-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการจัดการเรียนรู้ด้วยหลักไตรสิกขา เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Learning Management Based on Trisikkhā for Developing the Learning Achievement of the Secondary School Students
- ผู้วิจัยพระปลัดฐิตินันช์ ญาณวีโร (เมธานัฏวรภัทร)
- ที่ปรึกษา 1รศ.ดร.สมชัย ศรีนอก
- ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.นิเวศน์ วงศ์สุวรรณ
- วันสำเร็จการศึกษา22/03/2021
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/1354
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 450
- จำนวนผู้เข้าชม 440
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Pre Experimental Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) หาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้ด้วยหลักไตรสิกขาเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีผลการทดสอบด้านประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ด้วยหลักไตรสิกขา และ (3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยหลักไตรสิกขาเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่ 3/2 โรงเรียนสระยายโสมวิทยา ตำบลสระยายโสม อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบสุ่มอย่าง่าย จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยหลักไตรสิกขา วิชาพระพุทธศาสนา เรื่อง ปฐมเทศนา และโอวาทปาฏิโมกข์ จำนวน 4 ชุดการเรียนรู้ (2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t-test dependent
ผลการวิจัยพบว่า (1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยหลักไตรสิกขา วิชาพระพุทธศาสนา เรื่อง ปฐมเทศนา และโอวาทปาฏิโมกข์ ผลการทดสอบก่อนเรียนมีประสิทธิภาพของกระบวนการเฉลี่ยร้อยละ 78.61 หลังเรียนมีประสิทธิภาพของผลลัพธ์เฉลี่ยร้อยละ 80.08 ซึ่งมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เนื่องจากเป็นการจัดกิจกรรมที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ปฏิบัติกับเรื่องที่เรียนจริง เริ่มตั้งแต่การสวดมนต์ ไหว้พระ นั่งสมาธิ ดูสื่อจากรูปภาพ มีใบงาน หรือแบบฝึกหัดที่สัมพันธ์กับวัยของนักเรียน จนเกิดระบบความคิด ความมีเหตุผล (2) นักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้วิธีการเรียนรู้ด้วยหลักไตรสิกขา มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เนื่องจากจัดการเรียนรู้ด้วยหลักไตรสิกขา เป็นการเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางมากกว่าเน้นที่ผู้สอนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ เป็นการเตรียมความพร้อมในการคิด คือเชื่อในสิ่งที่ถูกต้อง ฝึกอบรมกาย วาจา ใจให้ห่างจากความทุกข์ ฝึกนักเรียนให้ปฏิบัติกาย วาจา ใจ ให้อยู่ในสภาพเรียบร้อย และ(3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อวิธีการเรียนรู้ด้วยหลักไตรสิกขา อยู่ในระดับมากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เนื่องจากนักเรียนรู้สึกว่า ได้รับผลประโยชน์จากการเรียน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และจากชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ มีความเหมาะสมของแบบทดสอบที่ครอบคลุมสัมฤทธิผลทางการเรียน ครู/ผู้สอนเปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความคิดอย่างอิสระ สื่อการสอนที่เป็นเทคโนโลยีมีความทันสมัย ดึงดูดความสนใจของผู้เรียน มีการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The study was a pre-experimental research with the following objectives: 1) to find out the efficiency of the learning management based on Trisikkhā for developing the learning achievement of the secondary school students according to the efficiency criterion of 80/80; 2) to compare the learning achievement of the secondary school students after the use of learning management based on Trisikkhā; and 3) to study the satisfaction of the secondary school students towards the learning management based on Trisikkhā for developing the learning achievement. A sample group was acquired by means of purposive sampling and consisted of 25 students from the 3rd secondary school students, class 2, Srayaisom Wittaya School, Srayaisom Subdistrict, U Thong District, Suphanburi province. The research instruments were 1) 2 learning activity packages based on Trisikkhā in Buddhism subject on the topic of Paṭhamajjhāna (the First Discourse) and Ovādapāṭimokkha (the Principal Teaching), 2) learning achievement test, and 3) the satisfaction assessment form. The acquired data were analyzed by using percentage, mean, standard deviation (S.D.), and t-test.
The results of the research are found as follows: 1) The learning activity packages based on Trisikkhā in Buddhism subject on the topic of Paṭhamajjhāna and Ovādapāṭimokkha, the pretest is found to have efficiency at 78.61% while the posttest has the efficiency equal to 80.08% which is according to the efficiency criterion of 80/80. The activities have a focus on students by providing opportunities for them to have real practice with what they study, starting from chanting, paying respect to the Buddha statues, and meditating. They also get to study from media and pictures, have worksheets or tasks that are related to their age until they can develop the thinking system and rational thinking; 2) Students are taught by using the learning method based on Trisikkhā in which they have the posttest of learning achievement higher than the pretest with a statistical significance at .05 level. The learning management based on Trisikkhā has a focus on students as the center rather than the teacher-centered learning. It is a preparation for students to believe in the right things, to have a physical, mental, and verbal training to be away from suffering, to train students physically, mentally and verbally for a proper manner; and 3) Students have satisfaction towards the learning method based on Trisikkhā at a high level with a statistical significance at .05 level. Students gain benefits from the arrangement of learning activities and the efficient learning activity packages. The study also found that teachers provide opportunities for students to show their opinions freely, the use of teaching material is modern which is able to attract the interest of students, and the environment is arranged to support the learning of students.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
6201202207 | 6201202207 | 4.67 MiB | 450 | 8 ก.ค. 2564 เวลา 08:34 น. | ดาวน์โหลด |