-
ชื่อเรื่องภาษาไทยศึกษาวิเคราะห์การนับจำนวนสิกขาบทภิกขุปาติโมกข์
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAn Analytical Study of Counting The Number of Bhikkhupātimokkha
- ผู้วิจัยนายประเทือง หัสแดง
- ที่ปรึกษา 1พระมหาสุรศักดิ์ ปจฺจนฺตเสโน, ดร.
- ที่ปรึกษา 2ผศ.ดร.สุเทพ พรมเลิศ
- วันสำเร็จการศึกษา11/01/2018
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาพระไตรปิฎกศึกษา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/1208
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 267
- จำนวนผู้เข้าชม 545
บทคัดย่อภาษาไทย
วิทยานิพนธ์นี้เป็นงานวิจัยเอกสารเรื่อง ศึกษาวิเคราะห์การนับจำนวนสิกขาบทภิกขุปาติโมกข์ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาความเป็นมาของการบัญญัติสิกขาบท 2) เพื่อศึกษาความสำคัญของสิกขาบทภิกขุปาติโมกข์ และ 3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ การนับจำนวนสิกขาบทภิกขุปาติโมกข์
ผลการวิจัยพบว่า
ความหมายของพุทธบัญญัติคือ ข้อที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ในวินัยสำหรับพระ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ พระบัญญัติที่มีพระดำรัสเรียกว่าสิกขาบท และ พระบัญญัติที่ไม่มีพระดำรัสเรียกว่าสิกขาบทว่าด้วยกฎระเบียบต่าง ๆ ความหมายของสิกขาบทคือ บทอันบุคคลพึงศึกษา ข้อศีล ข้อวินัยข้อหนึ่ง ๆ เป็นสิกขาบทหนึ่ง ๆ หรือมูลบัญญัติข้อที่ทรงตั้งไว้เดิม และอนุบัญญัติข้อที่ทรงตั้งเพิ่มเติมภายหลังรวมเป็นสิกขาบทหนึ่ง ๆ หลังจากที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้และทรงประกาศเผยแพร่พระธรรมคำสอนของพระองค์ ในระยะแรกนั้น มีแต่เพียงพระธรรม ยังไม่ได้บัญญัติพระวินัย ต่อมาเมื่อมีผู้ที่เข้ามาบวชในพระศาสนามากยิ่งขึ้น ทำให้สงฆ์บางรูปประพฤติไม่เหมาะสม มีอาสวัฏฐานิยธรรมเกิดขึ้น พระพุทธเจ้าจึงได้บัญญัติสิกขาบทพระปาติโมกข์ ดังที่พระองค์ได้ตรัสกับพระสารีบุตรว่า เมื่อมีอาสวัฏฐานิยธรรม 4 ประการเกิดขึ้นในสงฆ์พระองค์จึงจะบัญญัติสิกขาบทเพื่อกำจัดอาสวัฏฐานิยธรรม การบัญญัติสิกขาบทมีขั้นตอน 5 ขั้นตอน คือ 1) มีเหตุเกิดขึ้น มีผู้เพิ่งโทษติเตียน นำเรื่องไปกราบทูลให้พระพุทธเจ้าทรงทราบ 2) พระพุทธเจ้ามีรับสั่งเรียกภิกษุต้นเหตุเข้าพบเพื่อสอบถามและประชุมสงฆ์ 3) ทรงตรัสถึงโทษที่ภิกษุนั้นได้กระทำลงไป 4) ทรงตรัสถึงอำนาจประโยชน์ 10 ประการ และ 5) ทรงมีรับสั่งประกาศให้ยกสิกขาบทที่บัญญัตินั้นขึ้นแสดง ตามด้วยสิกขาบทบัญญัติ ทรงบัญญัติสิกขาบทตามเหตุที่เกิดขึ้นครั้งละ 1 สิกขาบท ต่อมาหากสิกขาบทที่บัญญัติไว้นั้น มีข้อที่ควรเพิ่มเติมหรืออาจมีข้อยกเว้นพระองค์จะทรงบัญญัติเพิ่มเติมเรียกว่าพระอนุบัญญัติ กรณีมีพระอนุบัญญัติให้นำสิกขาบทอนุบัญญัตินี้ขึ้นสู่อุทเทสแทนสิกขาบทเดิม
จากการศึกษาความสำคัญของสิกขาบทภิกขุปาติโมกข์พบว่า สิกขาบทปาติโมกข์ มีความสำคัญคือ เป็นเครื่องกำจัดอาสวัฏฐานิยธรรม เป็นความสำคัญในอำนาจประโยชน์ 10 ประการ รวมอยู่ในไตรสิกขา เป็นตัวแทนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเป็นรากแก้วของพระพุทธศาสนา
จากการศึกษาพบว่าการสวดแสดงภิกขุปาติโมกข์ในครั้งแรกนั้น ไม่มีระบุจำแนกจำนวนสิกขาบทในแต่ละกองอาบัติไว้ พบหลักฐานว่าช่วงเวลาหนึ่งของพุทธกาลมีจำนวนสิกขาบทที่ต้องนำขึ้นสู่อุทเทสคือหนึ่งร้อยห้าสิบกว่าข้อ ในครั้งนั้นไม่มีหลักฐานชั้นพระบาลีพุทธพจน์จำแนกไว้ว่าในจำนวนนี้มีสิกขาบทข้อใดบ้าง บางท่านได้ทำการลงข้อสันนิษฐานและจำแนกว่าในจำนวนหนึ่งร้อยห้าสิบกว่าข้อนี้มีสิกขาบทข้อใดบ้าง ซึ่งอาจทำให้เกิดความผิดพลาดจากความเป็นจริงได้มาก ผู้ศึกษาพระไตรปิฎก บางท่านเข้าใจผิดว่าในปัจจุบันจำนวนสิกขาบทที่ต้องนำขึ้นสู่อุทเทสมีเพียงหนึ่งร้อยห้าสิบกว่าข้อ จากการค้นคว้าวิจัยพบว่าในช่วงเวลาหนึ่งมีสิกขาบทจำนวนหนึ่งร้อยห้าสิบกว่าข้อดังที่กล่าวแล้ว และต่อมาพระพุทธเจ้าทรงบัญญัติเพิ่มเติมตามเหตุที่เกิดขึ้นครั้งละหนึ่งสิกขาบท จนถึงสิ้นพุทธกาล มีสิกขาบททั้งหมดที่พระพุทธองค์ได้ทรงบัญญัติไว้และต้องนำขึ้นสู่อุทเทส จำนวน 220 สิกขาบทคือ ปาราชิก 4 สังฆาทิเสส 13 อนิยต 2 นิสสัคคียปาจิตตีย์ 30 ปาจิตตีย์ 92 ปาฏิเทสนียะ 4 และ เสขิยะ 75 ในการสวดภิกขุปาติโมกข์นั้นได้นำวิธีการระงับอธิกรณ์ คืออธิกรณสมถะอีก 7 ข้อ ขึ้นสู่
