โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    รูปแบบการพัฒนาวิทยากรต้นแบบสันติภาพโดยพุทธสันติวิธี
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Model of Developing an Ideal Expert in Peace by Buddhist Peaceful Means
  • ผู้วิจัยพระปราโมทย์ วาทโกวิโท (พันธพัฒน์)
  • ที่ปรึกษา 1พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส (นิธิบุณยากร), รศ. ดร.
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.อุทัย สติมั่น
  • วันสำเร็จการศึกษา10/02/2019
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชาสันติศึกษา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/1167
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 19
  • จำนวนผู้เข้าชม 64

บทคัดย่อภาษาไทย

ดุษฎีนิพนธ์เล่มนี้เป็นการวิจัยแบบ Research and Development หรือ (R and D) เป็นการพัฒนารูปแบบเพื่อนำรูปแบบสู่การพัฒนาวิทยากรต้นแบบสันติภาพ ด้วยการทดลองเป็นการนำทฤษฏีทางพระพุทธศาสนาเถรวาทและศาสตร์สมัยใหม่มาบูรณาการ เพื่อพัฒนารูปแบบและทดลองหารูปแบบจนเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ภายใต้หัวข้อเรื่อง “รูปแบบการพัฒนาวิทยากรต้นแบบสันติภาพโดยพุทธสันติวิธี” มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ (1) เพื่อศึกษารูปแบบการพัฒนาวิทยากรต้นแบบตามศาสตร์สมัยใหม่และพระพุทธศาสนาเถรวาท  (2) เพื่อพัฒนารูปแบบวิทยากรต้นแบบสันติภาพโดยพุทธสันติวิธี (3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการพัฒนาวิทยากรต้นแบบสันติภาพโดยพุทธสันติวิธี 

ผลการศึกษาวิจัยพบว่า   

1) แนวคิดทฤษฎีการพัฒนาวิทยากรต้นแบบตามศาสตร์สมัยใหม่และพระพุทธศาสนาเถรวาท พบว่าวิทยากรตามศาสตร์สมัยใหม่ต้องเป็น “วิทยากรกระบวนการ วิทยากรกิจกรรมกลุ่ม  วิทยากรปฏิบัติการ วิทยากรโค้ชชิ่ง และวิทยากรโอดี โดยมุ่งการสร้างการมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ ด้วยการยึดผู้เข้ารับการฝึกอบรมเป็นศูนย์กลาง สร้างกิจกรรมให้เกิดการเรียนรู้ เป็นการเรียนรู้แบบฉลาดประยุกต์ สนุกมีสาระ เป็นการปรับศาสตร์เข้าหาพระพุทธศาสนา วิทยากรจะต้องสามารถทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย  ส่วนวิทยากรตามแนวทางพระพุทธศาสนาเถรวาทต้องยึดตาม “หลักการของวิทยากรต้นแบบ อุดมการณ์ของวิทยากรต้นแบบ วิธีการของวิทยากรต้นแบบ และสันติภาพของวิทยากรต้นแบบ” โดยวิทยากรทางพระพุทธศาสนาเถรวาทยึดแนวทางของพระพุทธเจ้าตามหลักของโอวาทปาติโมกข์  โดยมุ่งพัฒนาตนด้วยการทำจิตใจให้บริสุทธิ์มีความสงบเป็นต้นแบบด้านความประพฤติ  มีอุดมการณ์ด้วยความอดทนต่อความยากลำบาก และมีวิธีการสื่อสารธรรมไม่พูดร้าย ไม่ทำร้าย แม้บุคคลผู้มีความแตกต่างทางวัฒนธรรม

