-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการศึกษาวิเคราะห์การเกิดเป็นมนุษย์ตามแนวคัมภีร์พระพุทธศาสนา
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAnAnalytical Study of thehuman Birth According to Buddhist Scripture
- ผู้วิจัยพระปราบศึกอุทโย (วิจิตรศักดิ์)
- ที่ปรึกษา 1พระมหาสุรศักดิ์ ปจฺจนฺตเสโน, ดร.
- ที่ปรึกษา 2ดร.อธิเทพ ผาทา
- วันสำเร็จการศึกษา10/03/2018
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาพระไตรปิฎกศึกษา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/1339
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 24
- จำนวนผู้เข้าชม 88
บทคัดย่อภาษาไทย
วิจัยเรื่อง “การศึกษาวิเคราะห์การเกิดเป็นมนุษย์ตามแนวคัมภีร์พระพุทธศาสนา”มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) เพื่อศึกษาโครงสร้าง เนื้อหาของพระสูตรที่เกี่ยวข้องกับการเกิด2) เพื่อศึกษาการเกิดตามแนวคัมภีร์พระพุทธศาสนา3) เพื่อวิเคราะห์การเกิดตามแนวคัมภีร์พระพุทธศาสนา โดยศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการเกิดตาม ปาราชิกข้อที่ 3 มหานิทานสูตร มหาตัณหาสังขยสูตร และอินทกสูตร จากข้อมูลทั้งในพระไตรปิฎกและอรรถกถาฎีกา รวมถึงเอกสารอื่นๆที่เกี่ยวข้องเป็นการศึกษาวิจัยเอกสาร (documentary research) มีวิธีการวิจัย คือ การรวบรวมเอกสารชั้นปฐมภูมิ (Primary Source) เอกสารอ้างอิงทางพระพุทธศาสนา พระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา และเอกสารวรรณกรรม ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาวิเคราะห์การเกิดรวบรวมเอกสารชั้นทุติยภูมิ (Secondary Source) ได้แก่ หนังสือ งานวิจัย เอกสาร วารสารที่เกี่ยวข้อง
ผลการศึกษา พบว่า
โครงสร้างเนื้อหาของปาราชิกข้อที่ 3 จากการศึกษาค้นคว้าโครงสร้างเนื้อหาของปาราชิกข้อที่ 3 ว่าด้วยการพรากชีวิตมนุษย์เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการมีเจตนาในการฆ่า หากไม่มีเจตนาในการฆ่าก็ไม่ถือว่าเป็นปาราชิก โครงสร้างประกอบด้วย เรื่องต้นบัญญัติเป็นเรื่องเกี่ยวกับมูลเหตุในการฆ่า ทรงตั้งสิกขาบทบัญญัติเป็นสิกขาบทและอนุบัญญัติ กรอบของการฆ่า และเรื่องราวเกี่ยวกับพระวินัยปิฎกกล่าวเป็นเบื้องต้นเพื่อให้เห็นพัฒนาการของการเกิดขึ้นมาของพระวินัย ตามหลักฐานข้อมูลในพระวินัยปิฎกนั้นก็คือธรรมปาพจน์ที่ประมวลพุทธบัญญัติเกี่ยวกับระเบียบปฏิบัติ ขนบธรรมเนียม ประเพณี วิถีชีวิตและวิธีดำเนินกิจการต่าง ๆ ของภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์โครงสร้างมหานิทานสูตร ได้แก่ พระสูตรที่ตรัสถึงการเกิด เพราะการเกิดเป็นมนุษย์ตามแนวคัมภีร์พระพุทธศาสนา ในประเด็นเรื่องคำสอนเรื่องการเกิดที่ปรากฏในมหานิทานสูตร ซึ่งมหานิทานสูตรนั้นเป็นพระสูตรที่ปรากฏอยู่ในพระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่มที่ 10 ซึ่งมหานิทานสูตรนี้ถือว่าเป็นอีกพระสูตรหนึ่งที่มีหลักคำสอนเรื่องการเกิดปรากฏอยู่โดยคำสอนเรื่องการเกิดในมุมมองของมหานิทานสูตรนั้นเป็นคำอธิบายการเกิดในหลักของเหตุผลหรือเหตุปัจจัย โดยเหตุปัจจัยนั้นก็คือหลักปฏิจจสมุปบาทนั่น ซึ่งมีมูลเหตุ หลักธรรม การบัญญัติอัตตา อนัตตา วิญญาณ และวิโมกข์ ที่ปรากฏในมหานิทานสูตร ขยายออกเป็นความหมายของการเกิด และกระบวนการเกิดโครงสร้างมหาตัณหาสังขยสูตรเป็นพระสูตรที่กล่าวถึงการแก้ไขความเข้าใจผิดของพระสาติ โครงสร้างของมหาตัณหาสังขยสูตร เป็นพระสูตรที่แก้ปัญหาเฉพาะเรื่อง มีโครงสร้าง 2 ประการ คือ 1) โครงสร้างเกี่ยวกับบุคคล 2) โครงสร้างเกี่ยวกับหลักธรรม และการแก้ไขปัญหาความเห็นของพระสาติด้วยหลักการ 5 ประการ คือ (1) เรื่องวิญญาณ (2) คำสอนเกี่ยวกับขันธ์ 5 (3) คำสอนเกี่ยวกับอาหาร 4 ประเภทที่หล่อเลี้ยงขันธ์ 5 (4) คำสอนเรื่องปฏิจจสมุปบาท และ (5) คำสอนเรื่องการเกิดโครงสร้างเนื้อหาของอินทกสูตร ได้แก่ พระสูตรที่อยู่ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 15 สังยุตนิกาย สคาถาวรรค โดยพระไตรปิฎกเล่มนี้จัดเป็นสังยุตโดยอินทกสูตรจะปรากฏอยู่ในยักขสังยุต ซึ่งคำว่ายักขสังยุตนั้นแปลว่า ประมวลเรื่องยักษ์ หมายถึงประมวลพระสูตรที่เกี่ยวกับยักษ์เข้าไปสนทนาธรรมกับพระผู้มีพระภาค ไม่จัดแบ่งเป็นวรรค มีทั้งหมด 12 สูตร ชื่อพระสูตรแต่ละสูตรตั้งตามชื่อบุคคลคือยักษ์ที่ปรากฏในพระสูตรนั้นๆ
การเกิดในปาราชิกข้อที่ 3 มหานิทานสูตร มหาตัณหาสังขยสูตร และอินทกสูตร จากการศึกษาพบว่าการเกิดเป็นมนุษย์ในปาราชิก นั้นมีองค์ประกอบของการเกิดอยู่ 3 ส่วน คือ1)จิตดวงแรกหรือปฏิสนธิจิต 2) อรูปขันธ์ 3 ได้แก่ สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งเกี่ยวข้องกับจิตหรือปฏิสนธิพร้อมกับจิต 3) กลละรูป หมายถึง รูปที่เป็นหยาดน้ำใสที่จะพัฒนามาเป็นมนุษย์ในภายหลังการเกิดในมหานิทานสูตร พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกับพระอานนท์ เกี่ยวกับกระบวนการเกิดว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี กล่าวได้ว่าในมหานิทานสูตรระบุว่าการเกิดเริ่มต้นจากการที่มี วิญญาณจุติการเกิดในมหาตัณหาสังขยสูตร สำหรับคำสอนเรื่องการเกิดในมหาตัณหาสังขยสูตร พระองค์ทรงแสดงว่าองค์ประกอบที่ทำให้สัตว์เกิดในครรภ์มี 3 ประการ 1) บิดามารดาอยู่ร่วมกัน 2) มารดามีระดู 3) มีคันธัพพะมาเกิด เพราะปัจจัย 3 ประการประชุมพร้อมกันอย่างนี้ การถือกำเนิดในครรภ์จึงมีได้การเกิดในอินทกสูตร การเกิดในอินทกสูตรเป็นแนวคิดที่ละเอียด กล่าวถึงพัฒนาการของของการเกิดเป็นมนุษย์ในครรภ์มารดา เป็นขั้นเป็นตอนตั้งแต่กลละ (ลักษณะกลมใส ขนาดเท่าหยดน้ำมันที่ติดอยู่บนขนแกะซึ่งเหลือจากการสะบัดน้ำ) จนกระทั้งถึง ปัญจสาขา (มีลักษณะเป็นปุ่ม ๕5ปุ่ม คือ ปุ่มศีรษะ 1 ปุ่มแขน 2 ปุ่มขา 2 )และมีวิวัฒนาการมาโดยลำดับ ดังที่ปรากฏในอินทกสูตรว่า มารดาบริโภคอาหารอย่างไร สัตว์ผู้เกิดในครรภ์ก็เลี้ยงชีวิตด้วยอาหารอย่างนั้นในครรภ์มารดาดังนี้
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The thesis on “An Analytical Study of thehumanBirth according to Buddhist Scripture”has three objectives: 1) to study the content-structureof suttasconcerning of humanbirth 2) to study the human birth according to Buddhist scripture, and 3) to analyzetheHuman birth according to Buddhist scripture with its research on the human birth from the Pārājika Offence number three, MahānidānaSutta, MahātanhāsaṁkhayaSutta, and IndakaSutta. This study is of documentary type of research. The primarysources have been collected from Tipitaka, commentaries, sub-commentaries, including documents and literatures related to the analysis of humanbirth, and the secondary sources have been collected from books, research works, documents, and the related journals.