อุทเทสด้วย รวมเป็นที่นิยมเรียกกันว่า 227 ข้อ ดังปรากฏในพระวินัยปิฎก มหาวิภังค์เล่มที่ 1 และ 2 และคัมภีร์ปริวารซึ่งเป็นพระวินัยปิฎกเล่มที่ 8
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The Thesis is documentary research and is entitled “Analytical Study of Counting the Numbers of Bhikkhupātimokkha. It has 3 objectives: 1) to study the history of Bhikkhupātimokkha 2) to study the significance of Bhikkhupātimokkha and 3) to analyze the counting on the numbers of Bhikkhupātimokkha.
The research found that;
The meaning of the Buddha’s promulgation is the rules that were laid down by the Blessed One. Vinaya, the rules for monks are divided into 2types. The regulations composed by Buddha himself are called training rule (sikkhāpadas), while other rules concern the duties and regulations. Training rule is a matter of the proper regulations that should be followed. Sila precepts or Vinaya articles are fundamental regulations and Anupannatti (Final ruling) is additionally laid down by the Buddha. After his enlightenment and dissemination, only Dhammā existed. Vinaya was promulgated later on. Due to more interested persons entered into monastic order (Sangha), some of them were faithful while some were corrupt. Having Āsavaṭṭhānīyānaṃ dhammā (the factors leading to defilements), the Buddha then had to laid down training rules (sikkhāpadas). As his saying to Sariputta that because of four types of Āsavaṭṭhānīyānaṃdhammā within Sangha, Vinaya would be laid down. There are five steps to lay down Vinaya: 1) there are arising causes, denouncements or issues reported to the Buddha, 2) in order to investigate and gather Sangha, initial wrong doer was ordered to approach the Buddha, 3) Buddha blamed about the case done by that Bhikkhu, 4) ten benefits were mentioned, and 5) promulgating the case as sikkhāpada and sikkhapadapannatti. Each time one sikkhāpada is emphasized. Later on, if those regulations or Vinaya had the case to be amended or exempted, Buddha would add amendment or exception. It will be called Final ruling which replaced the former one.
Having studied the significance of Bhikkhupātimokkha, it was found that it was so-called because it helps eliminate the Āsavaṭṭhānīyānaṃ dhammā and shows 10 benefits within the tisikkha as the representation of the Buddha and the root of Buddhism.
The results of study were also revealed that the oral recitation of pātimokkha for the first time has no evidence to identify the numbers of training rules (sikkhāpadas) precepts of apatti aggregate. But there were more than one hundred and fifty training rules raised for recitation. No evidence in Pāli shows what these numbers are. Someone hypothesize about these numbers and had the opinion that there were only one hundred and fifty training rules (sikkhāpadas) to be recited, which would be mistakes. However, this research shows that the Buddha has added more training rules later on. Up to the times he passed away, there were two hundred and twenty training rules, which composed of the four Defeats (pārājika), the thirteen Formal Meetings (samghādisesā), the two Undetermined (aniyatā), the thirty Forfeitures (nissaggiyā), the ninety-two minor matters (pācittiyā), the four Confessions (pāṭidesanīyā), the seventy five Trainings (sekhiyā). In the oral recitation of Bhikkhupātimokkha, the seven rules for settling disputes (Adhikaranasamathā) were also added in recitation. Therefore, it is totally two hundred and twenty seven items as mentioned in Vinaya Pitaka Mahavibhagkha Vol. 1 and Vols. 2 and Parivara Vinaya Pitaka Vols. 8.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 3.66 MiB | 267 | 3 ก.ค. 2564 เวลา 06:51 น. | ดาวน์โหลด |