2) รูปแบบการพัฒนาวิทยากรต้นแบบสันติภาพโดยพุทธสันติวิธี  พบว่ารูปแบบการฝึกอบรมแบบธรรมะโอดีเป็นการเผยแผ่ธรรมตามแนวทางของพระพุทธเจ้า โดยรูปแบบการฝึกอบรมแบบธรรมะโอดีเป็น “การเรียนรู้ธรรมะผ่านกิจกรรม” ในลักษณะของพระวิทยากรธรรมะโอดี ซึ่งพระสงฆ์สามารถเป็นพระวิทยากรธรรมะโอดีได้ มีความเหมาะสม เพราะเป็นการนำหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาผ่านการประยุกต์เพื่อการเสริมสร้างองค์กรสันติสุข ด้วยกระบวนการใช้สื่อกิจกรรมประกอบการเรียนรู้ และใช้กระบวนการของกิจกรรมกลุ่มในการสร้างการมีส่วนร่วม  โดยเริ่มต้นจากการวินิจฉัยและวิเคราะห์องค์กร วิเคราะห์ผู้เข้ารับการฝึกอบรม  สร้างรูปแบบการฝึกอบรม  ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ รูปแบบการฝึกอบรมแบบธรรมะโอดีจึงเกิด D-H-A-M-M-A-O-D Model โดยมุ่งเน้นการเสริมสร้างองค์กรสันติสุข   ผลการศึกษาพบว่ารูปแบบการพัฒนาวิทยากรต้นแบบสันติภาพโดยพุทธสันติวิธี มีวิธีการพัฒนา 5 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านพระวิทยากรต้นแบบ 2) ด้านกระบวนการฝึกอบรมแบบธรรมะโอดี ๓) ด้านการพัฒนาองค์กร 4) ด้านเครื่องมือพุทธสันติวิธี       5) ด้านการสร้างสันติภายใน

3) นำเสนอรูปแบบการพัฒนาวิทยากรต้นแบบสันติภาพโดยพุทธสันติวิธี โดยผลการศึกษาพบว่ารูปแบบการพัฒนาวิทยากรต้นแบบสันติภาพโดยพุทธสันติวิธี หรือ รูปแบบการพัฒนาวิทยากรต้นแบบสันติภาพ ต้องปฏิบัติตามแนวทางของ K-U-M-S-A-N Model ประกอบด้วย “ความรู้ของวิทยากรต้นแบบ ความเข้าใจของวิทยากรต้นแบบ สติ-สันติของวิทยากรต้นแบบ     ทักษะของวิทยากรต้นแบบ ทัศนคติของวิทยากรต้นแบบ และการสร้างเครือข่ายของวิทยากรต้นแบบ” 

ผลจากการนำรูปแบบการพัฒนาวิทยากรต้นแบบสันติภาพโดยพุทธสันติวิธี  ทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง เป็นพระสงฆ์ จำนวน  41  รูป  พบว่า คุณลักษณะทั่วไปของผู้เข้าอบรม  ผู้เข้าอบรมมีการประเมินความรู้ ความเข้าใจ ของวิทยากรต้นแบบสันติภาพโดยพุทธสันติวิธี  หลังฝึกอบรมสูงกว่าก่อนฝึกอบรม  มีระดับนัยสำคัญทางสถิติ (P < .05) ทัศนคติของพระวิทยากรต้นแบบอยู่ระดับมากที่สุด ( x̄ = 4.45 , S.D. = .41) ระดับทัศนคติต่อการพัฒนาวิทยากรต้นแบบสันติภาพโดยพุทธสันติวิธี อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 65.85  ทักษะของพระวิทยากรต้นแบบอยู่ระดับมากที่สุด ( x̄ = 4.62 , S.D. = .46)  ระดับทักษะของพระวิทยากรต้นแบบเมื่อผ่านการอบรม    อยู่ในระดับสูง  ร้อยละ 80.49 ความพึงพอใจของพระวิทยากรต้นแบบอยู่ระดับมากที่สุด ( x̄ = 4.57 , S.D.= .54) ระดับความพึงพอใจส่วนใหญ่อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 65.85 

ดังนั้น ผู้วิจัยได้ค้นพบนวัตกรรมจากงานวิจัยสู่การรับใช้สังคม ส่งผลกระทบต่อองค์กร สังคม และพระพุทธศาสนาในทางที่ดี โดยมีรูปแบบในการพัฒนาวิทยากรต้นแบบสันติภาพโดยพุทธสันติวิธี หรือ รูปแบบการพัฒนาวิทยากรต้นแบบสันติภาพ เป็นองค์ความรู้ใหม่ของผู้วิจัยส่งผลให้เกิดการฝึกอบรมหลักสูตรระยะสั้นเพื่อตอบโจทย์มหาวิทยาลัย องค์กรและสังคมต่อไป

 

 

 

 

 

 

 

 

 

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

This dissertation is a Research and Development or (R and D) research which aims to develop a model leading to a Model of Developing an Ideal Expert in Peace through an experiment. It adopts the theoretical framework in Theravada Buddhism with modern science integration to develop a model and tests the model finding to get out of the most efficiency under the topic “A  Model of Developing an Ideal Expert in Peace  by Buddhist Peaceful Means”. There are 3 objectives (1) To study a model of developing an ideal expert according to the modern science and Theravada Buddhism, (2) To develop an ideal expert in Peace by Buddhist peaceful means, (3) To present a model of developing an ideal expert in Peace by Buddhist peaceful means.

