โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    ศึกษาหลักปฏิบัติธรรมของพระวิปัสสนาจารย์ที่มีผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของพุทธศาสนิกชนในเขตกรุงเทพมหานคร
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Study of Meditation Practice of Vipassana Teachers Affecting the Development of Buddhists’ Quality of Life in Bangkok
  • ผู้วิจัยนายศักดา เมืองไพศาล
  • ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.ประยูร สุยะใจ
  • ที่ปรึกษา 2พระครูสังฆรักษ์เอกภัทร อภิฉนฺโท, รศ. ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา31/05/2021
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/1193
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 15
  • จำนวนผู้เข้าชม 20

บทคัดย่อภาษาไทย

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์สภาพปรากฏการณ์หลักการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเถรวาทในประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาหลักปฏิบัติธรรมของพระวิปัสสนาจารย์ที่มีผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของพุทธศาสนิกชน 3) เพื่อเสนอหลักปฏิบัติธรรมของพระวิปัสสนาจารย์ที่มีผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของพุทธศาสนิกชน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ  โดยศึกษาทั้งเอกสาร และภาคสนาม พร้อมกับการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยมีกลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย    (1) กลุ่มพระภิกษุสงฆ์ และ (2) กลุ่มพุทธศาสนิกชน

ผลการวิจัยพบว่า พุทธศาสนิกชนมีความศรัทธาต่อพระวิปัสสนาจารย์ในอดีตมาอย่างยาวนานและต่อเนื่อง ตั้งแต่เริ่มมีพระพุทธศาสนาเข้ามาสู่ประเทศไทย พุทธศาสนิกชนมีหน้าที่พึงปฏิบัติต่อพระพุทธศาสนา ด้วยการเอาใจใส่ ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา เกื้อกูลพระสงฆ์ เจริญพร้อมด้วย ศีล สมาธิ ภาวนา เพื่อความสุข สงบสมบูรณ์แห่งชีวิต โดยการมองให้เห็นตามความเป็นจริงและแสดงออกได้ตามการรับรู้ เป้าหมายและการให้คุณค่า รวมทั้งการตระหนักรู้ด้วยตนเองต่อความสุขและความพึงพอใจในชีวิต  คุณภาพชีวิตจึงมีสภาพที่ไม่หยุดนิ่งโดยจะเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาในการให้คุณค่าและความรู้สึก ไปในทิศทางที่ดีและเจริญยิ่งขึ้น

จากบันทึกคำปรารภของหลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม และพระมหาปิ่น ปัญญาพโล  ได้กล่าวถึง แบบถึงพระไตรสรณคมน์อย่างถูกวิธี รวมทั้งยืนยันถึงประโยชน์ของการทำสมาธิภาวนา  ไว้ว่านอกจากนั่งสมาธิภาวนาแล้วไม่มีวิธีอื่นจะพึงแก้ได้ เพราะเหตุว่า การนั่งสมาธิ ภาวนานี้        มีอานิสงส์มาก เป็นวิธีแก้จิตที่บาปให้กับเป็นบุญได้ ตลอดแก้จิตที่เป็นโลกีย์ ให้เป็นโลกุตตรได้ เมื่อแก้จิตให้บริสุทธิ์แล้ว บาปอกุศลก็หลุดหายไปเอง อุทาหรณ์ข้อนี้พึงเห็นองคุลีมาลเป็นตัวอย่าง” หากพุทธศาสนิกชนนำไปปฏิบัติ ย่อมส่งผลให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นอย่างแน่นอน  ทั้งนี้ การปฏิบัติตามแนวทางการปฏิบัติธรรมของพระวิปัสสนาจารย์ อันได้แก่ หลักไตรสิกขา 3 สติปัฏฐาน 4 เป็นเบื้องต้น ย่อมส่งผลเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี อีกทั้ง ยังไม่ก่อให้เกิดอุปสรรคแต่อย่างใด หากแต่อุปสรรคที่เกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติธรรม คือการขาดความเพียรและการจัดสรรเวลา รวมทั้งความพร้อมทางด้านจิตใจ อย่างไรก็ตาม สถานปฏิบัติธรรมควรมีลักษณะที่ สัปปายะ เหมาะแก่การปฏิบัติธรรม และพระวิปัสสนาจารย์ ที่จะมาชี้นำแนวทางการปฏิบัติธรรม ก็ควรมีคุณสมบัติเหมาะสมกับการเป็นผู้สอนเช่นเดียวกับพระสุปฏิปันโน

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

The thesis entitled “A Study of Meditation Practice of Vipassana Teachers Affecting the Development of Buddhists' Quality of Life in Bangkok” consisted of the following objectives: 1) to study and analyze the phenomena and principles of disseminating Theravada Buddhism in Thailand; 2) to study the meditation practice of Vipassana teachers affecting the development of Buddhists’ quality of life; and 3) to present the meditation practice of Vipassana teachers affecting the development of Buddhists’ quality of life. The study applied a qualitative research by studying documents, field study, and in-depth interview with the target group consisting of monks and Buddhist lay people.

From the study, it is found that Buddhists have been continuously faithful to many Vipassana teachers in the past for a long time since the emergence of Buddhism in Thailand. Buddhists have duties towards Buddhism through paying attention and maintaining Buddhism, helping monks and cultivating their precepts, concentration, and development in order to achieve happiness and peace in life. Through Buddhism, they are trained to see the reality of how things really are, realize their goals and values, as well as having self-awareness for their happiness and satisfaction in life. The quality of life is, therefore, in a state that does not stand still and changes over time. The life values should be in a better direction and more prosperous.

The foreword of Luangpu Singh Khantayāgamo and Phramaha Pin Paññābalo mentions the practice of Tisaraa (the threefold refuge) in a correct way and confirms the benefits of samādhi-bhāvanā (concentration development) as follows, “There is no other way to solve an unwholesome mind except meditation practice. There are many advantages to meditation practice and one of them is to change an unwholesome mind into a wholesome mind, as well as changing a mundane mind into a supramundane mind. When having purified mind, all evils will disappear, as in the case of Agulimāla”. If Buddhists practice accordingly, their quality of life will be improved. The guidelines for meditation practice of Vipassana teachers are Trisikkhā (the threefold training), Satipaṭṭhāna (the four foundations of mindfulness), etc. All of these will also improve the quality of life and will not cause any problem. The only obstacles occurred to the practitioners will be the lack of effort and allocation of time, including mental problems. However, the place for meditation practice should be sappāya, that is, suitable for the practice. The Vipassana teachers who will guide the way of meditation practice should have the qualifications suitable for being a teacher the same way as Phra Supatipanno. 

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
5901203004 5901203004 4.84 MiB 15 1 ก.ค. 2564 เวลา 07:19 น. ดาวน์โหลด