-
ชื่อเรื่องภาษาไทยรูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงพุทธของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ภาคเหนือตอนล่าง 2
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษHuman Resource Development Model In Line Buddhism of Rajabhat Universities in Lower North of the Second Area
- ผู้วิจัยนางวิชญาภา เมธีวรฉัตร
- ที่ปรึกษา 1พระครูสังฆรักษ์เกียรติศักดิ์ กิตฺติปญฺโ , ดร.
- ที่ปรึกษา 2ผศ.ดร.สุรพล สุยะพรหม
- วันสำเร็จการศึกษา26/02/2015
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/1240
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 271
- จำนวนผู้เข้าชม 515
บทคัดย่อภาษาไทย
งานวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สายวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือตอนล่าง 2 (2) เพื่อศึกษาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงพุทธของมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือตอนล่าง 2 และ (3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงพุทธของมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือตอนล่าง 2
ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) ระหว่าง การวิจัยเชิงปริมาณ ใช้การศึกษาวิจัยเชิงสำรวจ กำหนดกลุ่มตัวอย่างจากบุคลากรสายวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือตอนล่าง 2 คือ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ และ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร จำนวน 260 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับ ที่มีค่าความเชื่อมั่น ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือตอนล่าง 2 เท่ากับ เท่ากับ 0.93 และ ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขา เท่ากับ 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้ให้ข้อมูลส าคัญ จำนวน 19 ท่าน ซึ่งเป็นนักวิชาการ จากนั้นนำ ผลวิจัยมาสังเคราะห์เป็นรูปแบบเบื้องต้น แล้วนำเสนอต่อเวทีการสนทนากลุ่มเฉพาะ จากผู้ทรงคุณวุฒิจ านวน 10 ท่าน เพื่อยืนยันรูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงพุทธของมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือตอนล่าง 2
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพทั่วไปของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สายวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือตอนล่าง 2 ในด้านการฝึกอบรมมีนโยบายการจัดการอบรมบุคลากร เชิญวิทยากรทั้งภายในและภายนอกมาอบรม ในด้านการศึกษา สนับสนุนการศึกษาต่อของบุคลากรในระดับที่สูงขึ้นเพื่อเพิ่มศักยภาพในการทำงาน และในด้านการพัฒนา มีการส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรพัฒนางานของตนเอง พัฒนาให้บุคลากรมีความรู้ ความสามารถ ส่วนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามลักษณะ 5 ด้าน คือ ด้านบุคลิกภาพ ด้านวิชาการ ด้านทักษะ ด้านเจตคติ ด้านความคิดสร้างสรรค์ นั้น บุคลากรควรมีบุคลิกภายนอกที่ดี และเป็นแบบอย่างที่ดี มีความเป็นผู้น าทางวิชาการ บุคลิกภายใน ต้องเป็นคนที่มีจิตใจที่ดีงาม มีเจตคติที่ดี เป็นคนใจเย็น อารมณ์ดี มีทัศนะคติที่ดี มองโลกในแง่ดี
2. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงพุทธของมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือตอนล่าง 2 ด้านศีล ได้ส่งเสริมให้บุคลากรมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่การงานอย่างเต็มที่มีการจัดอบรมถือศีลและปฏิบัติธรรมประจำปี การฝึกอบรมขั้นศีล คือ ฝึกกาย วาจา ขั้นสมาธิ คือ ฝึกจิตใจ ขั้นปัญญา คือฝึกองค์ความรู้ ในการพัฒนา ด้านสมาธิ มีการส่งเสริมให้บุคลากรทำสมาธิให้จิตใจมีความสงบสุขก่อนปฏิบัติงานอยู่เสมอ ด้านปัญญา สนับสนุนให้บุคลากรปฏิบัติงาน โดยใช้หลักความเห็นชอบ และคิดชอบในการทำงาน
3. รูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงพุทธของมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือตอนล่าง 2 พบว่า การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในด้านศีล (B = Behavior) การพัฒนาเน้นไปที่การพัฒนาพฤติกรรมทางกายและวาจา การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านศีลก่อให้เกิด ทักษะ และมี
บุคลิกภาพที่ดี การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านสมาธิ หรือ การพัฒนาจิตใจ (M = Mind) การพัฒนาทรัพยากรด้านสมาธิยังก่อให้เกิด เจตคติที่ดีในการทำงาน การพัฒนาด้านปัญญา หรือ การพัฒนาด้านความรู้ (W = Wisdom) เป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในขั้นสูงสุดและมีความสำคัญสูงสุด ปัญญาน ามาใช้กับ ความรู้ทางวิชาการ และความคิดสร้างสรรค์ เพราะต้องให้เกิดความรับรู้ และจะต้องมีความคิดสร้างสรรค์ จะได้รูปแบบจากการสังเคราะห์ (Synthesis Model) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงพุทธ Buddhist Human Resource Development คือ BHRD = BMW
