-
ชื่อเรื่องภาษาไทยผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบการสร้างศรัทธาตามหลักโยนิโสมนสิการ ที่มีต่อความสามารถในการคิดแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Results of Learning Activity Management by Way of Faith Building According to Yonisomanasikāra Towards the Ability for Problem-Solving of the 6th Elementary School Students
- ผู้วิจัยพระสมุห์สมลักษณ์ ติกฺขปญฺโญ (รักน้อย
- ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.นิเวศน์ วงศ์สุวรรณ
- ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.สมชัย ศรีนอก
- วันสำเร็จการศึกษา22/03/2021
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/1392
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 1,674
- จำนวนผู้เข้าชม 1,569
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Pre Experimental Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมปีที่ 6 (2) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมปีที่ 6 และ (3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมปีที่ 6 มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบการสร้างศรัทธาตามหลักโยนิโสมนสิการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดยางยี่แส ตำบลกระจัน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 26 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก วิชาพระพุทธศาสนา เรื่อง ศรัทธา 4 จำนวน 4 ชุดการเรียนรู้ (2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t-test dependent
ผลการวิจัยพบว่า (1) นักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบการสร้างศรัทธาตามหลักโยนิโสมนสิการ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เนื่องจากเป็นการเรียนที่ส่งเสริมให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ร่วมกัน มีปฏิสัมพันธ์ภายในกลุ่ม ระหว่างกลุ่ม และระหว่างครูอย่างเป็นเหตุเป็นผล ครูเป็นกัลยาณมิตร นักเรียนมีการพัฒนาสมรรถนะด้านการคิดได้อย่างเป็นระบบ คิดได้ถูกวิธี คิดตามแนวทางที่เป็นกุศล ช่วยพัฒนานักเรียนให้เกิดปัญญาและสามารถแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม และสามารถนำวิธีการคิดแก้ปัญหาไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข (2) นักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบการสร้างศรัทธตามหลักโยนิโสมนสิการ มีความสามารถในการคิดแก้ปัญหา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เนื่องจากการจัดการเรียนรู้ตามแบบการสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ ช่วยให้นักเรียนได้มีโอกาสคิดอย่างมีระเบียบ คิดตามแนวทางแห่งปัญญา การรู้จักมอง รู้จักพิจารณาสิ่งทั้งหลายตามสภาวะ ได้ศึกษาข้อมูล รับรู้ ทำความเข้าใจปัญหา และตระหนักในปัญหา ร่วมกันวิเคราะห์ แสดงความคิดเห็น แยกแยะประเด็นปัญหา และจัดลำดับความสำคัญของปัญหา ร่วมกันหาทางเลือก ประเมินทางเลือก และสรุปเป็นองค์ความรู้ของนักเรียน และ (3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อวิธีการเรียนรู้แบบการสร้างศรัทธาตามหลักโยนิโสมนสิการอยู่ในระดับมากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เนื่องจากนักเรียนรู้สึกว่า ครูเป็นกัลยาณมิตรกับนักเรียน เปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความคิดอย่างอิสระ ปลุกเร้าให้นักเรียนสนใจในการค้นหาสิ่งที่เป็น นำเสนอปัญหาที่เป็นสาระสำคัญของบทเรียน การฝึกคิดตามวิธีการคิดแก้ปัญหา และร่วมกันอภิปรายสรุปบทเรียน
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The study applied an experimental research method with the following objectives: 1) to compare the learning achievement of the 6th elementary school students; 2) to compare the ability for problem-solving of the 6th elementary school students; and 3) to study the satisfaction of the 6th elementary school students towards the learning management by way of faith building according to Yonisomanasikāra. A sample group was acquired by means of purposive sampling and consisted of the 6th elementary school students, Wat Yang Yisae School, Krachan subdistrict, U Thong district, Suphanburi province, in a total of 26 students. The research instruments were 1) 4 active learning activity packages in Buddhism subject on the topic of Saddhā (4 kinds of faith); 2) the learning achievement test; and 3) the satisfaction assessment form. The acquired data were analyzed by percentage, mean, standard deviation (S.D.), and t-test.
The results of the research are as follows: 1) Students who receive the teaching method by way of faith building according to Yonisomanasikāra have the posttest of learning achievement higher than the pretest with a statistical significance at 0.05 level. This is because it is the kind of learning that promotes students to learn together, to interact rationally within the group, between group and with the teachers. Students also get to develop their systematic thinking capability through the right methods, cultivate their wholesome thought and wisdom in order to solve problems appropriately and adapt in their daily lives happily; 2) Students who receive the teaching method by way of faith building according to Yonisomanasikāra have the posttest of problem-solving ability higher than the pretest with a statistical significance at 0.05 level. This is because the learning management based on faith building according to Yonisomanasikāra helps students to think systematically and follow the way of wisdom as they get to contemplate the reality of things. They also get to study the information, understand the problems, analyze and identify the problems, prioritize the problems, share opinions and help to find the alternatives to the solutions, and summarize as their own body of knowledge; and 3) Students have satisfaction towards the teaching method by way of faith building according to Yonisomanasikāra at a high level with a statistical significance at 0.05 level. This is because students feel that teachers are kalyāṇamittatā who provide them with opportunities to express opinions freely, encourage them to search for what is necessary for them, present problems that are the essence of the lesson, train to think according to the problem-solving thinking method, and discuss together with friends for summarizing the lesson.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
6201202220 | 6201202220 | 4.39 MiB | 1,674 | 9 ก.ค. 2564 เวลา 08:04 น. | ดาวน์โหลด |