โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    ผลของโปรแกรมดนตรีภาวนาเพื่อลดความเครียดของผู้ต้องขังในเรือนจำกลางนครศรีธรรมราช
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Effects of Bhāvānā Music Program for Stress reduction: A Case study of the Prisoners in the Nakhon Si Thammarat Central prison
  • ผู้วิจัยนายชินภัทร เจริญรัตน์
  • ที่ปรึกษา 1ดร.วิศาล สายเพ็ชร์
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.วิชชุดา ฐิติโชติรัตนา
  • วันสำเร็จการศึกษา20/05/2021
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:บัณฑิตยาลัย
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาจิตวิทยาชีวิตและความตาย
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/134
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 1,190
  • จำนวนผู้เข้าชม 937

บทคัดย่อภาษาไทย

        งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อสร้างโปรแกรมดนตรีภาวนาเพื่อลดความเครียดของผู้ต้องขังในเรือนจำ 2) เพื่อนำเสนอผลของโปรแกรมดนตรีภาวนาเพื่อลดความเครียดของผู้ต้องขังในเรือนจำกลางนครศรีธรรมราช เป็นการศึกษาวิจัยกึ่งทดลอง โดยใช้โปรแกรมดนตรีภาวนาเพื่อลดความเครียดของผู้ต้องขังในเรือนจำ และแบบสอบถามความเครียดของผู้ต้องขังในการใช้ชีวิตประจำวันในเรือนจำ โดยมีกลุ่มตัวอย่าง 24 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่ายได้แก่ กลุ่มทดลอง 12 คน และกลุ่มควบคุม 12 คน ที่เป็นผู้ต้องขังในเรือนจำกลางนครศรีธรรมราชที่มีอายุระหว่าง 21-30 ปี กำหนดโทษ 10 ปีขึ้นไป สมัครใจเข้าร่วมโครงการ ผ่านการทำแบบสอบถามก่อนการทดลอง และได้รับการอนุญาตจากผู้บัญชาการเรือนจำกลางนครศรีธรรมราชเข้าร่วมโครงการดนตรีภาวนาเพื่อลดความเครียดผู้ต้องขังในเรือนจำกลางนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช ประจำปี 2563 เป็นเวลา 3 วัน รวมระยะเวลาดำเนินโปรแกรม 13 ชั่วโมง 30 นาที เมื่อสิ้นสุดโปรแกรม กลุ่มทดลองทำแบบสอบถามหลังการทดลอง และแบบสัมภาษณ์ข้อมูลเชิงลึก จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูล และสรุปผลการวิจัย
        ผลการวิจัยพบว่า ผู้เข้าร่วมโปรแกรมดนตรีภาวนาเพื่อลดความเครียดของผู้ต้องขังในเรือนจำ หลังเข้าร่วมโปรแกรม กลุ่มตัวอย่างที่ผ่านการเข้าร่วมโปรแกรมดนตรีภาวนาเพื่อลดความเครียดของผู้ต้องขังในเรือนจำมีคะแนนความเครียดเฉลี่ยลดลง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แสดงให้เห็นว่า โปรแกรมดนตรีภาวนาเพื่อลดความเครียดของผู้ต้องขังในเรือนจำสามารถลดความเครียดของผู้ต้องขังได้อย่างมีประสิทธิภาพ งานวิจัยนี้สามารถนำเสนอผลของโปรแกรมดนตรีภาวนาเพื่อลดความเครียดของผู้ต้องขังในเรือนจำกลางนครศรีธรรมราช


 
 

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

        The aims of this research were: 1) to composed a Bhāvanā music program for stress reduction in prisoners, 2) to present The effects of Bhāvanā music program for stress reduction of the prisoners in the Nakhon Si Thammarat central prison. A Quasi-experimental Pretest-Posttest Design research was conducted whereby 24 participants were taken part in. They were divided randomly and equally into 2 groups: an experimental subject group and a control group. The participants were the prisoners in the main prison of Nakhon Si Thammarat whose age between 21-30 years old. All were sentenced to 10 years or longer in jail. Upon a completion of the survey, it showed that prisoners with high stress level voluntarily took part in this programme with the consent of the prison warden in Nakhon Si Thammarat. The programme was conducted in the year 2020. It took 3 days until completion, or a total of 13 hours and 30 minutes. After the programme was finished, the experimental subjects were asked to complete a survey and to take part in an in-depth interview before the research was analyzed and concluded.
        The result was that the prisoners who took part in Bhāvanā music program for stress reduction in prisoners were reduced in their level of stress in average at statistically significant level .01. Showed that a Bhāvanā music program for stress reduction in prisoners can effectively reduce the stress of prisoners. This research can present The effects of Bhāvanā music program for stress reduction of the prisoners in the Nakhon Si Thammarat central prison.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 11.96 MiB 1,190 22 พ.ค. 2564 เวลา 23:08 น. ดาวน์โหลด