โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การจัดการเรียนรู้แบบกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาพระพุทธศาสนา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดสุทธจินดา นครราชสีมา
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Learning Management Based on Group Dynamics Process for Developing the Learning Achievement in Buddhism Subject for the 2nd Secondary School Students, Wat Suthachinda School, Nakhon Ratchasima
  • ผู้วิจัยพระณรงค์ชัย ฐิตปุญฺโญ (บุญมั่น)
  • ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.ชวาล ศิริวัฒน์
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.นิเวศน์ วงศ์สุวรรณ
  • วันสำเร็จการศึกษา01/04/2021
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/1356
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 2,741
  • จำนวนผู้เข้าชม 2,830

บทคัดย่อภาษาไทย

       การวิจัยเรื่องการจัดการเรียนรู้แบบกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาพระพุทธศาสนา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดสุทธจินดา นครราชสีมา ซึ่งทางผู้วิจัยได้กำหนดรูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Pre-Experimental Research)  ขั้นต้น โดยใช้วิจัยแบบหนึ่งกลุ่มทดลองก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนที่กำลังเรียนอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนวัดสุทธจินดา นครราชสีมา จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 28 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ผู้วิจัยได้ดำเนินการทดลองตลอดภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โดยมีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และเพื่อเสนอแนะข้อมูลการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ รายวิชาพระพุทธศาสนา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดสุทธจินดา นครราชสีมา เครื่องมือที่ใช้ในกาวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้พระพุทธศาสนา หน่วยการเรียนรู้ที่ 14 และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การจัดการเรียนรู้แบบกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ จำนวน 30 ข้อ

       ผลการวิจัยพบว่า

       1. ผลการจัดการเรียนรู้แบบกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาพระพุทธศาสนา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดสุทธจินดา นครราชสีมา พบว่า สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสมาชิก  เพราะทุก ๆ คนร่วมมือในการทำงานเป็นกลุ่ม  ทุก ๆ คนมีส่วนร่วมเท่าเทียมกันมีโอกาสคิด  พูดแสดงออก  แสดงความคิดเห็น  ลงมือกระทำ อย่างเท่าเทียมกันซึ่งเป็นการเสริมให้เกิดความช่วยเหลือกัน  ก่อให้เกิดความซาบซึ้งในน้ำใจของเพื่อนสมาชิกด้วยกัน ทุกคนเกิดการระดมความคิด นำข้อมูลที่ได้มาพิจารณาร่วมกัน  เพื่อประเมินคำตอบที่เหมาะสมที่สุด  วิเคราะห์และตัดสินใจเลือกอีกทั้งเสริมทักษะการสื่อสาร  ทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม  สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้น

       2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาพระพุทธศาสนา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดสุทธจินดา นครราชสีมา คะแนนก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ย () = 10.93 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) = 1.923 คะแนนหลังเรียนมีค่าเฉลี่ย () = 24.64 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) = 2.219 เมื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาพระพุทธศาสนา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดสุทธจินดา นครราชสีมา หลังเรียนมีคะแนนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .06 เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

 

       3. ข้อเสนอแนะข้อมูลจากการจัดการเรียนรู้แบบกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาพระพุทธศาสนาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดสุทธจินดา นครราชสีมา มีดังต่อไปนี้

          3.1 กิจกรรมหรืองานที่จัดเตรียมไว้ให้ผู้เรียน ต้องท้าท้าย จูงใจหรือทำให้ผู้เรียนมีความสนใจ เพื่อให้ผู้เรียนมีความสนุกสนานทำงานหรือกิจกรรมนั้น แต่งานหรือกิจกรรมต้องไม่ยากหรือซับซ้อนมากเกินไปกว่าศักยภาพของผู้เรียนที่จะสามารถจัดการหรือทำให้ประสบความสำเร็จได้

          3.2 ผู้สอนต้องตรวจสอบเนื้อหาที่จะให้เด็กเรียนรู้ เพื่อกำหนดขอบเขตและปรับปรุงบทเรียนให้มีความเหมาะสมกับผู้เรียน ขจัดอุปสรรคต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น ลดความไม่แน่นอน ความงุนงงสงสัย และความไม่พึงพอใจในเนื้อหาสาระของผู้เรียน เพื่อทำให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพสูงสุด

                3.3 ควรจัดทำแบบทดสอบหรือแบบฝึกหัดให้มีความหลากหลาย

          3.4 การจัดทำแบบวัดผลประเมินผลทางการเรียนนั้น ต้องวัดผลประเมินผลตามสภาพความเป็นจริง เพื่อเป็นการสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ต่อผู้เรียนที่ดีสืบต่อไป

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

          The study entitled “The Learning Management Based on Group Dynamics Process for Developing the Learning Achievement in Buddhism Subject for the 2nd Secondary School Students, Wat Suthachinda School, Nakhon Ratchasima” was a pre-experimental research through the one group pretest posttest design. A sample group was acquired by means of purposive sampling and consisted of the 2nd secondary school students of Wat Suthachinda School, in a total of 1 classroom and 28 persons. The researcher had operated the experiment throughout the 2nd semester per academic year B.E. 2563 with the following objectives: to study the learning management based on group dynamics process, to develop the learning achievement, and to propose suggestions on the learning management based on group dynamics process in Buddhism subject for the 2nd secondary school students of Wat Suthachinda School. The research instruments were the learning management plan on Buddhism of the 14th learning unit and the achievement test on the learning management based on the group dynamics process, in a total of 30 questions.

          The results of the research are as follows:

          1) The results of learning management based on group dynamics process for developing the learning achievement in Buddhism subject for the 2nd secondary school students of Wat Suthchinda School found that the good relationship among members is made because students cooperate in working together as a group, take equal part in giving opinions and taking action, help and support one another. Moreover, students get to brainstorm and bring the obtained information to contemplate together for the most appropriate answer. They also get to train their communication and teamwork skills. All of which promotes higher learning achievement. 

          2) The results from comparing the pretest and posttest of learning achievement after the use of learning management based on group dynamics process for developing the learning achievement in Buddhism subject for the 2nd secondary school students of Wat Suthchinda School found that pretest has a mean (x̅) equal to 10.93 with a standard deviation (S.D.) at 1.923. While posttest has a mean (x̅) equal to 24.54 with a standard deviation (S.D.) at 2.219. When comparing between the pretest and posttest of the learning achievement, it is found that the posttest has a higher score than pretest with a statistical significance at 0.05 according to the assumption set.

          3) The suggestions on the learning management based on group dynamics process in Buddhism subject for the 2nd secondary school students of Wat Suthachinda School are found as follows:

                3.1 Activity or work prepared for students must be challenging, motivating, or attracting students so that they will have fun in doing that work and activity. It is important that the work or activity must not be too hard or complicated than the students’ potential to handle or accomplish.

                3.2 Teachers must examine the contents for students in order to identify the scope and improve the lessons to be suitable for the students. Teachers should also eliminate potential obstacles, lessen the uncertainty, and dissatisfaction of students in the contents in order to maximize the efficiency in learning.

                3.3 Tests or exercises should be made in a range of variety.

3.4 The learning evaluation must be made based on reality in order to create the desirable characteristics of students.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
6201202209 6201202209 6.38 MiB 2,741 9 ก.ค. 2564 เวลา 04:33 น. ดาวน์โหลด