-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการปฏิบัติตนระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างในสิงคาลกสูตร
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษSelf-Practices of Employers and Employees in Singalaka Sutta
- ผู้วิจัยนายสามารถ กุมภีพงษ์
- ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.โยตะ ชัยวรมันกุล
- ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.ธวัช หอมทวนลม
- วันสำเร็จการศึกษา31/03/2001
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/1204
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 11
- จำนวนผู้เข้าชม 15
บทคัดย่อภาษาไทย
งานวิจัยเรื่อง “การปฏิบัติตนระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างตามหลักทิศหกในสิงคาลกสูตร” วัตถุประสงค์ดังนี้ เพื่อศึกษาการปฏิบัติตนระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างตามแนวทางพระพุทธศาสนา, เพื่อเปรียบเทียบลักษณะวิธีการ ปฏิบัติตนระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง ในสิงคาลกสูตร และเพื่อศึกษาความสอดคล้องของ การปฏิบัติตนระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง ในสิงคาลกสูตร ซึ่งผู้วิจัยได้กำหนดวิธีการดำเนินวิจัย ดังนี้
ผู้วิจัยได้กำหนดวิธีการวิจัยแบบ การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้การเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) เพื่อสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญหลัก 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่ 1 ตัวแทนของบริษัท ได้แก่ เจ้าของบริษัท หัวหน้าแผนกที่ปกครองพนักงาน เปรียบเสมือนเป็นนายจ้าง กลุ่มที่ 2 ตัวแทนของบรัษัท ได้แก่ หัวหน้าแผนกที่รับคำสั่งจากเจ้าของบริษัท พนักงานที่รับคำสั่งจากหัวหน้าแผนก เปรียบเสมือนเป็นลูกจ้าง จำนวนประมาณ 10 ท่าน แบ่งเป็น 5 บริษัท บริษัทละ 2 ท่าน
แยกออกเป็น กลุ่มนายจ้าง 1 ท่าน และ กลุ่มลูกจ้าง 1 ท่าน และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม
(Non-participant Observation) โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลแบบอรรถาธิบายและพรรณนาความ วิเคราะห์ลักษณะปัญหาจากเอกสาร จากการสัมภาษณ์ และงานวิจัยที่เกี่ยวกับประกอบด้วย
1) รวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง 2) จัดลำดับข้อมูล 3) จากการสัมภาษณ์ 4) นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เนื้อหาตามประเด็น 5) สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
ผลการวิเคราะห์ พบว่า
1) การวิเคราะห์การปฏิบัติตนระหว่างนายจ้างและลูกจ้างตามหลักทิศหกในสิงคาลกสูตร พบว่าการกำหนดอริยวินัยเพื่อให้แต่ละคนประพฤติปฏิบัติหน้าที่ของตน นับว่าเป็นกลวิธีในการสร้างเครือข่ายคนดีอย่างเป็นระบบที่ชาญฉลาดยิ่งคือใช้คนดีร่วมสร้างคนดี, การชี้เป้าหมายที่ชัดเจน ช่วยให้ลูกน้องมีแนวทางที่ชัดเจนเช่นกันในการสร้างสรรค์ผลงานที่ดีที่สุด และเป็นประโยชน์ต่อบริษัท, เจ้านายที่ดีต้องให้ลูกน้องได้พูดคุยและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของตนเองได้ ซึ่งข้อดีของการเปิดโอกาสให้ลูกน้องได้แสดงความคิดเห็นนั้นจะช่วยให้รูปแบบการทำงาน
2) การวิเคราะห์การปฏิบัติตนระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างตามแนวทาง พระพุทธศาสนาจากการสัมภาษณ์ พบว่า การปฏิบัติหน้าที่ การตรงต่อเวลา การเน้นงานให้ตามความเหมาะสม ฝึกอบรม เป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทของแต่ละคนที่ได้รับไว้ ถ้าในแง่ของพระพุทธศาสนา
เป็นการปฏิบัติหน้าที่อันชอบธรรมด้วย กาย วาจา ใจ ปราศจากอคติ เข้าใจหลักการ รู้จักประโยชน์ การประมาณตนเอง พอประมาณ รู้จักกาลเทศะ รู้จักคนทั่วไปเมื่อคนในบริษัทขอคำแนะนำ และเป็นคนที่รู้จักตนเอง
3) การวิเคราะห์เปรียบเทียบการปฏิบัติตนระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างในทิศ 6 ตามสิงคาลกสูตร พบว่า การทำงานของนายจ้างและลูกจ้างนั้น เกิดจากการที่ได้ร่วมกันคิด แก้ปัญหาในการส่งเสริมนายจ้างและลูกจ้างให้มีโอกาสร่วมงานและสานสัมพันธ์กัน ถ้ากล่าวถึงในทางศาสนาพุทธจะตรงกับ การกำหนดอริยวินัยของแต่ละบุคคลด้วยตนเอง เพื่อความสงบเรียบร้อย มีความสุข เกิดความเจริญก้าวหน้า และมีความมั่นคงในชีวิต
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
Research on "Self-Practices of Employers and Employees in Singalaka Sutta" The objectives: To study the behavior between employers and employees according to Buddhism, to compare methods Self-practices between employers and employees in Singalaka Sutta and to study the consistency of conduct between employers and employees in Singalaka Sutta in which the researcher has determined the research method as follows
