-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาพระพุทธศาสนา โดยใช้วิธีการเรียนรู้เชิงรุก ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษDeveloping of Learning Achievement in Buddhism Subject by Using Active Learning Method of Grade Six Students
- ผู้วิจัยพระมหาสิทธิโชค สิริวณฺโณ (อินทร์พิบูลย์)
- ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.สมชัย ศรีนอก
- ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.นิเวศน์ วงศ์สุวรรณ
- วันสำเร็จการศึกษา22/03/2021
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/1394
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 2,154
- จำนวนผู้เข้าชม 2,040
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Pre Experimental Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน และ (3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในการเรียนวิชาพระพุทธศาสนา โดยใช้วิธีการเรียนรู้เชิงรุก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดจระเข้ใหญ่ ตำบลจระเข้ใหญ่ อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก วิชาพระพุทธศาสนา เรื่อง พุทธโอวาท 3 และหลักกรรม จำนวน 4 ชุดการเรียนรู้ (2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t-test dependent
ผลการวิจัยพบว่า (1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก วิชาพระพุทธศาสนา เรื่อง พุทธโอวาท 3 และหลักกรรม ผลการทดสอบก่อนเรียนมีประสิทธิภาพของกระบวนการเฉลี่ยร้อยละ 78.75 หลังเรียนมีประสิทธิภาพของผลลัพธ์เฉลี่ยร้อยละ 80.08 ซึ่งมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เนื่องจาก นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียน ร่วมกิจกรรมต่างๆ จะสร้างความเข้าใจและค้นหาความหมายของเนื้อหาสาระโดยเชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิมที่มี แยกแยะความรู้ใหม่ที่ได้รับกับความรู้เก่าที่มี สามารถประเมินและสร้างแนวคิดของตนเอง มีการเรียนรู้เกิดขึ้น จะกระตือรือร้นและมีทักษะที่สามารถเลือกรับข้อมูล วิเคราะห์ และสังเคราะห์ข้อมูลได้อย่างมีระบบ (2) นักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้วิธีการเรียนรู้เชิงรุกมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เนื่องจากเป็นการเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ ทำให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน และระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน มีการประเมินผลร่วมกัน ได้ฝึกปฏิบัติกิจกรรมอย่างหลากหลาย เช่น การพูด การอ่าน การเขียน การร่วมกันอภิปรายกับเพื่อน การนำเสนองาน ตลอดจนการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้กันระหว่างผู้เรียน จนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปสรุปเป็นความคิดรวบยอ และ(3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อวิธีการเรียนรู้เชิงรุกอยู่ในระดับมากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เนื่องจากนักเรียนรู้สึกว่า มีปฏิสัมพันธ์ร่วมมือกับเพื่อนในการสืบค้นหาคำตอบ ด้วยการร่วมอภิปราย ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สรุปข้อความรู้ และร่วมนำเสนอ สร้างความรู้และทำความเข้าใจ ผ่านการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และสรุปข้อความรู้ที่ได้ด้วยตนเอง ทำให้นักเรียนเป็นคนกล้าคิด กล้าตัดสินใจ แก้ปัญหาเป็น คิดอย่างรอบคอบมีเหตุผล
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The study was a pre-experimental research with the following objectives: 1) to develop the learning activity package to meet the efficiency criterion of 80/80; 2) to develop the learning achievement of students; and 3) to study the satisfaction of the 6th elementary school students in Buddhism subject by using active learning method. A sample group consisted of the 6th elementary school students, Wat Chorakhe Yai School, Chorakhe Yai subdistrict, Bang Pla Ma district, Suphanburi province which were acquired by means of purposive sampling, in a total of 17 students. The research instruments were 1) 4 active learning activity packages in Buddhism on the topic of Buddha-ovāda (the Three Admonitions) and Kamma; 2) learning achievement test; and 3) satisfaction assessment form. The acquired data were analyzed by percentage, mean, standard deviation (S.D.), and t-test.
The results of the research are found as follows: 1) From the active learning activity package in Buddhism on the topic of Buddha-ovāda and Kamma, it is found that the pretest has an efficiency equal to the percentage of 78.75 while the posttest has an efficiency equal to the percentage of 80/08, which is according to the efficiency criterion of 80/80. This is because students take part in learning and various activities which help them to understand and find meanings to the contents by connecting with the existing experiences, distinguishing new knowledge from existing knowledge, and assessing and creating one’s own idea. All of which will lead to learning with enthusiasm and skills to pick up, analyze and synthesize information in a systematic manner; 2) Students are taught by using the active learning method which has the posttest of learning achievement higher than the pretest with a statistical significance at 0.05 level. This is because it is the student-centered learning that leads to the interaction between teachers and students as well as students and students. There is also evaluation and various activities that are joined together such as speaking, reading, writing, discussing with friends, presenting the work, working together as a group, and exchanging knowledge between students until one can bring the obtained knowledge into a conceptual conclusion; and 3) Students have satisfaction toward the active learning method at a high level with a statistical significance at 0.05 level. This is because students have interaction and cooperation with friends to search for answer, discuss, exchange knowledge, summarize the knowledge, make a presentation together, create and understand knowledge based on the analytical thinking, and summarize the obtained knowledge. All of which will make students become brave in making decisions, solving problems, and thinking based on carefulness and reasons.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
6201202221 | 6201202221 | 3.47 MiB | 2,154 | 9 ก.ค. 2564 เวลา 08:28 น. | ดาวน์โหลด |