-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิชาพระพุทธศาสนา โดยใช้วิธีสอนแบบเชิงรุก เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Development of Learning Management in Buddhism Subject by Using Active Learning Method to Develop Analytical Thinking Skill for the 6th Elementary School Students
- ผู้วิจัยพระยุทธนา มาลาวํโส (มาลาวงษ์)
- ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.สมชัย ศรีนอก
- ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.นิเวศน์ วงศ์สุวรรณ
- วันสำเร็จการศึกษา22/03/2021
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/1382
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 1,950
- จำนวนผู้เข้าชม 1,358
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) หาประสิทธิภาพของการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ วิชาพระพุทธศาสนา โดยใช้วิธีการสอนแบบเชิงรุก เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามเกณฑ์ 80/80 (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ (3) เปรียบเทียบผลการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ และ.(4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ วิชาพระพุทธศาสนา โดยใช้วิธีการสอนแบบเชิงรุก เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านรางกระทุ่ม ตำบลไผ่ขวาง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 21 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) ชุดการจัดการเรียนกาสอนแบบเชิงรุก วิชาพระพุทธศาสนา เรื่อง ไตรสิกขา และพุทธศาสนสุภาษิต จำนวน 4 ชุดการเรียนรู้ (2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (3) แบบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ และ (4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t-test dependent
ผลการวิจัยพบว่า (1) การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ วิชาพระพุทธศาสนา โดยใช้วิธีสอนแบบ เชิงรุก เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ผลการทดสอบก่อนเรียนมีประสิทธิภาพของกระบวนการเฉลี่ยร้อยละ 79.92 หลังเรียนมีประสิทธิภาพของผลลัพธ์เฉลี่ยร้อยละ 81.07 ซึ่งมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เนื่องจากชุดวิธีสอนแบบเชิงรุก มีตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้ จุดประสงค์การเรียนรู้ สมรรถนะสำคัญ ชิ้นงานและหรือภาระงาน กระบวนการจัดการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ กระบวนการวัดและประเมินผล ล้วนเป็นเครื่องมือที่ส่งเสริมให้มีประสิทธิภาพ (2) นักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้วิธีสอนแบบเชิงรุกมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เนื่องจากการใช้วิธีสอนแบบเชิงรุก ทำให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กันในชั้นเรียน กล้าแสดงความคิดเห็น ตั้งคำถาม โต้ตอบกัน เกิดการช่วยเหลือกันแบบเพื่อนช่วยเพื่อน ผู้เรียนที่เรียนรู้ได้เร็วจะช่วยอธิบายความเข้าใจให้เพื่อนฟัง (3) นักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้วิธีสอนแบบเชิงรุกมีทักษะการคิดวิเคราะห์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เนื่องจากการใช้วิธีสอนแบบเชิงรุก นักเรียนมีการวิเคราะห์สถานการณ์ สามารถจำแนกได้อย่างสมเหตุสมผล (มีทักษะความคิดด้านการวิเคราะห์เนื้อหา) ร่วมกันวิเคราะห์ความเชื่อมโยงระหว่างเหตุปัจจัยกับผลที่ปรากฏขึ้น เชื่อมโยงกับหลักไตรสิกขา และพุทธศาสนสุภาษิต(มีทักษะด้านการวิเคราะห์ความสัมพันธ์) และร่วมกันวิเคราะห์หลักของไตรสิกขา (ด้านการวิเคราะห์หลักการ) และ (4) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อวิธีสอนแบบเชิงรุกอยู่ในระดับมากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เนื่องจากนักเรียนรู้สึกว่ามีความสนุกสนาน มีอิสระในการเรียนรู้ ได้แสวงหาเหตุปัจจัยของปัญหาด้วยวิธีการที่หลากหลาย มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่ม มีความสนใจในการศึกษาสถานการณ์และค้นหาปัญหาที่เกิดขึ้นในสถานการณ์นั้นๆ อย่างกระตือรือร้น กิจกรรมช่วยนักเรียนเข้าใจเนื้อหาเรื่องไตรสิกขา และพุทธศาสนสุภาษิตได้มากขึ้น
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The study applied an experimental research method with the following objectives: 1) to find the efficiency of the learning management development in Buddhism subject by using the active learning method to promote the analytical thinking skill for the 6th elementary school students according to the criterion of 80/80; 2) to compare the achievement of learning management development; 3) to compare the results of the development on the analytical thinking skill; and 4) to study the satisfaction of students toward the development of learning management in Buddhism subject by using the active learning method to promote the analytical thinking skill. A sample group was the 6th elementary school students of Ban Rang Krathum School, Phai Khwang subdistrict, Mueang district, Suphanburi province acquired by means of purposive sampling, in a total of 21 students. The research instruments were 1) 4 active learning management packages in Buddhism on the topic of Trisikkhā (the Threefold Training) and Buddhasubhāsita, 2) the learning achievement test, 3) the analytical thinking test, and 4) the satisfaction assessment form. The statistics used for analyzing the data were percentage, mean, standard deviation (S.D.), and t-test.
The results of the research are as follows: 1) From the learning management development in Buddhism subject by using the active learning method to promote the analytical thinking skill for the 6th elementary school students, it is found that the pretest has an efficiency equal to the percentage of 79.92 while the posttest has an efficiency equal to the percentage of 81.07, which is according to the efficiency criterion of 80/80. This is because the active learning method has indicator, learning strand, learning objectives, key competencies, tasks or works, learning management process, learning materials, measurement and evaluation process. All of which are the tools promoting efficiency; 2) Students are taught by using the active learning method have the posttest of the achievement higher than pretest with a statistical significance at .05 level. This is because the active learning method makes students have interaction in the classroom which they are brave to give opinions, make questions and respond. All of which leads to the help among friends in which students who learn fast can help to explain other friends to understand; 3) Students are taught by using the active learning method have the posttest of analytical skills higher than pretest with a statistical significance at .05 level. This is because the use of active learning method makes students able to analyze the situation and distinguish reasonably (with thinking skill on the contents), analyze the connection between causal factors and effects with Trisikkhā and Buddhasubhāsita (with the analytical skill on the relationship), and analyze the principle of Trisikkhā (with the analytical skill on principle); and 4) Students have satisfaction toward the active learning method at a high level with a statistical significance at .05 level. This is because students have fun and freedom in learning as they get to search for the causal factors of problems through various methods, exchange the learning within the group, pay interest in studying the situation and seeking the arising problem in that situation actively, take part in activities in order to understand more about Trisikkhā and Buddhasubhāsita
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
6201202215 | 6201202215 | 4.54 MiB | 1,950 | 9 ก.ค. 2564 เวลา 05:31 น. | ดาวน์โหลด |