โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการตามหลักไตรสิกขา เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Development of Integrated Learning Management According to Trisikkhā for Promoting the Learning Achievement of the 4th Secondary School Students, Kanchanapisek Wittayalai School, Mueang District, Suphanburi Province
  • ผู้วิจัยพระวชิรวิชญ์ ฐิตวํโส (ภัทรเกียรตินันท์)
  • ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.สมชัย ศรีนอก
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.นิเวศน์ วงศ์สุวรรณ
  • วันสำเร็จการศึกษา30/03/2021
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/1386
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 1,145
  • จำนวนผู้เข้าชม 461

บทคัดย่อภาษาไทย

       วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษาการพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ตามหลักไตรสิกขาส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย จังหวัดสุพรรณบุรี (2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนต่อการพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ตามหลักไตรสิกขา เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย จังหวัดสุพรรณบุรี (3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ตามหลักไตรสิกขา ส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย จังหวัดสุพรรณบุรี

       การวิจัยเรื่อง การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ตามหลักไตรสิกขาส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย กำหนดขอบเขตด้านเนื้อหาหลักไตรสิกขาไว้ ๓ ด้าน คือ 1. ศีล 2. ด้านสมาธิ 3. ด้านปัญญา เป็นการวิจัยเชิงทดลองขั้นต้น (Pre-Experimental Rescarch) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ห้องที่ 15 จำนวน 169 คน ซึ่งผู้วิจัยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ คู่มือการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

       ผลการวิจัยดังกล่าว พบว่า

       ความคิดเห็นของนักเรียนต่อการพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ตามหลักไตรสิกขา เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย อำเภอเมือง จังหวัด สุพรรณบุรี พบว่า ความคิดเห็นของนักเรียนโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก

       มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.29 ด้านกิจกรรมการเรียนการสอนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.32 ด้านชุดการเรียนรู้โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.31 ด้านเนื้อหาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.29 ด้านการวัดประเมินผลโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.07 และด้านคุณประโยชน์จากชุดการเรียนรู้โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.03

       สรุปได้ว่า ความคิดเห็นของนักเรียนโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก การทดสอบก่อนเรียนของนักเรียนต่อการพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ตามหลักไตรสิกขา เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ พบว่า ข้อที่ตอบถูกมากที่สุด คือ พระพุทธเจ้าทรงสอนให้ปฏิบัติอย่างไรกับสมุทัย ตอบถูก 80 คน คิดเป็นร้อยละ 40.8 ข้อที่ตอบคำถามถูกน้อยที่สุด คือ ข้อใดเป็นการปฏิบัติให้เป็นผู้มีปัญญา ตอบถูก 58 คน คิดเป็นร้อยละ 29.6 การทดสอบความรู้หลังเรียนของนักเรียนต่อการพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ตามหลักไตรสิกขา เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔

       พบว่า ข้อที่ตอบถูกมากที่สุด คือการฝึกฝนอบรมจิตใจให้บริสุทธิ์สะอาด  ไม่เศร้าหมองด้วยกิเลส  คือไตรสิกขาขั้นใดและ พระพุทธเจ้าทรงสรุปพระโอวาทที่ได้ประทานมาตลอด 45  พรรษาลงในอะไร ตอบถูก 168 คน คิดเป็นร้อยละ 85.7 ข้อที่ตอบคำถามถูกน้อยที่สุด คือ เพราะเหตุใดจึงกล่าวว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสตร์แห่งเหตุและผล ตอบถูก 144 คน คิดเป็นร้อยละ 73.5

       ข้อเสนอแนะจากการวิจัยมีดังนี้ ควรนำนักเรียนร่วมทำกิจกรรมของวัดและชุมชนเพื่อให้เกิดความสัมพันธ์และมีเจตคติที่ดีต่อกันระหว่างโรงเรียนและชุมชน ควรส่งเสริมให้นักเรียนทำกิจกรรมร่วมกับชุมชนเพื่อสร้างความร่วมมือระหว่าง ชุมชนและผู้ปกครอง ควรจัดให้มีกิจกรรมเชื่อมความสัมพันธ์อย่างเป็นกัลยาณมิตรระหว่างครู ผู้บริหาร นักเรียนและชุมชน  ควรส่งเสริมการฝึกสมาธิ เจริญปัญญาให้กับนักเรียนในทุกระดับชั้นด้วย 

