-
ชื่อเรื่องภาษาไทยรูปแบบการบริหารจัดการสวัสดิภาพแก่สุนัขจรจัดตามวิถีพุทธภายในวัดเวฬุวนาราม อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Model of Buddhist Welfare Management for Stray Dogs Inside Wat Weruwanaram, Mae Tha District, Lampang Province
- ผู้วิจัยพระสุพิน สุภโณ (พงษ์วิเศษ)
- ที่ปรึกษา 1ดร.ดิลก บุญอิ่ม
- ที่ปรึกษา 2พระอธิการสุชาติ จนฺทสโร, ดร.
- วันสำเร็จการศึกษา04/06/2021
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/1179
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 16
- จำนวนผู้เข้าชม 20
บทคัดย่อภาษาไทย
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัญหาการบริหารจัดการสวัสดิภาพแก่สุนัขจรจัด ภายในวัดเวฬุวนาราม อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง 2) เพื่อศึกษาวิธีการบริหารจัดการสวัสดิภาพแก่สุนัขจรจัดตามวิถีพุทธ ภายในวัดเวฬุวนาราม อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการบริหารจัดการสวัสดิภาพแก่สุนัขจรจัดตามวิถีพุทธ ภายในวัดเวฬุวนาราม อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบผสมผสาน ทั้งเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ เป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และแบบสอบถามปลายปิด กลุ่มผู้ให้สัมภาษณ์ ได้แก่ พระภิกษุ กรรมการวัด และบุคคลผู้เลี้ยงดูสุนัขจรจัด วัดเวฬุวนาราม อำเภอแม่ จังหวัดลำปาง จำนวน 8 รูป/คน และกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ ประชาชนที่มาบริจาคเงินและอาหารเพื่อเลี้ยงดูสุนัขจรจัดวัดเวฬุวนาราม อำเภอแม่ จังหวัดลำปาง จำนวน 123 คน สถิตที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (m) และส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน (s)
ผลการวิจัย พบว่า
ปัญหาการบริหารจัดการสวัสดิภาพแก่สุนัขจรจัด: กลุ่มผู้ให้สัมภาษณ์ เห็นว่า สถานที่พักพิงสุนัขในปัจจุบัน มีสภาพอาคารและสถานที่พออยู่ได้ในจำนวน 400 ตัว ค่อนข้างแออัด ไม่เพียงพอให้สุนัขจรจัดพักพิง งบประมาณในการก่อสร้างกรงไม่เพียงพอต่อจำนวนสุนัข หน่วยงานภาครัฐควรเข้าไปช่วยดูแลเรื่องงบประมาณ ปัจจุบัน สุนัขมีจำนวนมาก หากหน่วยงานของภาครัฐมาช่วยดูแลอย่างจริงจัง จะทำให้สุขภาพสุนัขดียิ่งขึ้น ทางวัดยังขาดแคลนอุปกรณ์ที่จำเป็นในการดำรงชีวิตอย่างสุขสบายของสุนัข ส่วนอาหาร วัดจัดสุนัขจรจัดให้ได้กินอาหารตามงบประมาณที่มีอยู่ในแต่ละมื้อ อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ผู้เลี้ยงดูสุนัขได้ปฏิบัติต่อสุนัขทุกตัวด้วยความเมตตากรุณา
วิธีการบริหารจัดการสวัสดิภาพแก่สุนัขจรจัดตามวิถีพุทธ: ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนให้ญ่มีความเห็นว่า ชาวพุทธไม่ควรแก้ปัญหาด้วยการทำลายชีวิตสุนัขจรจัด (m= 4.35, s=1.04) บุคคล ผู้เลี้ยงสุนัขจรจัด ควรนำสุนัขไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าตามคำแนะนำของสัตว์แพทย์ (m=4.48, s=1.1) สัตว์แพทย์ที่รับผิดชอบควรจัดบริการฉีดวัคซีน ฉีดยาคุมกำเนิด และทำหมันสุนัขจรจัดฟรี (m=4.55, s=1.19 และควรมีการจัดระเบียบสุนัขโดยการขึ้นทะเบียนสุนัขในสถานสงเคราะห์ (m=4.5, s=1.31) ความคิดเห็นเหล่านี้ อยู่ในระดับมากที่สุด
รูปแบบการบริหารจัดการสวัสดิภาพแก่สุนัขจรจัดตามวิถีพุทธ: สุนัขจรจัดสมควรได้รับการเหลียวแลเอาใจใส่ วัดควรจัดที่พักพิงให้กับสุนัขจรจัดอย่างเพียงพอ ควรเพิ่มบุคคลที่รับผิดชอบในการจัดการสถานพักพิงสุนัขจรจัดให้เพียงพอกับจำนวนสุนัขจรจัด ในอัตราส่วน 1 คน ต่อสุนัขจรจัด 100 ตัว โดยประสานงานกับหน่วยงานของรัฐให้เข้าไปช่วยดูแลเรื่องงบประมาณ เพื่อแบ่งเบาภาระของวัด ควรมีการตรวจสุขภาพสุนัขที่เข้ามาใหม่ทุกตัว โดยขอให้หน่วยงานภาครัฐช่วยดูแลอย่างจริงจัง ควรจัดให้มีการดูแล ตรวจ และติดตามสุนัขทุกตัวให้มีความปลอดภัย ควรจัดสถานที่พักพิงสำหรับสุนัขจรจัดให้สะอาด ควรให้อาหารแก่สุนัขอย่างเพียงพอ และควรมีความร่วมมือกับชุมชนต่างๆ ในการจัดหางบประมาณและอาหารสำหรับเลี้ยงสุนัขจรจัด
