-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการสอนศาสนพิธี โดยใช้หลักบุญกิริยาวัตถุ 3 เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนการสอน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนการเคหะท่าทราย เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษTeaching Ceremony, By Using Puññakiriyã-vatthu iii to Develop Learning Achievement of Mathayom Suksa III Students at the Housing Authority of tha Sai School, Lak si District, Bangkok
- ผู้วิจัยพระมหาพิชญานันท์ ชยาภิจารี (ผลพฤกษา)
- ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.ชวาล ศิริวัฒน์
- ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.นิเวศน์ วงศ์สุวรรณ
- วันสำเร็จการศึกษา01/03/2021
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/1369
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 310
- จำนวนผู้เข้าชม 296
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยเรื่อง “การสอนศาสนพิธี โดยใช้หลักบุญกิริยาวัตถุ 3 เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนการสอน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนการเคหะท่าทราย เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร” เป็น การวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) แบบ One Group Pre-test – Pos-test Design ทดสอบก่อนเรียนและทดสอบหลังเรียน (One Group Pretest – Posttest Design) โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัย ได้แก่ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้หลักบุญกิริยาวัตถุ 3 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนการเคหะท่าทราย เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากจัดการเรียนรู้โดยใช้หลักบุญกิริยาวัตถุ 3 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนการเคหะท่าทราย เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้หลักบุญกิริยาวัตถุ 3 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนการเคหะท่าทราย เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร การฝึกในด้านพฤติกรรม การจัดระเบียบระบบความรับผิดชอบความเสียสละ การรู้จักช่วยเหลือผู้อื่น การมีระเบียบวินัยเคารพกฎกติกาสังคม การเคารพสิทธิของผู้อื่น การตรงต่อเวลา การดำรงตนในสังคมอย่างเหมาะสม การฝึกในด้านจิตใจ ความตั้งมั่นตั้งใจ เอาใจใส่ในการเรียน อย่างมีสมาธิ หมั่นปรับปรุงตนเองอยู่เสมอ รวมถึงสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการความรู้ในองค์กร การฝึกหรือพัฒนาในด้านปัญญา การรู้ความจริง เริ่มตั้งแต่ความเชื่อความเห็น ความรู้ ความเข้าใจ ความหยั่งรู้เหตุผล การรู้จักวินิจฉัยไตร่ตรอง ตรวจสอบคิดการต่างๆ สร้างสรรค์ การจัดการความรู้ การคิดวิเคราะห์
2. ผลเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากจัดการเรียนรู้โดยใช้หลักบุญกิริยาวัตถุ 3 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนการเคหะท่าทราย เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร
2.1 ผลการทำแบบทดสอบก่อนเรียน ก่อนการจัดการเรียนรู้ตามหลักบุญกิริยาวัตถุ 3 เมื่อเปรียบเทียบเกณฑ์ตามการจัดการเรียนรู้โดยกำหนดเกณฑ์ร้อยละ 60 มีนักเรียนผ่านเกณฑ์จำนวน 0 คน ไม่ผ่านเกณฑ์จำนวน 32 คน
2.2 ผลการทำแบบทดสอบหลังเรียน การสอนศาสนพิธี โดยการจัดการเรียนรู้ตามหลักบุญกิริยาวัตถุ 3 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เมื่อเปรียบเทียบเกณฑ์ตามการจัดการเรียนรู้โดยกำหนดเกณฑ์ร้อยละ 60 มีนักเรียนผ่านเกณฑ์จำนวน 32 คน
2.3 ผลการทำแบบทดสอบก่อนเรียนและแบบทดสอบหลังเรียน การสอนศาสนพิธี โดยการจัดการเรียนรู้ตามหลักบุญกิริยาวัตถุ 3 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 32 คน ผลการทำแบบทดสอบจำนวน 20 ข้อ พบว่า นักเรียนทำคะแนนหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียนทั้ง 32 คน ดังนี้ นักเรียนที่มีคะแนนเพิ่มขึ้นมากที่สุดในจำนวน 9 คน คือ นักเรียนเลขที่ 3,10,13,17,20,21,24,26 และเลขที่ 30 มีคะแนนผลต่างหลังเรียนสูงขึ้นจากก่อนเรียน จำนวน 10 คะแนน แสดงให้เห็นถึงความเหมาะสมของการสอนศาสนพิธี โดยการจัดการเรียนรู้ตามหลักบุญกิริยาวัตถุ 3 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่สามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนได้เป็นอย่างดี เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
3. ผลเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลัง ของการสอนศาสนพิธี โดยการจัดการเรียนรู้ตามหลักบุญกิริยาวัตถุ 3 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและแบบทดสอบหลังเรียน คะแนนก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ย (x̅) = 10.18 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D. ) = 1.267 และคะแนนหลังเรียนมีค่าเฉลี่ย (x̅) = 16.42 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D. ) = 1.417 ค่าความเฉลี่ยของผลต่างเท่ากับ 6.24 และเมื่อทดสอบค่า t=test เท่ากับ 31.324 เมื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยการสอนศาสนพิธี โดยการจัดการเรียนรู้ตามหลักบุญกิริยาวัตถุ 3 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนมีคะแนนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The study entitled “The Teaching of Religious Ceremonies Based on Puññakiriyā-vatthu to Develop the Learning and Teaching Achievement of the 3rd Secondary School Students, Khe Ha Tha Sai School, Lak Si District, Bangkok Province” was an experimental research by means of one group pre-test and pro-test design. The research consisted of the following objectives: 1) to develop the learning activities by applying Puññakiriyā-vatthu (the three bases of meritorious action) for the 3rd secondary school students of Khe Ha Tha Sai school, Lak Si district, Bangkok province and 2) to study the learning achievement from the learning management based on Puññakiriyā-vatthu for the 3rd secondary school students of Khe Ha Tha Sai school, Lak Si district, Bangkok province.
From the research, it was found as follows:
1) From the learning arrangement based on Puññakiriyā-vatthu for the 3rd secondary school students of Khe Ha Tha Sai school, Lak Si district, Bangkok province, it was found that students were trained in three aspects: 1) behavior training which were disciplines, responsibility, sacrifice, helping others, respecting the rules of the society, respecting other people’s rights, punctuality, and behaving appropriately in the society; 2) mental training which included attentiveness, paying attention and concentrating to learning, self-improvement, including the arrangement of environment contributing to the knowledge management within the organization; and 3) intellectual training which included realizing the reality starting from beliefs, opinions, knowledge, understanding, reasoning, contemplating, examining, constructive thinking, knowledge management, and analyzing.
2) From comparing the learning achievement from the learning management based on Puññakiriyā-vatthu for the 3rd secondary school students of Khe Ha Tha Sai school, Lak Si district, Bangkok province, it was found as follows:
2.1) The results of the pre-test when comparing the criteria based on the learning management by specifying 60 % criterion found that there were 32 students who did not meet the criteria, and 0 student who passed the criteria.
2.2) The results of the pro-test when comparing the criteria based on the learning management by specifying 60 % criterion found that there were 32 students who met the criteria.
2.3) The results of both pre-test and post-test revealed that all 32 students of the 3rd secondary school had the score higher in post-test than in pre-test by which 9 students comprising the following students: the 3rd, 10th, 13th, 17th, 20th, 21st, 24th, 26th, and 30th had 10 more score higher in post-test than in pre-test. This represented the appropriateness of the religious ceremonies through the learning management based on Puññakiriyā-vatthu that it was able to develop the learning achievement of the students and according to the assumption set.
3) The results of both pre-test and post-test for the teaching of religious ceremonies through the learning management based on Puññakiriyā-vatthu found that the pre-test had the mean score of x̅ = 10.18 with the standard deviation equal to 1.267 while the post-test had the mean score of x̅ = 16.42 with the standard deviation equal to 1.417. The mean of the difference between the two scores was equal to 6.24. The t-test was equal to 31.324. The results found that the post-test had a higher score than the pre-test with a statistical significance at the 0.05 level, according to the assumption set.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
6201202212 | 6201202212 | 7.82 MiB | 310 | 9 ก.ค. 2564 เวลา 04:30 น. | ดาวน์โหลด |