-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการจัดการเรียนรู้ตามหลักอิทธิบาท 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรม ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษLearning Management based on Iddhipāda IV in Social Studies, Religion and Culture Studies Department in High Schools under the Office of Secondary Education Service Area 25
- ผู้วิจัยพระจักร จกฺกวโร (เหมือนปืน)
- ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.รัชนี จรุงศิรวัฒน์
- ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.ประยูร แสงใส
- วันสำเร็จการศึกษา25/02/2019
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/1311
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 120
- จำนวนผู้เข้าชม 325
บทคัดย่อภาษาไทย
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพ และเปรียบเทียบ รวมทั้งศึกษาแนวทางในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามหลักอิทธิบาท 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรม ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25
การวิจัยนี้ เป็นวิธีวิทยาการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีโดย (mixed methods) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 187 คน และกลุ่มเป้าหมาย คือผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 10 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency), ค่าร้อยละ(Percentage), ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Wey ANOVA) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์วิเคราะห์สถิติสำเร็จรูป
ผลการวิจัยพบว่า
1) การจัดการเรียนรู้ตามหลักอิทธิบาท 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรม ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้ออยู่ในระดับมากทุกข้อ เรียงจากมากไปหาน้อย คือ ด้านจิตตะ ด้านฉันทะ ด้านวิริยะ และด้านวิมังสา ตามลำดับ
2) การวิเคราะห์การเปรียบเทียบ การจัดการเรียนรู้ตามหลักอิทธิบาท 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรม ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 จำแนกตามระดับการศึกษา และจำแนกตามประสบการณ์การทำงาน ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
3) การวิเคราะห์ข้อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามหลักอิทธิบาท 4 ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๒๕ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรม ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย พบว่า ครูผู้สอนมีควรปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนรู้และส่งเสริม คุณธรรมจริยธรรม จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในชุมชนและแหล่งเรียนรู้นอกสถานที่ โดยการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ในขั้นเรียนให้นักเรียน ควรจัดกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย นำภูมิปัญญาท้องถิ่นเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้ เรียนรู้จากประสบ การณ์จริง เพื่อให้นักเรียนฝึกสติ รับรู้ในสิ่งที่ทำ และทำสิ่งนั้นด้วยความคิดสร้างสรรค์ เกิดการเปลี่ยน แปลง ทั้งด้านพฤติกรรม ความคิด สติปัญญา เพราะจะสามารถช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี เกิดประสิทธิผลในการนำมาปรับใช้กับนักเรียนมากขึ้น และแสดงความสามารถที่ได้เรียนในสิ่งที่ชอบ และสนใจ เพื่อให้นักเรียนประสบความสำเร็จยิ่งๆขึ้นไป
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The aims of this research were: to study, to compare and study the ways to develop the learning management based on Iddhipada IV (Pāli: iddhipāda, path of accomplishment) of Social Studies, Religion and Culture Studies Learning Areas in high schools under the Office of Secondary Education Service Area 25.
This study was a mixed method research between qualitative and quantitative research methodologies. The samples included 187 teachers of Social Studies, Religion and Culture Studies Department in 2019 and the target group included 10 educational administrators. The statistics used in data analysis were: Frequency, Percentage, Mean, Standard Deviation and One Way ANOVA.
The research results were as follows:
1) The mean score of the learning management based on Iddhipada IV in the studied schools was at a high level. The scores of all studied aspects were the same, respectively ranked from Citta (thoughtfulness), Chanda (aspiration), Viriya (energy) and Vīmaṁsā (Investigation).
2) Based on the comparison of the teacher opinions towards the learning management in accordance with their personal factors: education and work experience were indifferent with the statistical significance level of 0.05. This denied the set hypothesis.
3) The ways to develop the learning management based on Iddhipada IV of Social Studies, Religion and Culture Studies Learning Areas in high schools under the Office of Secondary Education Service Area 25 are that the teachers should improve and develop learning management and ethics promotion; they should organize learning activities in communities and off-site learning resources by creating a learning environment for students; they should organize various learning processes and bring local wisdom and appropriate technology in learning management so that the students can learn from real experiences, practice mindfulness, recognize what to do and do that with creativity until they change both behavioral and intellectual thinking. This can help students to learn better, be more effective in applying in their study, show the ability to learn what they like and are interested in and eventually this will make students more successful.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 10.32 MiB | 120 | 7 ก.ค. 2564 เวลา 10:31 น. | ดาวน์โหลด |