โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    คุณค่าของจิตรกรรมฝาผนังวิหารลายคำ วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Value of Mural Paintings of Lai Kham Vihara, Wat Phra Singh Varamahavihara
  • ผู้วิจัยพระณัฐพงษ์ สิริภทฺทจารี (วงศ์อินทร์)
  • ที่ปรึกษา 1พระบุญทรง ปุญฺญธโร, ผศ. ดร.
  • ที่ปรึกษา 2พระครูสิริปริยัตยานุศาสก์, ดร.
  • ที่ปรึกษา 3ดร.วิโรจน์ วิชัย
  • วันสำเร็จการศึกษา13/03/2021
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/1119
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 7
  • จำนวนผู้เข้าชม 12

บทคัดย่อภาษาไทย

           การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ดังนี้ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาพัฒนาการจิตรกรรมฝาผนังในพระพุทธศาสนา  2) เพื่อศึกษางานจิตรกรรมฝาผนังวิหารลายคำ วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร และ  3) เพื่อวิเคราะห์คุณค่าของงานจิตรกรรมฝาผนังวิหารลายคำ วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ทำการวิเคราะห์เนื้อหา นำเสนอด้วยการพรรณนา  ผลการวิจัยพบว่า

     1) จิตรกรรมฝาผนังเชิงพุทธที่เก่าแก่ที่สุดในโลกพบในถ้ำอชันตา ซึ่งตั้งอยู่ท่ามกลางเทือกเขาในบริเวณฝั่งตะวันตกของที่ราบสูงเดกกัน ประเทศอินเดีย เป็นภาพจิตรกรรมฝาผนังที่เขียนขึ้นระหว่างพุทธศตวรรษที่ 3-7 เรื่องราวที่เขียนเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา พุทธประวัติ และชาดกต่าง ๆ เขียนได้อย่างงดงามมีชีวิตชีวาด้วยวิธีการเขียนแบบสีปูนเปียก ถือเป็นแบบอย่างที่ก่อให้เกิดศิลปกรรมทวารวดี

          2) ในงานจิตกรรมฝาผนังวิหารลายคำ การเขียนภาพใช้พื้นที่ของผนังทุกด้าน ยกเว้นผนังด้านหลังพระประธาน ซึ่งทำเป็นการบิดทองลงลายที่รับอิทธิพลแบบจีน เรื่องที่เขียนเป็นเรื่องสังข์ทอง และสุวรรณหงส์ โดยเรื่องสังข์ทองจะเขียนผนังด้านซ้ายมือของพระประธาน และเรื่องสุวรรณหงส์จะเขียนบนผนังขวามือของพระประธาน

       3) งานจิตรกรรมฝาผนังวิหารลายคำ วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร มีคุณค่า  6 ประการ ได้แก่ (1) คุณค่าด้านประวัติศาสตร์ (2) คุณค่าด้านศิลปกรรม (3) คุณค่าด้านคติธรรม (4) คุณค่าด้านความงาม (5) คุณค่าด้านวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา และ (6) คุณค่าต่อสังคม วัฒนธรรม ศิลปะ และประเพณี

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

          This research is of 3 objectives: 1) to study the development of mural paintings in Buddhism, 2) to study the mural paintings of Lai Kham Vihara, Wat Phra Singh Varamahavihara and 3) to analyze the value of the mural paintings of Lai Kham Vihara, Wat Phra Singh Varamahavihara. This is a qualitative research composed by interviews the key informants. Data are analyzes by content analysis and presented by descriptive report.

             The research’s results are found that

          1) The oldest Buddhist MuralPaintings in the world were found in Ajanta Caves Which are located among the mountains in the Western part of the Deccan Plateau, India. They were the mural paintings painted during the 3rd - 7th Centuries. The painted stories were about the  stories about Buddhism, story of the Buddha, and various Jatakas. They were  beautifully and lively painted with fresco painting. It is considered as a model that contributes to the Dvaravati's Arts.

            2) In the Mural Paintings of the Lai Kham Vihara, the paintings took up the space of all walls except the main wall behide the Buddha statute. Thae are gilded with the gold patterns that had been influenced by Chinese style. The painting stories are Sang Thong and Suvanna Hong. The Sang Thong was painted on the  left hand wall of the Buddha Statue, while the Suvanna Hong was painted on the right hand wall of the Buddha Statue.

          3) The Mural Paintings of Lai Kham Vihara, Wat Phra Singh Varamahavihara contained of  6 values;  (1) the historical value (2) the artistic value (3) the morale value (4) the beauty value (5) the Buddhist literary value and (6) the social, cultural, artistic and traditional values.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
5904205005 5904205005 19.27 MiB 7 29 มิ.ย. 2564 เวลา 07:11 น. ดาวน์โหลด