-
ชื่อเรื่องภาษาไทยศีลและทิฏฐิในฐานะเป็นเหตุให้เกิดความสามัคคีและแตกความสามัคคี
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษSīla and Diṭṭhi Causing Harmony AndInharmony
- ผู้วิจัยPhraSunantSunando
- ที่ปรึกษา 1พระมหาสุรศักดิ์ ปจฺจนฺตเสโน,ดร.
- ที่ปรึกษา 2ผศ.ดร.สุเทพ พรมเลิศ,
- วันสำเร็จการศึกษา19/03/2018
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาพระไตรปิฎกศึกษา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/1337
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 35
- จำนวนผู้เข้าชม 86
บทคัดย่อภาษาไทย
จากการศึกษาวิจัยเรื่อง“ศีลและทิฏฐิในฐานะเป็นเหตุให้เกิดความสามัคคีและแตกความสามัคคี”ตามขั้นตอนที่วางไว้ในวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1)เพื่อศึกษาความสำคัญของศีลและทิฏฐิในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาเรื่องความสามัคคีและการแตกความสามัคคีในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท 3 เพื่อศึกษาศีลและทิฏฐิในฐานะเป็นเหตุให้เกิดความสามัคคีและแตกความสามัคคี ผลการวิจัยพบว่า
จาการศึกษาความสำคัญของศีลและทิฏฐิในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาทพบว่าศีลมีกำเนิดจาการปกครองของพระเจ้าจักรพรรดิ หมายถึงมูลรากพฤติกรรมที่ถูกควบคุมอย่างดีจนเป็นปกติ เพราะศีลมีลักษณะคือ ควบคุมกาย วาจา ให้เรียบร้อย ศีลมี 2 ประเภทคือ ศีลของบรรพชิต และศีลของฆราวาส ศีลมีองค์ประกอบแต่ละข้อเป็นการเฉพาะตามเงือนไขของพฤติกรรมการละเมิด ศีลมีอานิสงส์หลายประการ ทิฏฐิหมายถึงความเห็น มี2 ประการคือ สัมมาทิฏฐิและมิจฉาทิฏฐิ
จากศึกษาความสามัคคีและการแตกความสามัคคีในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท พบว่าความสามัคคีหมายถึง ความร่วมมือไปด้วยกัน โดยมีศีลและทิฏฐิที่เสมอกันเป็นหลัก มีหลักธรรมที่ก่อให้เกิดความสามัคคี ได้แก่หลักสาราณียธรรม หลักอปริหานิยธรรม และหลักสังคหวัตถุ ๔ คำที่ตรงกันข้ามกับความสามัคคีคือการแตกความสามัคคี สังฆราชี และสังฆเภท วิธีระงับการแตกความสามัคคีต้องอาศัยอธิกรณะสมถเป็นต้น
ศีลที่เป็นต้นเหตุให้เกิดความสามัคคีได้แก่ศีลสามัญญตา และทิฏฐิที่ก่อให้เกิดความสามัคคีได้แก่ ทิฏฐิสามัญญตา ผลดีของการสร้างความสามัคคี คือทำให้เกิดความสุข ความรักและนับถือ ส่วนผลกระทบจากการแตกความสามัคคี มีผลเสียทั้งแก่บรรพชิตและคฤหัสถ์
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The objectives of this study were 1) to investigate the importance of precepts(Sīla) and views(Diṭṭhi) in Theravada Buddhist scriptures, 2) to study the unity and disunity in Theravada Buddhist scriptures, and 3) to study precepts and views as the causes of unity and disunity. The results of this study indicated as follows.
In terms of the importance of precepts and views in Theravada Buddhist scriptures, it was found that precepts derived from the rule of the emperor, referred to the root cause of well-controlled behavior and conduct. Precepts are the doctrine of physical and psychological control. There are two types of precepts, namely monastic precepts and secular precepts. Individual elements of precepts are specific to the condition of abuse conduct. Precepts have many results of merit. Ditthi means views, consisting of two types, namely Sammaditthi and Mitchaditthi.
In terms of unity and disunity in Theravada Buddhist scriptures, it was found that unity means the collaboration under the balance of precepts and views. The doctrines leading to unity are Saraniyadhamma, Aparihaniyadhamma, and Sangahavatthu 4. In contrast, the disunity is an opposite side of unity. Disunity related doctrines are dissension(Sangkharachi and Sangkhaphet). The method of eliminating disunity is to rely on AthikaranaSamatha, etc.
Sila (Precept) which is the cause of unity is Sila-samannata. Dithi (View) which is the cause of unity is Dithi-samannata. The advantage of building unity is the emergence of happiness, love, and respect. Disunity results in monastic and secular disadvantages.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 1.99 MiB | 35 | 8 ก.ค. 2564 เวลา 03:39 น. | ดาวน์โหลด |