-
ชื่อเรื่องภาษาไทยรูปแบบการสื่อสารสาระธรรมผ่านสื่อดิจิทัลของวัดร่ำเปิง (ตโปทาราม) จังหวัดเชียงใหม่
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษDhamma Communication Model Through Digital Media of Wat Rampoeng (Tapotaram) Chiang Mai Province
- ผู้วิจัยพระสมบัติ อินฺทสโร (บารมี)
- ที่ปรึกษา 1พระครูประวิตรวรานุยุต, ผศ. ดร.
- ที่ปรึกษา 2ดร.วิโรจน์ วิชัย
- วันสำเร็จการศึกษา21/03/2021
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/1117
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 8
- จำนวนผู้เข้าชม 9
บทคัดย่อภาษาไทย
วิทยานิพนธ์ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับการสื่อสารตามหลักพระพุทธศาสนาและการสื่อสารสื่อดิจิทัล (2) เพื่อศึกษารูปแบบการสื่อสารสาระธรรมผ่านสื่อดิจิทัล ของวัดร่ำเปิง (ตโปทาราม) จังหวัดเชียงใหม่ และ (3) เพื่อวิเคราะห์รูปแบบการสื่อสารผ่านสื่อดิจิทัล ของวัดร่ำเปิง (ตโปทาราม) จังหวัดเชียงใหม่ โดยศึกษาเป็นการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) และการใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) จากสื่อสารสนเทศของวัดร่ำเปิง (ตโปทาราม) และการเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informal) กับกลุ่มผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ จำนวน 40 รูป/คน
ผลการวิจัยพบว่า การใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารในทางพระพุทธศาสนานิยมใช้ภาษาสากลที่ประชาชนใช้กันแพร่หลายเช่นในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าทรงสื่อสารด้วยภาษามคธ เพื่อต้องการสื่อสารธรรมให้ประชาชนให้เข้าใจได้โดยง่าย ดังนั้น การสื่อสารด้วยสื่อดิจิทัลก็ควรเน้นภาษาถ้อยคำที่เข้าใจง่าย สามารถเข้าถึงประชาชนได้ทั่วไป รวมไปถึงการพัฒนาภาษาเพื่อการสื่อสารกับคนทั่วโลกด้วยภาษาสากล และการใช้เทคนิคการสอนที่มีความหลากหลาย อาทิ การยกอุทาหรณ์และเล่านิทานประกอบ การเปรียบเทียบด้วยข้ออุปมา การใช้อุปกรณ์การสอนประกอบการสนทนา การบรรยาย และการถาม-ตอบปัญหา
รูปแบบการสื่อสารสาระธรรมผ่านสื่อดิจิทัลของวัดร่ำเปิง (ตโปทาราม) จังหวัดเชียงใหม่ มีจำนวน ๗ ช่องทาง คือ facebook, youtube, twitter, Instagram, soundcloud และ Website จำนวน ๒ ช่องทาง คือ ประเภท .com และ ประเภท .org ซึ่งช่องทางที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ facebook เนื่องจากเป็นช่องทางที่มีผู้ใช้งานมากที่สุด อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมการใช้ social mediaของคนทั่วโลกนั้นมีหลากหลาย ในอนาคตจึงควรขยายช่องทางของ social platform ที่ตอบรับสำหรับการใช้งานของคนทั่วโลก
การวิเคราะห์รูปแบบการสื่อสารผ่านสื่อดิจิทัลของวัดร่ำเปิง (ตโปทาราม) พบว่า มีความสอดคล้องกับแนวคิดการสื่อสารตามหลักพระพุทธศาสนา คือ การใช้ภาษาและสื่อที่เข้าใจง่ายและเข้าถึงประชาชนได้ในวงกว้างและมีหลากหลายช่องทาง ทำให้ไม่มีข้อจำกัดในด้านการเดินทางและช่วงเวลา ทำให้ประชาชนที่สนใจสามารถเข้าถึงสื่อสาระธรรมที่เป็นประโยชน์ได้ตามโอกาสเวลา และมีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข่าวสารที่เป็นประโยชน์ รวดเร็ว และทันสมัย มีระบบการติดตามผู้ที่เข้ามาติดตามรับชมและแสดงความคิดเห็นในด้านต่างๆ เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาปรับปรุงให้ดีขึ้น ซึ่งในอนาคตควรมีการขยายช่องสื่อดิจิทัลในรูปแบบ AR (Augmented Reality) ที่สามารถประยุกต์ใช้ในการแสดงผลภาพแบบจำลองการปฏิบัติธรรม เพื่อเป็นสื่อการเรียนรู้ที่ดึงดูดความสนใจของเยาวชนรุ่นใหม่ การใช้เทคโนโลยี VR (Virtual Reality) มาประยุกต์ใช้ในการฝึกปฏิบัติธรรม เพื่อลดปัญหาการเดินทางและการสอนระยะไกลสำหรับผู้ที่บกพร่องทางร่างกาย หรือมีความต้องการเป็นส่วนตัว ตลอดจนการลดปัญหาในเรื่องการสร้างพื้นที่และสาธารณูปโภคของวัด เป็นทางเลือกหนึ่งที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันที่ทั่วทั้งโลกกำลังมีปัญหาของโรคระบาด อีกทั้งเทคโนโลยีสารสนเทศนี้จะเป็นรูปแบบหนึ่งในการพัฒนาจิตวิญญาณของมนุษย์ในโลกแห่งอนาคตต่อไป