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The thesis consisted of the following objectives: 1) to study problems about the welfare management for stray dogs inside Wat Weruwanaram, Mae Tha District, Lampang Province; 2) to study the Buddhist welfare management for stray dogs inside Wat Weruwanaram, Mae Tha District, Lampang Province; and 3) to propose a model of Buddhist welfare management for stray dogs inside Wat Weruwanaram, Mae Tha District, Lampang Province. The study was a mixed-method research of both qualitative and quantitative methods. The research instruments involved semi-structured interview and closed-ended questions.The interviewee group consisted of monks, temple committee, and stray dog caretakers at Wat Weruwanaram, in a total of 8 persons. The group of questionnaire respondents consisted of people who donated money and food for stray dogs at Wat Weruwanaram, in a total of 123 persons. The statistics used were mean (m) and standard deviation (s).
The results of the research are as follows:
From studying problems about the welfare management for stray dogs, the interviewee group reveals that the current dog shelter has a building and place that can accommodate only 400 dogs which are overcrowded and insufficient as the budget for constructing the cages is insufficient for the number of dogs.In this regard, the government agencies should take part in supervising the budget. If the government agencies take part in this issue seriously, the well-being of dogs will be improved. Moreover, the temple also lacks the necessary equipment to facilitate the dogs.As for food, the temple can only provide food according to the limited budget. However, the stray dog caretakers treat each dog based on loving-kindness and compassion.
From studying the Buddhist welfare management for stray dogs, it is found that the interviewee group has opinions as follows: Buddhists should not destroy the lives of stray dogs as the way to solve problems (m = 4.35, s = 1.04); dog stray caretakers should get rabies vaccines for the dogs as recommended by the vets (m = 4.48, s = 1.1); the responsible vets should provide stray dogs with free vaccination, contraceptive injection, and sterilization (m = 4.55, s = 1.19); and all dogs should be organized through a registration system at the shelter (m = 4.5, s = 1.31). All of which have the highest level.
From studying a model of Buddhist welfare management for stray dogs, it is found as follows: stray dogs should be paid attention and taken care of; the temple should provide sufficient shelter for stray dogs; more caretakers should be hired to manage sufficient shelter for stray dogs to the ratio of 1 person per 100 stray dogs by coordinating with the government agencies to take part in budget issue in order to alleviate the burden of the temple; all new stray dogs should be provided with health checks by requesting the government agencies to take part in this issue seriously; all stray dogs should be taken care of, examined, and followed up to guarantee safety; the dog shelter should be clean; all stray dogs should be provided sufficient food; and a collaboration with various communities should be made in order to provide budget and good for stray dogs.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
6121201001 | 6121201001 | 2.81 MiB | 16 | 1 ก.ค. 2564 เวลา 06:08 น. | ดาวน์โหลด |