โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    ศึกษาวิเคราะห์กรรมในคัมภีร์พระพุทธศาสนา
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAn Analytical Study of Kamma in Buddhist Scriptures
  • ผู้วิจัยนายเทวินทร์ เหล็งศักดิ์ดา
  • ที่ปรึกษา 1พระมหายุทธนา นรเชฏฺโฐ, ดร.
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.สุเทพ พรมเลิศ
  • วันสำเร็จการศึกษา25/03/2019
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาพระไตรปิฎกศึกษา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/1187
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 121

บทคัดย่อภาษาไทย

                   วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาโครงสร้างและเนื้อหาของกัมมนิทานสูตร 2) เพื่อศึกษากรรมที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนา 3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์สาเหตุของกรรมที่ปรากฏในกัมมนิทานสูตร การศึกษาวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยรวบรวมเรียบเรียงข้อมูลจากเอกสาร วิเคราะห์ และนำผลการวิจัยมานำเสนอด้วยการพรรณนาวิเคราะห์      ผลการศึกษาวิจัย พบว่า

                 กัมมนิทานสูตร เป็นพระสูตรที่ปรากฏในคัมภีร์อังคุตตนิกาย ทสกนิบาต เล่ม ๒๔ ข้อ ๑๗๔  หน้า ๓๑๖ โดยกัมมนิทานสูตรเป็นพระสูตรลำดับที่ 8 ของ 10 พระสูตรของชาณุสโสณิวรรค เนื้อหาสาระที่สำคัญจะกล่าวถึงเรื่องของกรรมเกิดขึ้นจากสาเหตุจากการฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติผิดในกาม การกล่าวคำเท็จ การพูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ ความโลภอยากได้ของคนอื่น ความพยาบาท และความเห็นผิดตามทำนองคลองธรรม สาเหตุมาจากกิเลส 3 ประการ คือ โลภะ โทสะ และโมหะ ที่เป็นฝ่ายอกุศลกรรมเป็นต้นเหตุด้วยการกระทำทางไตรทวาร

             กรรม หมายถึง การ กิจ การงานหรือการกระทำที่เกิดขึ้นจากการกระทำตนเอง เกิดขึ้นมาจากโลภะ โทสะ และโมหะ โดยมีเจตนาเป็นตัวหลักในการกระทำซึ่งมีทั้งกรรมดีและกรรมไม่ดี กรรมในคัมภีร์พระพุทธศาสนา มีทั้งกุศลกรรมและอกุศลกรรม มีทั้งกรรมดำและกรรมขาว และในอรรถกถาได้ แบ่งกรรมออกเป็น 12 อย่าง ได้แก่ ชนกกรรม อุปัตถัมภกกรรม อุปปีฬกกรรม อุปฆาตกรรม ครุกรรม อาจิณณกรรมหรือพหุลกรรม อาสันนกรรม กตัตตากรรม ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม อุปัชชเวทนียกรรม อปราปรเวทนียกรรม และอโหสิกรรม กรรมมีบทบาทและหน้าที่ 4 ประการ ได้แก่ มีกรรมเป็นของตน     มีกรรมเป็นแดนเกิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์พี่น้อง และมีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย

             เมื่อวิเคราะห์กรรมกับการดำเนินชีวิตแล้ว พบว่า กรรมในพระพุทธศาสนานั้นเกิดจาก    ความเชื่อเรื่องบุญบาป กรรมกับความเชื่อที่เป็นมงคล กรรมกับความประสงค์ในผลสำเร็จด้วยหลักธรรมในอิทธิบาท 4 กรรมกับการบรรลุธรรมในพระพุทธศาสนา และกรรมกับการดำเนินชีวิตจะก่อให้เกิดประโยชน์กับตนเองก็ด้วยการศึกษาในเรื่องของกรรมและผลของกรรม

 

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

                  This thesis has three objectives, 1) to study of the structure and issues of Kammanidãnasutta, 2) to study of Kamma appearing in Buddhist Scriptures, and       3) to analytical study of the cause of Kamma appearing in Kammanidãnasutta. This is the qualitative research which gathers data from the documents, analysis, and to lead the result of research present with the descriptive analysis. The result of study found that:-

             It found that Kammanidãnasutta is in the Añguttara Nikãya, Dasakanipãta Book of ten, and number 174. It is the number eight of the ten in the Jãnussonivagga, the main point is stated to the Kamma, and it is the cause of killing, stealing, sexual misconduct, false speech, malicious speech, harsh speech, gossip, covetousness, ill will, and wrong view. These are caused by the three defilements; the greed, hatred, and delusion which are the unwholesome course of action.

             Kamma means duty, doing, and working or acting which is from their action, it is the causes of the greed, hatred, and delusion. The volition is an important thing for action both good and bad. Kamma in Buddhist Scriptures has both good and bad action, dark and bright kamma. In Atthakã the kamma is devided into 12 kinds; the classification according to function, e.g., Reproductive kamma (janaka-kamma), Supportive kamma (upathambhaka-kamma), Obstructive or counteractive kamma (upapîaka-kamma), Destructive kamma (upaghãtaka-kamma), the classification according to function the order of ripening, e.g., Weighty kamma (garuka-kamma), Proximate kamma (asanna-kamma), Habitual kamma (acinna-kamma), and Reserve or cumulative kamma (katattã-kamma), the classification according to time of ripening or taking effect, e.g., Immediately effective kamma (ditthadhammavedanîya-kamma), Subsequently effective kamma (upapajjavedanîya-kamma), Indefinitely effective kamma (aparãpariyave danîya-kamma), and Ineffective kamma (ahosi-kamma). There are four roles and functions of Kamma; namely all living beings are the owners of their actions, they originate from their actions, they are related through their actions, and they have their actions as their refuge.

             The analysis of Kamma and the way of living found that, Kamma in Buddhism is from the belief in good or bad, Kamma and belief in auspicious thing, Kamma and the four paths of accomplishment. Kamma and the way of living will be the benefit to oneself by studying on the Kamma (action) and the result of Kamma.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