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
This thesis is of 3 objectives: 1) to study the communication concepts according to the Buddhist principles and the Digital media communication 2) to study the forms of Dhamma communication via digital media of Wat Rampeng (Tapotaram) Chiang Mai Province and 3) to analyze the forms of the digital media communication of Wat Rampeng (Tapotaram), Chiang Mai Province.
It is a qualitative research by primary collecting data from documents and the information media of Wat Ramping having supplemented by the in-depth interview the key informants about 40 people; the service providers and users by the purposive method.
The results are found that : The use of language for communication in Buddhism is popularly used the universal language which was widely used by people. In the Buddha’s time, the Buddha communicated with Magadhi in order to easily communicate Dharma to the public. So the digital communication should focus on a language that is easy to understand, being accessible to the public. It includes language development for communicating with people around the world by a universal language adding with the use of various teaching techniques such as story-telling, comparison with parables, use of teaching materials in conversation, lecture and question-answer.
The forms of Dhamma communication via digital media of Wat Rampeng (Tapotaram) Chiang Mai, are of 7 channels: facebook, youtube, twitter, Instagram, soundcloud and 2 channels of Website, which are: one is .com type and another is a type of .org. The most popular channel is facebook, because it is the most used channel by people. However, there are many social media behaviors in the world. In the future, it should expand the channels of social platforms that are answering the use of over the world people.
The analysis on the digital communication forms of Wat Ram Poeng (Tapotaram) is found that it was consistent with the Buddhist communicative concept, namely the use of language and media easily to understand and accessible to the public and composed of the various channels. it has no any limitation both on travel and time. It offers to the interested people to reach the useful Dharma media according to their opportunity and time. It is also publicized the useful news on the fast, and up to date.
There is a system for tracking those who follow, watch and comment on various fields. This is sed to develop and improve. For the future, there should be expansion of digital media channel in the form of AR (Augmented Reality) that can be applied to display virtual images of the Dharma practicing models as a learning media that is attractive of the new generation youth’s attention.
The application of VR (Virtual Reality) technology into Dhamma practice is to reduce the distant traveling and learning for the physically challenged people or the personal needs. It is as well as reducing problems in building spaces and utilities of the temple. It is an optional that fits with the current situation in the world which is now facing the problem of pandemic disease. Moreover, this information technology will be a form of human spiritual development in the future.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
5904205013 | 5904205013 | 8.62 MiB | 8 | 29 มิ.ย. 2564 เวลา 06:44 น. | ดาวน์โหลด |