-
ชื่อเรื่องภาษาไทยแนวทางการอนุรักษ์ป่าไม้อย่างยั่งยืนเชิงพุทธบูรณาการ
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษBuddhism-Integrated Approaches to Sustainable Conservation of Forest
- ผู้วิจัยพระครูพัชรกิตติโสภณ (วิเชียร กิตฺติคุโณ)
- ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.ประพันธ์ ศุภษร, ป.ธ.7
- ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.ตวงเพชร สมศรี
- วันสำเร็จการศึกษา09/11/2018
- ส่วนงานจัดการศึกษา:บัณฑิตวิทยาลัย
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/117
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 1,469
- จำนวนผู้เข้าชม 624
บทคัดย่อภาษาไทย
ดุษฎีนิพนธ์เรื่อง “แนวทางการอนุรักษ์ป่าไม้อย่างยั่งยืนเชิงพุทธบูรณาการ” มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดการอนุรักษ์ป่าไม้ตามศาสตร์พระราชาและสภาพปัญหาป่าชุมชนในเขตพื้นที่อำเภอบ้านกรวดและอำเภอประโคนชัยจังหวัดบุรีรัมย์2) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ป่าไม้ และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการอนุรักษ์ป่าไม้อย่างยั่งยืนเชิง
พุทธบูรณาการ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ นำเสนอแบบพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัย พบว่า
แนวคิดการอนุรักษ์ป่าไม้ตามศาสตร์พระราชาและสภาพปัญหาป่าชุมชนในเขตอำเภอบ้านกรวด อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ มีการนำศาสตร์พระราชาเกี่ยวกับอนุรักษ์ป่าไม้ การบริหารจัดการน้ำมาเป็นแนวทางในการอนุรักษ์ป่า สภาพปัญหามีการบุกรุกเพื่อที่ทำกินการหาของป่าและทำไม้เพื่อการค้าซึ่งมีการประนีประนอมอยู่บนพื้นฐานข้อตกลงของคณะกรรมการชุมชน
หลักพุทธธรรมที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ป่าไม้ ได้แก่ ไตรสิกขา ศีล 5 และหิริโอตตัปปะโดย ไตรสิกขา เป็นหลักการเชิงโครงสร้างให้มีการวางกฎกติกา วางแผนและมีปัญญากำกับให้ชุมชนปฏิบัติตามอย่างพอเหมาะ ศีล 5 เป็นหลักประกันชุมชนด้านชีวิต ทรัพย์สินและความซื่อสัตย์ต่อกันวางกรอบ ข้อตกลงร่วมกันไม่ให้เกิดปัญหาในการบุกรุกป่าและสร้างจิตสำนึกด้วยหิริโอตตัปปะ ไม่ฝ่าฝืนข้อห้ามของชุมชนเพื่อให้เกิดความยั่งยืนของชุมชนในการใช้ทรัพยากรป่าไม้ร่วมกัน
แนวทางการอนุรักษ์ป่าไม้อย่างยั่งยืนเชิงพุทธบูรณาการ มี 3 แนวทาง ดังนี้ (1) แนวทางอนุรักษ์ตามหลักไตรสิกขา โดยการนำศีล มาเป็นกรอบวางกฎระเบียบเพื่อให้ชุมชนได้ปฏิบัติอย่างพอเหมาะ นำสมาธิมาเสริมความมุ่งมั่น จดจ่อในการแก้ปัญหาและรักษาสภาพของป่าชุมชน นำปัญญามาเป็นหลักการคิดหาเหตุและสรุปผลของการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม (2) แนวทางอนุรักษ์ตามหลักศีล 5 โดยการวางกฎข้อตกลงของชุมชนไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักของป่า วางกฎกติกาในการใช้ป่าร่วมกันรักษาดูแลป่า ประสานแนวคิดจากหลักพุทธธรรมกับวิถีชุมชน ไม่กล่าวเท็จ ไม่รับจ้างตัดไม้ ไม่ตัดไม้มาหมักดองและหมั่นตรวจตราดูแลรักษาป่าชุมชน ปลูกป่าทดแทนเพื่อความยั่งยืนและ (3) แนวทางอนุรักษ์ตามหลักหิริโอตตัปปะ ด้วยการสร้างความตระหนักรู้ด้านความละอาย การห้ามจิตไม่ฝ่าฝืน ไม่ทำลายและละเว้นการกระทำสิ่งที่ไม่เหมาะสมกับชุมชนเพื่อการอนุรักษ์ป่าอย่างยั่งยืน
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The dissertation, entitled “Buddhism-integrated Approaches to Sustainable Conservation of Forest” has the following objectives: 1) to study the concepts of forest conversation according to King’s wisdoms and the current problems of community forests in Ban Kraudand Prakhonchai District, Buriram Province, 2) to study topics in Buddhadhamma related to forest conservation, 3) to propose a Buddhism-integrated approach to sustainable conservation of forest. This dissertation was a qualitative study and presented in an analytico-descriptive prose.
The study of the concepts of forest conversation according to King’s wisdoms and the current problems of community forests in Ban Kraud and Prakhonchai District, Buriram Province revealed that King’s wisdoms, especially those of water management, have been employed in the current forest conservation, and the current problems in the local forests involved illegal encroachment of forests for farmland, forest products, and timber harvesting. These problems are currently compromised and negotiated based on the agreement of the local community.
Buddhadhamma’s topics relevant to forest conservatioin include the Threefold Learning (Sikkhattaya), the Five Precepts (Panjasila), the Moral Fear and Shame (Hiri-Otappa). The Threefold Learning provides the conceptual structure for establishing rules, planning, providing wisdoms for a community to follow the agreed rules. The Five Precepts are a financial and vital assurance that everyone in the community will work together to find and adhere to the agreements in forest conservation. Finally, Moral Fear and Shame will create consciousness among people, so that they will not violate the agreement and work together toward sustainable use of forest resources.
Buddhism-integrated Approaches to Sustainable Conservation of Forest consist of three main approaches. First, “The Threefold-Learning Approach” employs the Precept (sila) as a framework for establishing rules and agreements, the Concentration (samadhi) as a way to fixate everyone on solving the problems and maintaining the condition of the forests, and the wisdom (pañña) as an analytical tool to find roots and concrete solutions for their problems. Second, “the Five-Precept Approach” dictates the guidelines for the conservation, in which people will not kill animals, steal forest product, lie, harvest timber for sale, or use woods for alcoholic beverages. They will also together come up with agreements that integrate Buddhadhamma with local traditions for sustainable uses and monitoring of the forest. Third, “The Moral Fear and Shame Approach” plants the consciousness within people’s mind to have same and fear for violating the rules, which leads to avoidance of wrong-doings in the forest conservation.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 8.5 MiB | 1,469 | 21 พ.ค. 2564 เวลา 16:59 น. | ดาวน์โหลด |