-
ชื่อเรื่องภาษาไทยแนวทางการพัฒนาการบริหารการจัดการหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล ของคณะสงฆ์ อำเภอสบปราบ จังหวัดลำปาง
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Guidelines for Developing the Administrative Management of Subdistrict Public Training Unit of the Sangha, Sop Prap District, Lampang Province
- ผู้วิจัยพระครูวิจารณ์ภัทรกิจ (ศราวุฒิ อิสิญาโณ)
- ที่ปรึกษา 1พระครูสุตชยาภรณ์, ผศ. ดร.
- ที่ปรึกษา 2ดร.สมจันทร์ ศรีปรัชยานนท์
- วันสำเร็จการศึกษา04/06/2021
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/1173
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 15
- จำนวนผู้เข้าชม 17
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยเรื่อง “แนวทางการพัฒนาการบริหารการจัดการหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลของคณะสงฆ์ อำเภอสบปราบ จังหวัดลำปาง” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาบทบาทหน้าที่ของพระสงฆ์ในการบริหารจัดการหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลของคณะสงฆ์ 2) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลของคณะสงฆ์อำเภอสบปราบ จังหวัดลำปาง 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลของคณะสงฆ์อำเภอสบปราบ จังหวัดลำปาง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่ใช้เครื่องมือ ได้แก่ การศึกษาข้อมูลเชิงเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการประชุมกลุ่มย่อย โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 20 รูป/คน เพื่อหาแนวทางการบริหารจัดการหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ผลการศึกษาวิจัยพบว่า
การบริหารจัดการหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลมีบทบาทและหน้าที่ ได้แก่ 1) บทบาทในการเป็นผู้นำทางด้านจิตวิญญาณและผู้นำทางด้านการพัฒนา เพื่อช่วยเหลือด้านต่างๆ 2) บทบาทด้านการอบรมสั่งสอนประชาชน 3) บทบาทด้านการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมทางด้านศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น 4) บทบาทด้านศาสนพิธีกรรม ที่เกี่ยวกับความเชื่อและวิถีชีวิตชุมชน และเป็นการบ่งบอกถึงอัตลักษณ์ของชุมชนได้อย่างแท้จริง
การบริหารจัดการหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล ได้แก่ 1. การส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและวัฒนธรรม เช่น โครงการอบรมและให้ความรู้ด้านคุณธรรมและจริยธรรมร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ 2) การจัดการด้านสุขภาพอนามัย การร่วมรณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษา
งดเหล้าในงานศพและงานบุญ 3) ด้านสัมมาชีพ การส่งเสริมอาชีพให้แก่ประชาชน 4) การจัดการด้านสันติสุข การร่วมมือกับผู้นำชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเป็นการหาแนวทางในการพัฒนาชุมชนทั้งด้านการปกครอง ด้านเศรษฐกิจ ด้านจิตใจ 5) การจัดการด้านการศึกษาสงเคราะห์ โดยมุ่งเน้นการศึกษาทางพระพุทธศาสนาในโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์และการสอนในโรงเรียน 6) การจัดการด้านสาธารณสงเคราะห์ การช่วยเหลือทางด้านสาธารณประโยชน์ สาธารณสมบัติ และเกื้อกูลประชาชน 7) การจัดการด้านความกตัญญูกตเวทิตาธรรม การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมเกี่ยวกับการมีความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ 8) การจัดการด้านสามัคคีธรรม การสร้างความเห็นที่ถูกต้องครรลองคลองธรรม ตามจารีตประเพณีและวัฒนธรรม สร้างความสามัคคีในครอบครัว ชุมชน และสังคม
แนวทางการบริหารจัดการหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลของคณะสงฆ์ ได้แก่
1. การให้ความรู้ทางด้านพระพุทธศาสนาและความรู้ที่มีความสำคัญต่อการสงเคราะห์และช่วยเหลือชุมชน 2. การสร้างความเข้าใจระหว่างพระสงฆ์ ชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อศึกษาประเด็นปัญหาร่วมกัน การวิเคราะห์สาเหตุและปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติ 3. การมีส่วนร่วม เพื่อช่วยเหลือและขับเคลื่อนกิจกรรมด้วยการทำข้อตกลงร่วมกัน (MOU) ระหว่างหน่วยงานต่างๆ กับคณะสงฆ์ 4. การติดต่อประสานงาน การทำบันทึกข้อความ หนังสือเชิญร่วมกิจกรรม 5. การจัดสรรงบประมาณ/การหาแหล่งงบประมาณ การกำหนดทิศทางและการบริหารงาน โดยควรมีการจัดหางบประมาณได้ 2 ลักษณะ ได้แก่ 1) การยื่นคำร้องของบประมาณสนับสนุนจากหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่น 2) การจัดกิจกรรมเพื่อระดมทุนจากพิธีกรรมและวัฒนธรรมในท้องถิ่นด้วยการสะสมทุนทรัพย์
ดังนั้น การบริหารจัดการของหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลของคณะสงฆ์ จะต้องพัฒนาทรัพยากรบุคลากร เช่น พระสงฆ์ ชุมชน และหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่น สร้างความเข้าใจตรงกัน และการส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วม เพื่อระดับความคิด การวางแผนเกี่ยวกับขั้นตอน วิธีการ และการหาแหล่งงบประมาณที่จะส่งผลต่อการบริหารจัดการของหน่วยอบรมประชาชนยังประโยชน์สุข สร้างสันติสุขแก่บุคคล สังคมและประเทศชาติต่อไป
