โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    ศึกษาปัจจัยจิตลักษณะและปัจจัยจิตสังคมที่มีผลต่อกระบวนการรับรู้การเรียนการสอนของนิสิตพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA study of Psychlogical and Psycho–social Factors Effecting Conceptual Process of Master of Arts in Buddhist Psychololgy Students’ Instructions in the Department of Psychology, Faculty of Humanities, Mahachulalongkornrajavidyala University, Amphar Wangnoi, Pranakornsriayuttaya Province
  • ผู้วิจัยนางสาวณัชชา สกุลศิริปริณดา
  • ที่ปรึกษา 1พระครูสังฆรักษ์เอกภัทร อภิฉนฺโท, ผศ. ดร.
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร. ประยูร สุยะใจ
  • วันสำเร็จการศึกษา08/03/2019
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/1100
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 168
  • จำนวนผู้เข้าชม 338

บทคัดย่อภาษาไทย

           การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ศึกษาปัจจัยจิตลักษณะและปัจจัยจิตสังคมที่มีผลต่อกระบวนการรับรู้การเรียนการสอนของนิสิตพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ เปรียบเทียบปัจจัยจิตลักษณะและปัจจัยจิตสังคมที่มีผลต่อกระบวนการรับรู้การเรียนการสอนของนิสิตพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อำเภอวังน้อย พระนครศรีอยุธยา รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างนิสิตชั้นปีที่ 1-2-3 ที่กำลังศึกษาอยู่ในคณะมนุษยศาสตร์ รวมทั้งสิ้น 50 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยค่าสถิติเอฟ (F-test) และค่าสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson correlation)    

              ผลการศึกษาพบว่า

              ปัจจัยส่วนบุคคลไม่มีความสัมพันธ์กับกระบวนการเรียนรู้หลักสูตรพุทธจิตวิทยาส่วนปัจจัยทางจิตลักษณะและจิตสังคมมีความสัมพันธ์ต่อกระบวนการเรียนรู้หลักสูตรพุทธจิตวิทยา ของนิสิตมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ดังนี้

              1)  ความเชื่อมั่นในตน มีความสัมพันธ์กับกระบวนการรับรู้การเรียนการสอนของนิสิตด้านการจัดการเรียนการสอน

              2)  แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ มีความสัมพันธ์กับกระบวนการรับรู้การเรียนการสอนของนิสิตด้านหลักสูตร ด้านการจัดการเรียนการสอน  ด้านการใช้สื่อการสอน ด้านการวัดผลและประเมินผล และในภาพรวม

              3)  ลักษณะมุ่งอนาคต มีความสัมพันธ์กับกระบวนการรับรู้การเรียนการสอนของนิสิต ในทุกด้าน ได้แก่ ด้านหลักสูตร ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการจัดกิจกรรม ด้านการใช้สื่อการสอน ด้านการวัดผลและประเมินผล และในภาพรวม

              4)  สัมพันธภาพกับเพื่อน  มีความสัมพันธ์กับกระบวนการรับรู้การเรียนการสอนของนิสิตด้านหลักสูตร ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการจัดกิจกรรม ด้านการใช้สื่อการสอน และในภาพรวม

              5)  สัมพันธภาพกับครอบครัว มีความสัมพันธ์กับกระบวนการรับรู้การเรียนการสอนของนิสิตด้านหลักสูตร ด้านการจัดการเรียนการสอน และในภาพรวม

              6)  สัมพันธภาพกับอาจารย์ มีความสัมพันธ์กับกระบวนการรับรู้การเรียนการสอนของนิสิตในทุกด้าน ได้แก่ ด้านหลักสูตร ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการจัดกิจกรรม ด้านการใช้สื่อการสอน ด้านการวัดผลและประเมินผล และในภาพรวม

