-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการใช้แผนผังโครงสร้าง ความรู้ที่มีต่อความสามารถในการคิดแก้ปัญหา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชา GE 1001 การต่อต้านการทุจริตของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษProblem-Based Learning Management with Graphic Organizer diagrams towards the solving problems ability. And Achievement learning outcomes. GE 1001 Anti-Corruption of the first year students.Mahamakut Buddhist University Isan campus
- ผู้วิจัยนายสุทธินันท์ พรหมพันธุ์ใจ
- ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.ประยูร แสงใส
- ที่ปรึกษา 2ดร.สาคร มหาหิงค์
- วันสำเร็จการศึกษา02/02/2019
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/1274
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 56
- จำนวนผู้เข้าชม 175
บทคัดย่อภาษาไทย
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับรูปแบบโครงสร้างความรู้ ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 รายวิชา GE 1001 การต่อต้านการทุจริต มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับรูปแบบโครงสร้างความรู้ ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 รายวิชา GE 1001 การต่อต้านการทุจริต มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสานสถานศึกษา 3) เพี่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับรูปแบบโครงสร้างความรู้ ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 รายวิชา GE 1001 การต่อต้านการทุจริต มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยวิทยาเขตอีสาน จำนวน 32 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบทดสอบวัดการคิดแก้ปัญหา ชนิดปรนัย 4 ตัวเลือกจำนวน 20 ข้อ ที่มีความยาก (p) อยู่ระหว่าง 0.23 ถึง 0.57 ค่าอำนาจจำแนก (r) ตั้งแต่ 0.32 ถึง 0.52 มีความเชื่อมั่นทั้งฉบับ (KR-20) เท่ากับ 0.87 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิดปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ค่าความยาก ระหว่าง 0.54 - 0.81 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.26 – 0.73 ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับ โดยใช้วิธีของ Lovett ได้ค่าเท่ากับ 0.88 แบบวัดความพึงพอใจ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ตามวิธีของลิเคอร์ท (Likert) ซึ่งมี 5 ระดับจำนวน 30 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนก (r) ตั้งแต่ .45 - .83 ค่าความเชื่อมั่น โดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟา (Alpha Coefficient) ตามวิธีของครอนบาค (Cronbach) ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ ๐.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การทดสอบสมมุติฐานด้วย Paired t–test
ผลการวิจัย พบว่า
1. ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาก่อนเรียนและหลังเรียนโดยการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับรูปแบบโครงสร้างความรู้ ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 รายวิชา GE 1001 การต่อต้านการทุจริต มีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการคิดแก้ปัญหาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การจัดการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับรูปแบบโครงสร้างความรู้ ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 รายวิชา GE 1001 การต่อต้านการทุจริต มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ความพึงพอใจของนักศึกษาในการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับรูปแบบโครงสร้างความรู้ ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และรายด้านมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีความพึงพอใจสูงสุด คือ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ รองลงมาคือด้านสื่อและนวัตกรรมการเรียนรู้ และด้านการวัดผลและประเมินผล
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The aims of this research were: 1) to study the problem-solving ability of the students before and after the completion of the course; 2) to compare their learning achievement before and after the completion of the course; 3) to study the student satisfaction with the problem based learning management with the graphic organizer structure diagram of 32 first year students, majoring in Social Work in GE 1001 course ‘Anti-corruption’, Semester 1, 2018 in Mahamakut Buddhist University, Isan Campus. The research tools were: the test of problem-solving measurement (20 items with 4 multiple choices) and with its reliability value (KR-20) of 0.87; a test of learning achievement (30 items with 4 multiple choices) with its reliability value of 0.88; a five rating scales satisfaction test (30 items), with its reliability value of 0.97, created in accordance with the Likert method. The statistics used in data analysis were: Percentage, Mean, Standard Deviation and Paired t-test.
The research results were as follows:
1) The mean score of the problem-solving ability of the students after the completion of the course utilizing the problem based learning management with the graphic organizer structure diagram was higher than that of the pre-study (post =16.78, pre = 8.15) with the statistical significance level of 0.01.
2) Based on the comparison, the mean score of achievement of the problem based learning by utilizing the graphic organizer structure diagram after completing the course was higher than that of the pre-study (post = 26.06, pre = 1 3.65) so the statistical scores were different at the statistical significance level of 0.01.
3) The mean score of the student satisfaction with the problem based learning management with the graphic organizer structure diagram in overall was rated at a high level as same as those of the studied aspects. The highest score can be seen in the aspect of ‘learning activity management’, followed by ‘media and innovation’ and ‘measurement and evaluation’.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
2019-02-25 | 2019-02-25 | 1.16 MiB | 56 | 7 ก.ค. 2564 เวลา 03:08 น. | ดาวน์โหลด |