติสโส (สมใจ)
  • ที่ปรึกษา 1พระมหามิตร ฐิตปญฺโญ, รศ. ดร.
  • ที่ปรึกษา 2พระโสภณพัฒนบัณฑิต, รศ. ดร
  • วันสำเร็จการศึกษา08/03/2019
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:บัณฑิตวิทยาลัย
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/106
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 552
  • จำนวนผู้เข้าชม 742

บทคัดย่อภาษาไทย


           การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์วัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อโซเชียลเน็ตเวิร์คของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ  2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อโซเชียลเน็ตเวิร์คตามหลักโยนิโสมนสิการของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ   3) เพื่อวิเคราะห์ผลที่ได้จากศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อโซเชียลเน็ตเวิร์ค   ตามหลักโยนิโสมนสิการของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ   มาปรับใช้ในสังคมปัจจุบันต่อไป   การวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ  (Qualitative Research)      ผู้วิจัยได้ศึกษาค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและภาคสนามคือการสัมภาษณ์ (Interview) โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับประชากรและผู้ให้ข้อมูลสำคัญ โดยกำหนดขอบเขตด้านเนื้อหาและกรอบแนวคิดที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย และนำเสนอแบบการพรรณนาความ (Descriptive presentation) เชิงพรรณนา 

           พฤติกรรมการใช้สื่อโซเชียลเน็ตเวิร์คของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ   พบว่าการใช้สื่อของนักศึกษามักจะเป็นพฤติกรรมการเรียนแบบ  การเกิดมีไอดอลก็เป็นแรงจูงใจ  หรือเป็นการสร้างแรงบันดาลใจของพฤติกรรมส่วนบุคคลเป็นสิ่งสำคัญ  

           พฤติกรรมการใช้สื่อโซเชียลเน็ตเวิร์ค   ตามหลักโยนิโสมนสิการของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ   พบว่า พฤติกรรมการใช้สื่อที่เหมาะสมเป็นสิ่งที่นักศึกษาควรตระหนักเป็นอย่างยิ่ง ควรพิจารณาใคร่ควรจนเป็นนิสัย แล้วนำเสนอ  สิ่งที่เป็นเชิงบวกออกสู่สังคม  ย่อมเกิดผลดีทั้งต่อตนเองและผู้อื่น

           วิเคราะห์ผลที่ได้จากศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อโซเชียลเน็ตเวิร์ค ตามหลักโยนิโสมนสิการของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ  พบว่าส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจในหลักของโยนิโสมนสิการ   เพราะเป็นคำที่แปลกสำหรับนักศึกษาทั่วไป   แต่เมื่อได้อธิบายถึงความหมายของคำว่าโยนิโสมนสิการแล้ว   ทำให้เข้าใจ และส่วนใหญ่มีความเห็นว่าควรนำหลักโยนิโสมนสิการ มาปรับใช้ในการสื่อสารทางโซเชียลเน็ตเวิร์ค  เพื่อจะได้เกิดสิ่งที่เป็นประโยชน์ทั้งแก่ตนเองและสังคมโดยรวมได้

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ


           The aims of this study were:  1) to study the students’ behaviors in using the social media networks in Chaiyaphum Rajabhat University;  2) to study the students’ behaviors in using the social media networks based on Yonisomanasikara dhamma (yonisomanasikāra: wise reflection) in Chaiyaphum Rajabhat University; 3) to analyze the results of the study of the students’ behaviors in using the social media networks based on Yonisomanasikara dhamma to be applied in the current society. This qualitative research was conducted through the study of relevant documents and fieldwork and in-depth interview of the population and key informants consistent with the research contents, conceptual framework and research objectives. The obtained data were shown by the descriptive presentation. 

           The research results revealed that based on the study of the students’ behaviors in using the social media networks in Chaiyaphum Rajabhat University, the students’ social media network usage is the copy behavior which is inspired by their idol and any other important person.

           According to the students’ behaviors in using the social media networks based on Yonisomanasikara dhamma in Chaiyaphum Rajabhat University, the behavior of suitable usage of the social media networks should be highly realized by the students and presented to the society. This leads to the positive effects to oneself and the others.

           In regards to the analysis of the results of the study of the students’ behaviors in using the social media networks based on Yonisomanasikara dhamma, the students do not understand the dhamma ‘Yonisomanasikara’ as this word is unfamiliar to them. When they understand the meaning of the word, most of them agree to apply it in their social media usage for the benefits of themselves and the society.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 2.15 MiB 552 21 พ.ค. 2564 เวลา 00:35 น. ดาวน์โหลด