โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบอริยสัจสี่ ที่มีต่อความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Results of Learning Activity Management Based on Ariyasacca Towards the Ability for Critical Thinking and Learning Achievement of the 3rd Secondary School Students
  • ผู้วิจัยพระรุ่งโรจน์ ถิรปุญฺโญฺ (รักราษฎร์)
  • ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.สมชัย ศรีนอก
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.นิเวศน์ วงศ์สุวรรณ
  • วันสำเร็จการศึกษา22/03/2021
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/1385
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 283
  • จำนวนผู้เข้าชม 486

บทคัดย่อภาษาไทย

       การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้น (Pre Experimental Design) มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน (2) เปรียบเทียบความสามารถทางการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และ.(3) ศึกษาระดับความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยวิธีการเรียนรู้แบบอริยสัจสี่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดจันทราวาส ตำบลกระจัน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 11 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบอริยสัจสี่ วิชาพระพุทธศาสนา เรื่อง พุทธปณิธาน 4 จำนวน 4 ชุดการเรียนรู้ (2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (3) แบบวัดความสามารถในการคิดแบบมีวิจารณญาณ และ (4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยวิธีการเรียนรู้แบบอริยสัจสี่ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t-test dependent

       ผลการวิจัยพบว่า (1) นักเรียนที่เรียนรู้แบบอริยสัจสี่ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 เนื่องจากวิธีการสอนแบบอริยสัจสี่เป็นกระบวนการแสวงหาความรู้ที่นักเรียนพยายามคิดค้นวิธีการแก้ปัญหาและวิธีการพัฒนาทักษะชีวิต โดยใช้ลำดับขั้นตอนของอริยสัจ 4 เป็นแนวทางการแก้ปัญหาและวิธีการพัฒนาทักษะชีวิตด้วยตนเอง เป็นการจัดการเรียนการสอนที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ (2) ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนที่เรียนรู้แบบอริยสัจ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 เนื่องจากนักเรียนได้เรียนรู้จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ได้ศึกษาสถานการณ์ เริ่มกำหนดประเด็นปัญหา ร่วมกันพิจารณาจากข้อมูล มีการถกเถียงเพื่อกำหนดปัญหา ร่วมกันให้ความหมายของปัญหา การรวบรวมข้อมูลจากสถานการณ์จำลอง ร่วมกันพิจารณาความน่าเชื่อถือของข้อมูล ซึ่งเป็นกระบวนการพัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และ (3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้แบบอริยสัจสี่อยู่ในระดับมากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เนื่องจากนักเรียนรู้สึกว่าได้สัมผัสกับสถานการณ์ที่เป็นปัญหาจากแบบฝึกทักษะหลายรูปแบบในเรื่อง พุทธปณิธาน 4 เป็นเรื่องที่สร้างแรงจูงใจให้อยากรู้ และท้าทายความสามารถในการคิดแก้ปัญหา(ขั้นทุกข์) ร่วมกันค้นคิดหาสาเหตุของปัญหาภายใต้มุมมองที่เป็นอิสระ (สมุทัย) นักเรียนร่วมกันรวบรวมข้อมูลเพื่อสนับสนุนทางเลือกที่ตนเองนำเสนอให้กับกลุ่ม (นิโรธ) ร่วมกันตัดสินใจเลือกและปฏิบัติด้วยรูปแบบที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหาที่เป็นสาเหตุแห่งทุกข์ (มรรค)

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

        The study applied an experimental research method with the following objectives: 1) to compare the learning achievement of students; 2) to compare the ability for critical thinking; and 3) to study the satisfaction level of the 3rd secondary school students after the learning method based on Ariyasacca. A sample group was acquired by means of purposive sampling and consisted of the 3rd secondary school students, Wat Chantharawat school, Krachan subdistrict, U Thong district, Suphanburi province, in a total of 11 students. The research instruments were 1) 4 learning activity packages based on Ariyasacca in Buddhism subject on the topic of Buddha-paṇidhāna (4 kinds of aspiration); 2) the learning achievement test; 3) the critical thinking ability test; and 4) the satisfaction assessment form. The acquired data were analyzed by mean, standard deviation (S.D.), and t-test.

        The results of the research are as follows: 1) Students with the learning based on Ariyasacca have the posttest of learning achievement higher than the pretest with a statistical significance at 0.05 level. This is because the learning method based on Ariyasacca is the process for seeking knowledge on problem-solving and life skills development by following each step of the Ariyasacca as the guidelines. It is a learning management focusing on the students; 2) The ability for critical thinking of students, it is found that the posttest score is higher than pretest with a statistical significance at 0.05 level. This is because students get to learn from the real situations arising in daily life as they get to study the situation, to identify the cause of the problems, to contemplate the information, to discuss the problems, to define the problems, to gather information from the scenario, and to contemplate the credibility of the information. All of which is the process for developing the ability to think critically; and 3) Students have satisfaction towards the learning based on Ariyasacca at a high level with a statistical significance at 0.05 level. This is because students get to experience the real problem from practicing various skills on the topic of Buddha-paṇidhāna. This helps to motivate the curiosity of students and challenge their ability to solve problem (the stage of dukkha), to find out the cause of the problems (samudaya), to gather information in order to support the path one chooses to present to the group (nirodha), to make decision together and practice the best solution for problem-solving (magga).

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
6201202216 6201202216 4.9 MiB 283 9 ก.ค. 2564 เวลา 06:00 น. ดาวน์โหลด