โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การจัดการสอนวิชาสังคมศึกษาตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนวัดไผ่ดำ แผนกสามัญศึกษา จังหวัดสิงห์บุรี
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Learning Management of Social Studies Subject According to Sappurisa-dhamma for the Secondary School Students in General Education Department of Watphaidam Buddhist School, Singburi Province
  • ผู้วิจัยพระครูสังฆรักษ์ โชคชัย ธมฺมงฺกุโร (พลซา)
  • ที่ปรึกษา 1พระวิเทศพรหมคุณ, รศ.ดร.
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.นิเวศน์ วงศ์สุวรรณ
  • วันสำเร็จการศึกษา26/03/2021
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/1352
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 347
  • จำนวนผู้เข้าชม 373

บทคัดย่อภาษาไทย

        การวิจัยเรื่อง การจัดการสอนวิชาสังคมศึกษาตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนวัดไผ่ดำ แผนกสามัญศึกษา จังหวัดสิงห์บุรี เป็นการวิจัยเชิงทดลองขั้นต้น (Pre-Experimental Research) แบบหนึ่งกลุ่มทดลองก่อนเรียนและหลังเรียน วัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาการจัดการสอนวิชาสังคมศึกษาตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนวัดไผ่ดำ แผนกสามัญศึกษา จังหวัดสิงห์บุรี 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังการจัดการสอนวิชาสังคมศึกษาตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนวัดไผ่ดำ แผนกสามัญศึกษา จังหวัดสิงห์บุรี ประชากรและที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นทั้งหมด ซึ่งมีจำนวนนักเรียน 73 รูป กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 27 รูป ซึ่งได้มาโดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้การสอนวิชาสังคมศึกษาตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนวัดไผ่ดำ แผนกสามัญศึกษา จังหวัดสิงห์บุรี จำนวน 4 แผน และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน แบบปรนัยเลือกตอบ ก ข ค ง แบบ 4 ตัวเลือกจำนวน 30 ข้อ

        ผลการวิจัยพบว่า

        1. การศึกษาการจัดการสอนวิชาสังคมศึกษาตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนวัดไผ่ดำ แผนกสามัญศึกษา จังหวัดสิงห์บุรีพบว่า ผู้เรียนมีความเข้าใจเนื้อหาในการ จัดการเรียนรู้ตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ไม่สมบูรณ์ ผู้สอนจึงดำเนินการอธิบายสอดแทรกเพิ่มเติม เกี่ยวกับหลักสัปปุริสธรรม 7 และสังเกตพฤติกรรมตอบสนอง ปรากฏว่า ผู้เรียนเกิดปฏิกิริยา ตอบสนองในการเรียนรู้และสามารถที่จะตอบปัญหาที่ผู้สอนถามได้ ผู้สอนจึงดำเนินการจัดการเรียนรู้ ตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ตามแผนการจัดการเรียนรู้ทั้ง 4 แผน ผู้เรียนมีความเข้าใจตาม หลักสัปปุริสริสธรรม ๗ มากขึ้นและสามารถคิดวิเคราะห์แยกแยะตามการจัดการเรียนรู้ ได้เป็นอย่างดี และสังเกตุพบอีกว่า นักเรียนส่วนใหญ่มีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดี มีผลการจัดการเรียนรู้ที่เพิ่มขึ้น

        2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยการจัดกิจกรรมการจัดการสอนตามหลักสัปปุริสธรรม 7 วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง รัฐธรรมนูญของเรา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดไผ่ดำ แผนกสามัญศึกษา จังหวัดสิงห์บุรี จำนวน 27 รูป คะแนนก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ย (x̅) = 13.15 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) = 1.994 คะแนนหลังเรียนมีค่าเฉลี่ย (x̅) = 26.89 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) = 1.528 เมื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า หลังเรียนมีคะแนนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

        The study entitled “The Learning Management of Social Studies Subject According to Sappurisa-dhamma for the Secondary School Students in General Education Department of Watphaidam Buddhist School, Singburi Province” was a pre-experimental research by means of the one-group pretest posttest design. The study consisted of the following objectives: 1) to study the teaching management of social studies subject according to Sappurisa-dhamma for the secondary school students in general education department of Watphaidam Buddhist School, Singburi province and 2) to compare the pretest and posttest of learning achievement after the teaching management according to Sappurisa-dhamma for the secondary school students in general education department of Watphaidam Buddhist School, Singburi province. A population used for the research were 73 secondary school students. A sample group was acquired by way of purposive sampling and consisted of the 1st secondary school students, in a total of 27 persons. The research instruments were 1) 4 plans of the teaching and learning management in social studies subject according to Sappurisa-dhamma for the secondary school students in general education department of Watphaidam Buddhist School, Singburi province and 2) the pretest and posttest of learning achievement with multiple choices of 30 questions.

        The results of the study were as follows:

        1) The teaching management of social studies subject according to Sappurisa-dhamma for the secondary school students in general education department of Watphaidam Buddhist School, Singburi province found that at first, students did not have complete understanding, therefore, the teachers had to explain further on Sappurisa-dhamma. After observing the students’ reaction, students were found to correspond well to the learning and able to answer the questions asked by the teachers. Consequently, the teachers proceeded with the learning management according to Sappurisa-dhamma following the 4 learning management plans. Students understood Sappurisa-dhamma more and able to think and analyze based on the learning management. Students were also found to have a better change in their behavior with more efficient learning management results.

        2) The results from comparing the pretest and posttest of learning achievement through the teaching management according to Sappurisa-dhamma on the subject of social studies, religion, and culture, in the topic of constitution, it was found that the 27 students of the secondary school level in the general education department of Watphaidam Buddhist School had the mean (x̅) for pretest equal to 13.15 with a standard deviation (S.D.) of 1.994. While the mean (x̅) for posttest was equal to 26.89 with a standard deviation (S.D.) of 1.528. When comparing between the pretest and posttest of learning achievement, it was found that posttest had a higher score than pretest with a statistical significance at 0.05 level, according to the assumption set.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
6201202205 6201202205 4.09 MiB 347 8 ก.ค. 2564 เวลา 07:02 น. ดาวน์โหลด