       ควรประสานความร่วมมือในการดำเนินงานจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขาอย่างจริงจังจากชุมชน และทำความเข้าใจแก่ผู้ปกครองในด้านการดำเนินงานการจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขา ควรจัดกิจกรรมพื้นฐานชีวิตที่เป็นการฝึกให้นักเรียนรู้จักแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในชีวิตได้ ควรสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่าง บ้าน วัด โรงเรียน เพื่อส่งเสริมการพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนตามหลักไตรสิกขาอย่างต่อเนื่องและควรมีการปฏิบัติธรรมร่วมกันทั้งครู นักเรียนและผู้ปกครองในโอกาสต่างๆ

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

        The thesis consisted of the following objectives: 1) to study the development of integrated learning management according to Trisikkhā for promoting the learning achievement of the 4th secondary school students, Kanchanapisek Wittayalai School, Suphanburi province; 2) to study the opinions of students towards the development of integrated learning management according to Trisikkhā for promoting the learning achievement of the 4th secondary school students, Kanchanapisek Wittayalai School, Suphanburi province; and 3) to suggest the guidelines for developing integrated learning management according to Trisikkhā for promoting the learning achievement of the 4th secondary school students, Kanchanapisek Wittayalai School, Suphanburi province.

        The research specified the content scope based on Trisikkhā or the Threefold Training in the following aspects: 1) Sīla (morality); 2) Samādhi (concentration); and 3) Paññā (wisdom). The study applied a pre-experimental research method. A sample group was acquired by means of purposive sampling and consisted of the 4th secondary school students from class 1 – 5, in a total of 196 students. The research instruments were learning management manual, pretest and posttest, and satisfaction assessment form. The acquired data were analyzed using the statistical package for the social sciences (SPSS) to find out mean, percentage, and standard deviation (S.D.).

        The results of the research are as follows:

        The opinions of students towards the development of integrated learning management according to Trisikkhā for promoting the learning achievement of the 4th secondary school students, Kanchanapisek Wittayalai School, Suphanburi province found that overall is at a high level with a mean (x̄) equal to 4.29. When considering each aspect, the activities on the teaching and learning overall is at a high level with a mean (x̄) equal to 4.32. On learning package is at a high level with a mean (x̄) equal to 4.29. On evaluation is at a high level with a mean (x̄) equal to 4.07. Lastly, benefits of the learning package is at a high level with a mean (x̄) equal to 4.03.

        In conclusion, the opinions of students overall are at a high level. The students’ pretest towards the development of integrated learning management according to Trisikkhā for promoting the learning achievement of the 4th secondary school students found that the question which had the most correct answer was “what did the Buddha teach when dealing with Samudaya (the Cause of Suffering)?”. There were 80 students who gave the correct answer, representing 40.8%. The question that had the least correct answer was “what is the right practice of one who has wisdom?” There were 58 students who gave the correct answer, representing 29.6%. While the students’ posttest towards the development of integrated learning management according to Trisikkhā for promoting the learning achievement of the 4th secondary school students found that the question which had the most correct answer was “To purify the mind and be free from defilement is the training at which stage of Trisikkhā?” and “Which dhamma concludes all the admonitions throughout the 45 years of the rainy season by the Buddha”. There were 168 students who gave the correct answer, representing 58.7%. The question that had the least correct answer was “Why is Buddhism said to be the religion of cause and effect?” There were 144 students who gave the correct answer, representing 73.5%.

        The suggestions from the research are as follows: Students should be led to join activities of the temple and community in order to create a good relationship and good attitude between school and community as well as receiving support to join activities with the community in order to create cooperation between community and parents. The activities to connect the relationship between teachers, administrators, students and community should also be organized. Moreover, students at all levels should be encouraged to practice meditation and cultivate wisdom. The cooperation in operating the learning management according to Trisikkhā should be made in a serious manner by the community and explanation should be made for the parents to understand. The basic life activities that will train students with problem-solving skills should also be organized. The cooperation network between village, monastery and school should be built in order to develop the learning of students according to Trisikkhā continuously. Lastly, teachers, students and parents should be encouraged to practice meditation together on various occasions.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
6201202217 6201202217 5.21 MiB 1,145 9 ก.ค. 2564 เวลา 06:22 น. ดาวน์โหลด