-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการศึกษาวิเคราะห์ความสำคัญของอุทุมพริกสูตร
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAn Analytical Study of the Importance of the Udumbarikasutta
- ผู้วิจัยVen. Nyanissara
- ที่ปรึกษา 1พระราชปริยัติมุนี, ผศ.ดร.
- ที่ปรึกษา 2ดร.อธิเทพ ผาทา
- วันสำเร็จการศึกษา06/03/2018
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาพระไตรปิฎกศึกษา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/1334
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 100
บทคัดย่อภาษาไทย
วิทยานิพนธ์นี้ผู้วิจัยมุ่งที่จะศึกษาวิเคราะห์ความสำคัญอุทุมพริกสูตร โดยผู้วิจัยกำหนดวัตถุประสงค์ไว้ 2 ประการ คือ 2) เพื่อศึกษาโครงสร้าง เนื้อหา ของอุทุมพริกสูตร 2) เพื่อศึกษาหลักธรรมที่ปรากฏในอุทุมพริกสูตร 3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ความสำคัญของอุทุมพริกสูตร ระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้ในการวิจัย เป็นการวิจัย เชิงเอกสาร (Documentary Research) โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงพรรณนา (Descriptive Analysis)
ผลการวิจัยพบว่าอุทุมพริกสูตรนี้ มีโครงสร้างต้นเรื่องเกี่ยวข้องกับการตอบปัญหาของนิโครธปริพาชกที่ถามปัญหาเกี่ยวกับการบำเพ็ญตบะ มีโครงสร้างเนื้อเรื่องที่เป็นพุทธพจน์ เช่น การระมัดระวังสังวร 4 การละนิวรณ์ 5 การเจริญอัปปมัญญา 4 และการปฏิบัติสัมมัปธาน เป็นต้น และมีโครงสร้างที่เป็นบทสรุปพระพุทธองค์ตรัสกับนิโครธปริพาชกว่าที่อธิบายมาทั้งหมดมิได้หวังจะให้ปริพาชกเคลื่อนจากอาชีพที่ยึดถืออยู่เดิม แต่ทรงหวังให้ละอกุศล และให้กระทำแต่กุศลเท่านั้น ส่วนเนื้อหาพระสูตรนี้ว่าด้วยการบันลือสีหนาทตรัสพระวาจาด้วยท่าทีองอาจดังพญาราชสีห์ ไม่ทรงหวั่นเกรงผู้ใดของพระผู้มีพระภาคเจ้าที่อุทุมพริการาม ในเขตกรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงโต้ตอบปุจฉาวิสัจชนา เรื่องกีดกันบาปด้วยตบะของลัทธินอกศาสนากับพระพุทธศาสนาว่ามีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรทรงแสดงแก่นิโครธปริพาชกและคณะ ณ อุทุมพริการาม ซึ่งเป็นที่อยู่ของพวกปริพาชก พระผู้มีพระภาคเจ้าใช้เหตุผลยกประกอบคำอุปมาอุปมัยหลักธรรมกับต้นไม้ เพื่อจะทรงปราบมิจฉาทิฏฐิของนิโครธปริพาชกในเรื่องของลัทธิกีดกันบาปด้วยตบะที่บริบูรณ์เป็นอย่างไร ที่ไม่บริบูรณ์เป็นอย่างไร หรือการทรมานร่างกาย เพื่อการละบาป และอุปกิเลสของลัทธินอกศาสนา 22 ประการ โดยทรงแสดงแนวทางการบำเพ็ญตบะทางพระพุทธศาสนาที่ตรงข้ามเพื่อชี้แจ้งให้ปริพาชกเข้าใจว่าบุรุษผู้รู้ไม่โอ้อวดไม่มีมายาเป็นคนตรง พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมแล้วเข้าปฏิบัติ เพียง 7 ปีก็จะทำให้แจ้งประโยชน์อันยอดเยี่ยมเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ที่กุลบุตรทั้งหลายผู้ออกบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วเข้าถึงในปัจจุบันอย่างแน่แท้ 7 ปียกไว้ก่อน 7 วัน ก็จะทำให้แจ้งประโยชน์ยอดเยี่ยมถึงยอดถึงแก่นได้
อุทุมพริกสูตรนั้นมีความสำคัญหลายประการ เช่น มีความสำคัญในเรื่องของการสอน ซึ่งเป็นการสอนที่เน้นการโต้ตอบแบบธัมมสากัจฉา การใช้เหตุผลยกประกอบ คำอุปมาอุปมัยเรื่องการถึงความบริสุทธิ์เพียงระดับสะเก็ด เรื่องการถึงความบริสุทธิ์เพียงระดับเปลือก เรื่องการถึงความบริสุทธิ์เพียงระดับกระพี้ เรื่องการถึงความบริสุทธิ์ที่ถึงยอดและถึงแก่น ซึ่งเป็นการโต้ตอบตามลำดับ เป็นพุทธวิธีการสอนอย่างหนึ่ง ที่นำมาใช้ได้ผล และพุทธวิธีสอนแบบนี้พระพุทธ-องค์ก็ได้สรุปไว้ตอนท้ายว่าการสอนนักบวชนอกศาสนานั้นมิได้สอนเพื่อให้เขาเปลี่ยนศาสนาหรือให้มาเป็นอันเตวาสิกเป็นศิษย์ของตน แต่เป็นการสอนเพื่อให้เขาเข้าใจหลักการเท่านั้น อันนี้เหมาะสำหรับการมากำหนดเป็นเป้าหมายการสอนของพระสงฆ์ในปัจจุบัน เรื่องของการปฏิบัติธรรม เรื่องของการตอบปัญหาของลัทธินอกศาสนา หรือเรื่องการบรรลุธรรม และเรื่องท่าทีของพระพุทธศาสนาต่อนักบวช ในลัทธิต่างศาสนาว่า การอยู่ร่วมกันกับนักบวชต่างศาสนาจะต้องไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน แต่ต้องอยู่ด้วย หลักของเหตุผล