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The objectives of this research were: (1) to study the generality of the academic human resource development of Rajabhat Universities in lower north of the second area, (2) to study the Buddhist human resource development of Rajabhat Universities in lower north of the second area and (3) to propose the model of the Buddhist human resource development of Rajabhat Universities in lower north of the
second area.
The approach of this research was a mixed methods of the qualitative and quantitative research. The quantitative research was conducted by studying the samples of 260 respondents who were academic personnel of Rajabhat Universities in lower north of the second area including Nakhon Sawan Rajabhat University and Kamphaeng Phet Rajabhat University. The tools used for data collection was a 5
level rating scale questionnaire about the human resource development of Rajabhat Universities in lower north of the second area at reliability level of 0.93 and the human resource development according to Tisikkhã (the threefold training) at reliability level of 0.95. Statistics used to analyze data were frequency, percentage,mean and standard deviation. The qualitative research conducted by in-depth
interviewing the participants for 19 key informants who were academic personnel. Then, the results of the research was synthesized into the Basic Model and proposed to the 10 experts for the presentation of the model of the Buddhist human resource development of Rajabhat Universities in lower north of the second area.
The research findings were as follows :
1. The generality of the academic human resource development of Rajabhat Universities in lower north of the second area found that in the training,the universities set the policy in training the personnel regularly, invited the experts in and out the universities for training. In the education, the universities supported the higher education for the personnel to develop the potential in working. Moreover, in the development, the universities have supported and promoted the self-development of the personnel. However, the human resource development according to 5 aspects was: the personality, the academic, the skill, the attitude and the creative thinking. The personnel should have good external personality and be a good model and the academic leadership and have the consciousness to the service. The internal personality should be exalted, good tempered optimistic and calm, and have good attitude toward the development.
2. The Buddhist human resource development of Rajabhat Universities in lower north of the second area in line of the Silã (the morality) found that the personnel at Rajabhat Universities had the responsibility toward the duty extremely and provided the training in the precepts observation and the practice of the Dhamma annually the morality practice was to practice by both physically. The concentration practice was to practice in mind. However, the wisdom practice was to practice in the body of knowledge in the development which in the Samãdhi (the tranquilly) the universities promoted of the personnel in the concentration before working. In the Pañyã (the wisdom), the universities have supported the working of the personnel with the application of the approval in the working.
3. The model of the Buddhist human resource development of Rajabhat Universities in lower north of the second area found that the model of the human resource development in Silã (B = Behavior) focused on the development of the behavior in physically and mentally. The human resource development in Silã has produced the good skill and good personality. The human resource development in Samãdhi or the mentally development (M = Mind) has produced good attitude in the working. The human resource development according to Pañña or the wisdom development (W = Wisdom) was the human resource development, in the highest level and the most important was core the wisdom. This model was applied with the academic knowledge and the creative thinking to build perception and the creative thinking to form the Synthesis: model of the Buddhist human resource development: BHRD = BMW.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 5.63 MiB | 271 | 5 ก.ค. 2564 เวลา 04:38 น. | ดาวน์โหลด |