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The thesis entitled “The Guidelines for Developing the Administrative Management of Subdistrict Public Training Unit of the Sangha, Sop Prap District, Lampang Province” consisted of the following objectives: 1) to study the roles and duties of monks in the administrative management of subdistrict public training unit of the Sangha; 2) to study the administrative management of subdistrict public training unit of the Sangha, Sop Prap District, Lampang Province; and 3) to propose the guidelines for developing the administrative management of subdistrict public training unit of the Sangha, Sop Prap District, Lampang Province. The study was qualitative research by employing the research instruments as follows: studying from documents, in-depth interviews, and focus group discussion with 20 key informants in order to find the guidelines to manage the subdistrict public training unit to be more efficient.
The results of the study are as follows:
The administrative management of subdistrict public training unit has the following roles and duties: 1) the roles in being the spiritual leaders as well as development leader in order to assist in various fields; 2) the roles in providing training for the pubic; 3) the roles in conserving and promoting the local arts and culture; and 4) the roles in religious rituals related to beliefs and the way of life of the community as well as the true indication of the community’s identity.
The administrative management of subdistrict public training unit can be divided in the following aspects: 1) the promotion of morality, ethics, and culture such as the project of training and providing knowledge on morality and ethics in collaboration with various sectors in the area; 2) health and hygiene by organizing a campaign to stop drinking alcohol during the Buddhist Lent Day and to abstain from alcohol at funeral and merit-making ceremonies; 3) livelihood through career promotion for the people; 4) the promotion of peace by collaborating with community leaders and related agencies to exchange opinions and finding the ways for developing the community whether in government, economics, and mental aspect; 5) education welfare by focusing on studying Buddhism in Buddhist Sunday Schools and the teaching in school; 6) public welfare with an aim for the public welfare, public property, and support the people; 7) the promotion of Kataññūkatavedī (gratitude) by cultivating the morality and ethics on having gratitude for the benefactors; and 8) the promotion of Sāmaggī (unity) by cultivating the right and decent opinions according to the tradition and culture as well as cultivating unity among family, communities, and society.
The guidelines for developing the administrative management of subdistrict public training unit of the Sangha consisted as follows: 1) providing knowledge on Buddhism and the knowledge that is important to helping and supporting communities; 2) building understanding among the Sangha, communities, and local government organizations by exchanging learning in order to find the common problems, including analyzing the causes and factors affecting the implementation; 3) participation in order to help and drive the activities through the memorandum of understanding (MoU) between each agency and the Sangha; 4) coordination, making a memo, invitation letter for joining activities; and 5) the allocation of budget and finding the budget source in which the direction determination and administration should have two types on finding budget as follows: 4.1) submitting a request for budget support from local government organizations and 4.2) organizing activities to raise funds from local rituals and culture through capital accumulation.
Therefore, the administrative management of subdistrict public training unit of the Sangha must develop human resources such as monks, communities, and the local government organizations by building mutual understanding and promoting participation in order to brainstorm, plan about the procedures and methods, finding budget. All of which will bring benefits and peace to individuals, society, and the country.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
6221201007 | 6221201007 | 4.29 MiB | 15 | 1 ก.ค. 2564 เวลา 04:59 น. | ดาวน์โหลด |