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The thesis entitled on “An Analytical Study of the Importance of the Udumbarika-Sutta” has Three objectives namely; (1) to study the structure and content of Udumbarika-Sutta, (2) to study the Buddha’s teachings in the Udumbarika-Sutta and (3) to Analyticaly study the Importance of the Udumbarika-Sutta. The methodology is documentary research and using an analysis by the descriptive method.
The research was found that the Udumbarika-Sutta has the primal structure related to question-answering concerning the practice of religious austerity of Nigrotha wanderer. Its structure is concerned with the restraining with four restraints abandoning of five hindrances, the practice of unbounded state, and the four great efforts, etc. In addition, this sutta also has the structure that contains the conclusion said to Nigrotha wanderer by the Buddha that all as explained did not mean to bring wanderer out of his own career, but it is meant to make him abandons unwholesome state and does only wholesome one. And the content of sutta is also related to the showing of great powerfulness of the Buddha with the voice like that of the head of lions without fearing to anybody. On this sutta, The Buddha interacted with Nigrotha wanderer and his followers about the similarities and differences of evil-avoidance between paganism and Buddhism at Udumbikarama, Rajagaha city, Magatha state where they live in. The Buddha uses the rational argument through metaphor with tree in order to pressing the wrong view of Nigrotha wanderer on the perfection and the imperfection of evil-avoidance, and body-mortification aiming at abandoning of evil, and twenty two defilements of paganism. The Buddha preached the way to practise the religion austerity of Buddhism contrary to those pracitsed by paganism in order to give understanding to wanderer that one who does not boast, has no deception, and is straightforward, when the Buddha expressed Dhamma, once he practiced only seven year, he would reach the great goal of holy life in which the virtuous men who left home became ascetics with supreme knowledge would attain at the present life; within seven years except seven days,
It was found that the Udumbarikasutta has many important aspects, viz., the way of teaching emphasizing on the interaction or Dhamma-discussion, the rational using with metaphor, the attainment to purity simply by fragment, skin, and sapwood, and the attainment to purity highly and essentially. This is, in turn, interacted, it is a Buddhist way of teaching that became useful, and it is concluded by the Buddha in the last section of the sutta that teaching to heresies is not meant to convert them or bring them to be our pupils, but, instead, it is for making them understand the principles, this is suitable for bringing to be the objective of teaching for monks in the present time on many topics, namely, dhamm-practice, question-answering to paganism, Dhamm-attainment, and the outlook of Buddhism to ascetics in different creeds in order to friendly live together, not to harm each other, but, there should be living together with reason
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|