The results of this research are:

1) The theoretical concept in developing can ideal expert according to modern science and Theravada Buddhism was found that modern sciences needed to be “process expert, group activity expert, practical expert, coaching expert, and OD expert” by emphasizing on the learning participation and trainee-centered, creating activities for learning, that needed to be a kind of an intelligently applied learning, enjoying plus benefit. This was how to adjust sciences towards Buddhism. The expert had to be able to turn difficulty into simplicity. For an expert in Theravada Buddhism, he/she had to follow “the principle of a model expert, an ideology of a model expert, the method of an ideal expert, and peace of an ideal expert”. In regards, an expert in Theravada Buddhism should follow the teaching of the Buddha in Ovada Patimokkha by emphasizing to self-develop with the purified mind, calmness, being the role model in behavior, ideology of tolerance to fight with difficulty, and possessing the dhamma communication method with no bad speech, no bad action, even people with cultural differences.

2) A  Model of Developing an Ideal Expert in Peace  by Buddhist Peaceful Means had been found that a model of training in Dhamma OD style was a dhamma propagation following the footprint of the Buddha. The Dhamma OD model training was “a learning through activities” in terms of the Dhamma OD expert monks in which the monks were suitably able to be the Dhamma OD experts because they brought the core teachings in Buddhism by applying to create the peaceful organization with the process of learning through activities and the group activity process in building the participation. This began with organizational analysis and diagnosis, trainee analysis, creating a model of trainee, designing learning activities, and then the D-H-A-M-M-A-O-D Model had been initiated by focusing on the peaceful organization building. The researcher found the results that A Model of Developing an Ideal Expert in Peace by Buddhist Peaceful Means had 5 development areas consisting of 1) a model expert monk, 2) Dhamma OD training process, 3) organizational development, 4) Buddhist peaceful means, 5) inner peace building.

3) To present A Model of Developing an Ideal Expert in Peace by Buddhist Peaceful Means, it was found that A Model of Developing an Ideal Dhamma OD Expert by Buddhist Peaceful Means or a model of developing an ideal peace expert had to follow the concept of K-U-M-S-A-N Model consisting of “knowledge of an ideal expert, understanding of an ideal expert, mindfulness-peace of an ideal expert, skill of an ideal expert, attitude of an ideal expert, and networking of an ideal expert”.

The experimental result of applying A Model of Developing an Ideal Expert in Peace by Buddhist Peaceful Means with the sampling group of 41 monks, it was found that the general characteristics of trainees, the trainees had been evaluated on knowledge, understanding of an ideal expert in Peace by Buddhist Peaceful Means after the training which showed a higher statistical significant than before the training (P < .05), attitude of an ideal expert monk was the highest of ( x̄ = 4.45 , S.D. = .41), attitude towards developing an ideal expert in Peace by Buddhist Peaceful Means was at high level percentage of 65.85, skill of an ideal expert monk was at the highest level of x̄ = 4.62 , S.D. = .46), skill of an ideal expert monk after the training was at high level percentage of 80.49, the satisfaction of an ideal expert monk was at the highest level (x̄ = 4.57 , S.D. = .54), most of satisfaction level was at high level percentage of 65.85.

Therefore, the researcher has discovered an innovation from research to the society serving which had an impact on organization, society, and Buddhism in a good way. A Model of Developing an Ideal Expert in Peace by Buddhist Peaceful Means or a model of developing an ideal peace expert was a new unit of knowledge of the researcher resulting in a short-term training course in order to answer the question raised by the university, organization, and the society onwards.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 19.07 MiB 19 1 ก.ค. 2564 เวลา 04:21 น. ดาวน์โหลด