              ดังนั้นปัจจัยจิตลักษณะและปัจจัยจิตสังคม มีความสัมพันธ์กับกระบวนการรับรู้การเรียนการสอนของนิสิตที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 และ ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 เมื่อพิจารณาจำแนกตามคู่ปัจจัยจิตลักษณะและปัจจัยจิตสังคม สามารถอธิบายได้ดังนี้ ปัจจัยด้านความเชื่อมั่นในตน ด้านแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ด้านลักษณะมุ่งอนาคต ด้านสัมพันธภาพกับเพื่อน ด้านสัมพันธภาพกับครอบครัว ด้านสัมพันธภาพกับอาจารย์ พบว่า มีความสัมพันธ์กับกระบวนการรับรู้การเรียนการสอนของนิสิตในทุกด้าน ได้แก่ ด้านหลักสูตร ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการจัดกิจกรรม ด้านการใช้สื่อการสอน ด้านการวัดผลและประเมินผล

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

               Research has two adjectives to study effect of psychological and psycho-social factors perception instruction of M.A. students’ in  Department of Buddhist Psychology, MCU.  Wangnoi, Ayadhya Province to compane difference between two factors. To Collect the data the questionnaires to 50 Second year, Third year. M.A. students’ in M.A.program (Buddhist Psychology) in Faculty of Humanities. frequency, percentage, means, standard bias, hypothesis test using the value of statistic F-test and the value of Pearson product moment correlation coefficient were applied for data analysis

              The result of study was found that most of the sampled group were monks of 31-40 years old, studying in M.A.program (Buddhist Psychology) at the second class, the family’s average incomes of 5,100-10,000 baht a month, mostly in the past, having various coercers like: student and personal career. The sampled group had Self confidence and motivation for achievement and Future Orientation at much level. The relation was found that this sampled group had the relationship with their friends, family members and the teachers at a much level, too. The result of adjustment in learning  the curriculum of Buddhist Psychology was found that the sampled group had the opinion in the integrative image about the curriculum of Buddhist Psychology at a much level from the point of the sampled group having the curriculum and organizing instruction, and later on organizing activities, using a media of teaching. Besides, the teachers gave a guidance inside and outside the classroom they came to teach the class at the right time and the measurement and evaluation of instruction in order. The assumption test was found that personal factors had no relation to a conceptual process of students’ instruction in the curriculum of Buddhist Psychology of M.A. students in Buddhist Psychology, Mahachulalongkornrajavidyalaya University, Wongnoi District, Phranakhonsriayutthaya Province as follows

              1. Self confidence had a relation with a conceptual process of students’ instruction in teaching management

            2. Motivation for achievement had a relation with a conceptual process of students’ instruction about curriculum, teaching management, using a teaching media, measurement and evaluation and in an overview.

              3. Future Orientation had a relation with a perception of students’ instruction in every aspect like: curriculum, teaching management, organizing activities, using the teaching media, a measurement and evaluation and in total aspects

              4. The relationship with friends had a relation with a conceptual process of students on instruction about curriculum, teaching management, organizing activities, using the teaching media and in total aspect

                5. The relationship with the family had a relation with a perception process of students’ instruction in a cuspec ofrriculum, teaching management and in an overview.

              6. The relationship with teachers had a relation with a perception process of students’ instruction in every aspect like: that of a curriculum, teaching management, organizing activities, using the teaching media, a measurement and evaluation  and in an overview.

              Thus, Psychological and Psycho-social factors had a conceptual Process of students’ instruction in a significant level of statistics 0.01 and 0.05 . Having considered a division of pair of Psychological and Psycho-social factors, we could explain as follows: Factors to self – confidence, Motivation for achievement, Future Orientation, relationship with friends, relationship with the family, relationship with teachers, were found that  they had a relation with a perception process of students on instruction in every part, such as curriculum, teaching management, organizing activities, using the teaching media, a measurement and evaluation

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 7.89 MiB 168 28 มิ.ย. 2564 เวลา 12:19 น. ดาวน์โหลด