To do this research, the researcher aimed to study the behavior of employers and employees according to the six directions in Singalaka Sutta. Qualitative Research uses data collection through in-depth interviews to obtain information that will contribute to achieving research objectives. The research model was determined by qualitative research. The data was collected by using in-depth interview with key informants to be consistent with the objectives. To study the behavior between employers and employees according to Buddhism, to compare methods Behave between employer and employee in Singalaka Sutta and to study the consistency of Conduct between employers and employees in Singalaka Sutta, there are two groups of key informants: Group 1, the representative of the company is the owner of the company. Head of the department that governs the employees as a second group of employers, representatives of the company are department heads who receive orders from the company owners. Employees who receive orders from the department head It is like being about 10 employees, divided into 5 companies, 2 companies per company, separated into 1 employer and 1 employee group (Non-participant Observation) using analysis of expository data and describing the Analyze the nature of the problem from the document From the interview And related research work consists of 1) collecting data from related documents 2) ranking data 3) from interviews 4) Use the obtained information to analyze the content according to the issue 5) Summarize results, discussion, results and recommendations.
The research results were found that:
1) Analysis of the essence of behavior of the employers and the employees found that the work of the employers and the employees agreed. Or may agree to rest periodically Yes, but in total must not be less than 1 hour / day, annual public holidays if a traditional holiday falls on a weekly holiday, a substitute holiday shall be closed. Traditions on working days, working on holidays, may be performed by the employees with prior consent from time to time, may or as an emergency, may work on holidays, and the employee must make a clear report of the leave. Along with showing relevant evidence to the employer not less than 7 days in advance of the leave
2) Analysis of the behavior of employers and employees according to the six principles in in Singalaka Sutta. Found that the noble discipline for each person to perform their duties. It is a very clever strategy for creating a network of good people, namely, using good people to create good people, clearly identifying goals. It also helps employees have clear guidelines for creating the best results. And beneficial to the company, a good boss must allow his employees to talk and exchange their opinions. The advantages of allowing employees to express their opinions will help the work style.
3) Analysis of behavior between employers and employees according to the guidelines Buddhism, from interviews, found that Punctuality focusing on the job as appropriate, training is performed by the assigned role of each individual. If in terms of Buddhism It is the performance of righteous duties with body, speech and mind without prejudice and understanding principles, know the benefits Modest self-estimation, know the time get to know people when people in the company ask for advice. And a person who knows himself
4) Comparative analysis of behavior between the employer and the employees in the sixth direction according to the Singalaka Sutta shows that the work of the employers and the employees, caused by having shared thoughts Solve problems in promoting employers and employees to have opportunities to work and build relationships. If mentioned in Buddhism, it corresponds to self-determination of individual discipline for peace, order, happiness, and progress and have stability in life.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 5.17 MiB | 11 | 2 ก.ค. 2564 เวลา 07:33 น. | ดาวน์โหลด |