โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: library@mcu.ac.th

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    กระบวนการดำรงอัตลักษณ์ทางพระพุทธศาสนา ของชาวไทใหญ่ในจังหวัดเชียงใหม่
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Process of Identity Maintenance of Tai Buddhist in Chiang Mai
  • ผู้วิจัยKHEMADHAMA
  • ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.เทพประวิณ จันทร์แรง
  • ที่ปรึกษา 2พระครูสิริปริยัตยานุศาสก์, ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา13/03/2021
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/1121
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 10
  • จำนวนผู้เข้าชม 18

บทคัดย่อภาษาไทย

         การวิจัยเรื่อง กระบวนการดำรงอัตลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาของชาวไทใหญ่ในจังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์ 3 การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยใช้ระเบียบการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีการนำเสนอข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์แบบพรรณนา (Content Analysis)

           ผลการวิจัยพบว่า

        1)  ด้านความศรัทธาต่อพระพุทธศาสนาของชาวไทใหญ่ในจังหวัดเชียงใหม่ พบว่าชาวไทใหญ่ในจังหวัดเชียงใหม่มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก นิยมเข้าวัด ทำบุญ สวดมนต์ ไหว้พระ ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ซ่อมแซมบูรณะวัดวาอาราม อุปัฏฐากพระภิกษุสามเณรเป็นอย่างดี เคารพนอบน้อมต่อพระรัตนตรัย ประพฤติปฏิบัติตนเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี มีความศรัทธาเลื่อมใสในพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นอย่างมาก มีความเชื่อเรื่องบาปบุญคุณโทษ เชื่อในเรื่องกฎแห่งกรรม นอกจากนี้ชาวไทใหญ่ยังมีความเมตตา ความเสียสละ และมีความสามัคคีให้ความช่วยเหลือกันในงานสำคัญทางพระพุทธศาสนาเป็นอย่างดี

            2)  ด้านศึกษาอัตลักษณ์ทางประเพณี พิธีกรรม ความเชื่อทางพระพุทธศาสนาของชาวไทใหญ่ในจังหวัดเชียงใหม่ พบว่า อัตลักษณ์ของชาวไทใหญ่เป็นสิ่งที่เชื่อมโยงกับวัฒนธรรม เมื่อมีการปรับเปลี่ยนวิถีทางประเพณีพิธีกรรมและความเชื่อของชาวไทใหญ่ ในมิติที่สัมพันธ์กับปัจจัยด้านแผนนโยบายท่องเที่ยว สังคม และเศรษฐกิจ อัตลักษณ์ของชาวไทใหญ่ก็ปรับเปลี่ยนไปในลักษณะต่าง ๆ ด้วยเช่นกัน ซึ่งเป็นการปรับตัวตนทางอัตลักษณ์สู่สังคมและวัฒนธรรมภายนอกด้วย การแสดงออกถึงอัตลักษณ์ใหม่ในการเป็นส่วนหนึ่งของรัฐไทยผ่านประเพณีพิธีกรรม รวมถึงการผลิตซ้ำ สร้างใหม่ หรือฟื้นฟูทางประเพณี สำหรับอัตลักษณ์ทางประเพณี พิธีกรรม ความเชื่อทางพระพุทธศาสนาของชาวไทใหญ่ในจังหวัดเชียงใหม่ จะมีประเพณี 12 เดือน หรือที่เรียกว่าฮีต 12

          3)  กระบวนการดำรงอัตลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาของชาวไทใหญ่ในจังหวัดเชียงใหม่ พบว่า พระพุทธศาสนาได้มีส่วนร่วมในกระบวนการดำรงอัตลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาของชาวไทใหญ่ในจังหวัดเชียงใหม่ ไว้ได้เป็นอย่างดี จากการศึกษา พบว่า อัตลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาของชาวไทใหญ่ในจังหวัดเชียงใหม่ มี ๖ ด้าน ได้แก่ (1) ด้านศาสนธรรม (2) ด้านศาสนบุคคล (3) ด้านศาสนิกชน (4) ด้านศาสนสถาน (5) ด้านศาสนวัตถุ และ (6) ด้านศาสนาพิธี ซึ่งอัตลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาของชาวไทใหญ่ในจังหวัดเชียงใหม่ ทั้ง 6 ด้าน ที่กล่าวมาข้างต้นนี้ เมื่อนำมาวิเคราะห์กระบวนการดำรงอัตลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาของชาวไทใหญ่ในจังหวัดเชียงใหม่ พบว่า ชาวไทใหญ่ในจังหวัดเชียงใหม่ มี กระบวนการดำรงอัตลักษณ์ทางพระพุทธศาสนา 6 กระบวนการ ได้แก่ (1) กระบวนการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ของชาวไทใหญ่ (2) กระบวนการสร้างต้นแบบ (3) กระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้จากคนรุ่นเก่าสู่คนรุ่นใหม่ (4) กระบวนการเขียนตำราให้ความรู้ทางพระพุทธศาสนา และ (5) กระบวนการใช้สื่อและเทคโนโลยีสมัยใหม่ในการเผยแผ่หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

          This research aims at 3 objectives: 1) to study the faith in Buddhism of Tai people in Chiang Mai, 2) to study the identity of the traditions, rituals, beliefs in Buddhism of the Tai people in Chiang Mai, 3) to study the process in maintaining the Buddhist identity of the Tai people in Chiang Mai. It is a qualitative research which reports data by content analysis. Its results are that:

          1) Tai people in Chiang Mai, are full of a lot of faith in Buddhism, humble and playing respect for the Triple Gem. They conduct themselves  as the good Buddhists, They usually go to temple, make merit, pray, pay respect to monks, support Buddhism, renovate monasteries, foster monks and novices, believe in the law of Kamma, sin, merit, virtue and immoral, being merciful, sacrificial and harmonious to help each other in Buddhist important works as well.

             2) The identities of Tai people are connected with culture, traditions, rituals, and beliefs in Buddhism such as the 12 month traditions, also known as the Thai word “Heet  12”. If the world societies have changed by various factors such as tourist policy, social and economic aspects, the identity of the Tai people also have to gradually change by adaptation fitting to external society and cultures. They anyhow, are still retaining the essence of cultural identity.

          3) The process of maintaining the Buddhist identity of Tai  people in Chiang Mai is a mixture of Tai ethnic’s historical stories. They have their own cultures expressed in many forms through legends, songs, performing arts, traditions, rituals and beliefs those reflect their identities. In the present, their various ritual traditions have been revived and modified in a new way. They are given new meanings that are clearly reflecting the identity of the Tai people in a new context.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
5904205016 5904205016 21.93 MiB 10 29 มิ.ย. 2564 เวลา 07:27 น. ดาวน์โหลด