The results of the study were as follows:
The structure of contents in Pārājika Offence number three is of removing the life of man that is related to the volition in killing, if there is no volition in killing, it is not regarded as Pārājika. The structure consists of the story ofprimary rules related to the cause of killing.The blessed one prescribed the disciplinary rule, the additional rule, and the pattern of killing. VinyaPitaka had primarily been said in order tosee theoriginandthe development of the discipline. According to the sources in VinyaPitaka, the doctrines and the disciplines are the collections of order, norm, tradition, custom, way of life, and the way of carrying out several activities of monks and nuns. MahānidānaSuttaappeared in DigaNikayaMahavagga of SuttantaPitaka volume 10. MahānidānaSutta is one of many suttashaving the doctrine of human birth. The human birth according to MahānidānaSutta is the explanation of birth on the principle of cause and effect, or the principle of the dependent origination. In addition, the doctrines of self (attā, not-self (anattā) consciousness (viññāna), and emancipation (vimokha) have been expanded to be the meaning of human birth and the process ofhumanbirth. On the structure ofMahātanhāsaṁkhayaSutta, it is the sutta that resolves the particular problems by having 2 structures: 1) the structure of person, and 2) the structure of Dhamma, and also the sutta that resolves the problem of the Sāti monk with five principles: 1) consciousness, five aggregates, 3) five foods in support of five aggregates, the dependent origination, and 5) the doctrine of birth. The structure of IndakaSutta is the sutta that appeared inSaṁyuttaNikāyaSgaāthavagga of Tipitaka volume 15. This volume is divided into many saṁyuttas. IndakaSutta appeared in YakhaSaṁyutta. YakhaSaṁyuttameans the collection of the colossuses or the collection of the sutta concerning colossuses who approached the Blessed One that is not divided into vagga. This Saṁyutta has 16 suttas, the name of each sutta has been entitled following the person’s name, namely, colossuses appeared in those suttas.
Thehuman birth according toPārājika Offence number three, MahānidānaSutta, MahātanhāsankhayaSutta, and IndakaSutta has three factors: 1) relinking mind (patisondhicitta),2) formless aggregate (arūpaKhandha), perception, mental formations, and consciousness that are involved or relinked with mind, and 3) the embryo in the first week after conception (kalalarūpa)— it will be developed to be human later. In MahānidānaSutta, the Blessed One said toĀnanda as to the human birth that because of the arising of consciousness corporeality andmentality arise. The Blessed one also said in this sutta that thehuman birth has its origin on the decease of consciousness. In MahātanhāsaṁkhayaSutta, The Blessed One said that there are three factors of human birth: 1) sexual intercourse of father and mother, 2) mothers gets menstruation, and 3) new existence enters to the womb; because of the unification of these three factors there arising of birth in the womb. But the human birth in IndakaSutta is quite meticulous one; it is the development of human birth in the womb step by step starting from Kalala (the clear round thing equating with the drop of oil sticking on wool left from shaking of water) to five branches (pancasākha: five protuberances -1head-protuberance, 2 arms protuberance, and 2 legs protuberancethat gradually developed as appeared in IndakaSutta that “Fetus lives life with food as mother did.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 1.59 MiB | 24 | 8 ก.ค. 2564 เวลา 03:50 น. | ดาวน์โหลด |